ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 35.20 เคลื่อนไหวในกรอบตามภูมิภาครอปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 7, 2016 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.20 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 35.17 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ ระหว่าง 35.16-35.21 บาท/ดอลลาร์

"กลับมาอ่อนค่าจากช่วงเช้า ระหว่างวันแกว่งตัวในกรอบ 5 สตางค์ รอปัจจัยใหม่เข้ามา" นักบริหารเงินฯ กล่าว

นักบริหารเงินฯ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 35.10-35.25 บาท/ดอลลาร์เช่น เดิม

"พรุ่งนี้บาทน่าจะแกว่งตัวในกรอบเดิม รอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรฯของสหรัฐ" นักบริหารเงินฯ กล่าว

*ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 100.92 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 101.02 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1087 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1088 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,456.72 จุด เพิ่มขึ้น 4.13 จุด, +0.28% มูลค่าการซื้อขาย 65,976.75 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,839.33 ล้านบาท(SET+MAI)
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน มิ.ย.59 อยู่ที่
71.6 ลดลงจาก 72.6 ในเดือน พ.ค.59 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 60.6 ลดลงจาก 61.1 ในเดือน พ.
ค.59 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 66.5 ลดลงจาก 67.7 ในเดือน พ.ค.59 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยว
กับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 87.6 ลดลงจาก 89.0 ในเดือน พ.ค.59

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และต่ำสุดในรอบ 25 เดือน

  • นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุผลกระทบจาก
สถานการณ์การทำประชามติว่าอังกฤษจะออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปหรือไม่ (Brexit) อาจจะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนใน
ระบบเศรษฐกิจน้อยลงประมาณ 50,000 ล้านบาท โดยเฉพาะการจับจ่ายใช้สอยด้านการท่องเที่ยวของประชาชนที่ลดลงจากการขาด
ความเชื่อมั่น ซึ่งส่งผลต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลดลง 0.1-0.3% จากมุมมองของ ม.หอการค้าไทย เดิมที่คาดว่า
เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 3-3.5% ได้ปรับลดลงมาเหลือเติบโต 2.7-3.2%
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี คาดภายใน 2 สัปดาห์จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการ
จัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) กองแรกขนาดการลงทุนระดับแสนล้านบาทขึ้นไป และเป็นการลงทุน
ในรูปแบบของรัฐและเอกชน (PPP) ทั้งนี้ล่าสุดได้รับการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจากทั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้ว ทำให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส
2/59 จะเติบโตได้มากกว่า 3%
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยแนวโน้มยอดผลิตรถยนต์ในไตรมาส 2/59 ดีขึ้น โดยตัว
เลขยอดการผลิตในเดือนเม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมาปรับตัวดีขึ้น จากที่ยอดการผลิตรถยนต์หดตัวลงในไตรมาสแรก คาดว่าเป็นผลจากภาวะ
เศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น แม้ว่าการส่งออกยังไม่ดีนัก
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับลดการประเมินเศรษฐกิจของ 2 ภูมิภาคภายในประเทศ ในรายงานการประเมิน
ภาวะเศรษฐกิจที่ได้เผยแพร่ในวันนี้ ขณะที่นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ ระบุว่า BOJ จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม
หากมีความจำเป็น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% เนื่องจากการแข็งค่าของเยนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มแรงกดดันให้กับราคาผู้
บริโภคของญี่ปุ่น
  • รัฐบาลญี่ปุ่นเผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจซึ่งสะท้อนภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือนในเดือนพ.
ค. โดยดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Index of coincident indicators) เช่น ผลผลิตอุตสาหกรรม ยอดขายปลีก และการจ้างงาน
ใหม่ ลดลง 1.5 จุด จากเดือนก่อนหน้า สู่ระดับ 110.5 ในเดือนพ.ค. ส่วนดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Index of leading
indicators) ซึ่งคาดการณ์สถานการณ์ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า ทรงตัวที่ระดับ 100.0 ในขณะที่ดัชนีตามเศรษฐกิจ (Index
of lagging indicators) ซึ่งเป็นมาตรวัดการปรับตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ลดลง 1.6 จุด สู่ระดับ 113.7
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีปรับตัวลงสวนทางคาดการณ์ในเดือนพ.ค. หลังสินค้าทุนร่วงลงหนัก ซึ่งนับเป็น
สัญญาณว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกและความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรปกำลังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจใน
เยอรมนี โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.ปรับตัวลง 1.3% จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ว่า
จะเพิ่มขึ้น 0.1% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนเม.ย. และหากเทียบรายปี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลง 0.4%
จากปีก่อน
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีปิดแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -0.280% ในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุน
ได้เข้าซื้อพันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดความเสี่ยง หลังจากตลาดหุ้นโตเกียวปิดร่วงในวันนี้ ขณะที่ยังมีกระแสความกังวลต่อผลพวง
ของ Brexit โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหมายเลข 343 ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ปิดที่ -0.280% ลดลง
0.005% จากระดับปิดเมื่อวานนี้ ขณะที่ราคาสัญญาพันธบัตรอายุ 10 ปี ส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 0.10 จุด แตะที่ 153.58 ที่ตลาด
หุ้นโอซาก้า
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ดึงเม็ดเงินมูลค่า 6.15 แสนล้านหยวน (9.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ออกจากตลาด
ในสัปดาห์นี้ โดยตั้งแต่เมื่อวันจันทร์จนถึงวันนี้ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงิน 1.75 แสนล้านหยวนเข้าสู่ระบบธนาคาร ผ่านทางข้อ
ตกลงซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (Reverse repo) อายุ 7 วัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ธนาคารกลางเข้าซื้อหลักทรัพย์จากธนาคาร
พาณิชย์ด้วยข้อตกลงที่จะขายคืนในอนาคต โดยมีอัตราผลตอบแทน 2.25% ทั้งนี้ สัญญา Reverse repo มูลค่า 7.9 แสนล้านหยวน
ครบกำหนดชำระตั้งแต่วันจันทร์จนถึงวันนี้ จึงเท่ากับว่าแบงก์ชาติจีนได้ดูดซับสภาพออกจากตลาด 6.15 แสนล้านหยวน
  • ธนาคารกลางจีน เผยตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน ณ สิ้นเดือนมิ.ย. อยู่ที่ 3.21 ล้านล้านดอลลาร์
สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.34 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐจากเดือนที่ผ่านมา
  • สำนักงานศุลกากรของฝรั่งเศส เผยยอดขาดดุลการค้าเดือนพ.ค.อยู่ที่ 2.8 พันล้านยูโร (3.1 พันล้านดอลลาร์

สหรัฐ) ลดลงจากเดือนเม.ย.ที่ขาดดุลไป 4.8 พันล้านยูโร เนื่องจากการส่งออกขยายตัว ขณะที่การนำเข้าอ่อนตัวลง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ