ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.12 แข็งค่าจากช่วงเช้า จับตาประชุม BoE-รายงานภาวะเศรษฐกิจของเฟด กลางสัปดาห์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 12, 2016 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.12 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.18 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 35.12-35.18 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้แกว่งตัวในกรอบแคบๆ หลังเปิดตลาดบาททยอยแข็งค่าลงมาอยู่ 35.12/13 บาท/ดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว

ตลาดรอดูการแสดงความคิดเห็นของกรรมการธนาคารกลางสหรัฐ (FED) และการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ซึ่งคาดการณ์ว่า BoE อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 0.25% หรือเพิ่มวงเงินการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลาย เชิงปริมาณ (QE) เพื่อรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการลงประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ส่วนประเด็นเรื่อง วิกฤตการณ์ทางการเงินในอิตาลี และคำตัดสินของศาลโลกกรณีทะเลจีนใต้ยังไม่ส่งผลกระทบ

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 35.10-35.25 บาท/ดอลลาร์

"บาทน่าจะแกว่งตัวในกรอบไม่เกิน 15 สตางค์ รอปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกเข้ามา" นักบริหารเงินฯ กล่าว
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 103.79 เยน/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงเช้าที่ระดับ 103.10 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1107 ดอลลาร์/ยูโร แข็งค่าจากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1055 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,474.92 จุด เพิ่มขึ้น 6.53 จุด, +0.44% มูลค่าการซื้อขาย 68,357.78 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,278.94 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย วงเงิน 1 แสน
ล้านบาท รับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำ 2-3% เพื่อให้ผู้ลงทุนมั่นใจว่าได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม โดยจะจดทะเบียนกองทุนรวมกับสำนัก
งานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ภายใน 1 เดือน
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เผยได้ปรับประมาณการค่าเงินบาทในปีนี้แข็งค่าขึ้นเป็น 36.20 บาท/ดอลลาร์ จาก
ประมาณการเดิมที่ 37.00 บาท/ดอลลาร์ เป็นผลมาจากการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 2-3 ครั้งในปีนี้ อีกทั้งปัจจัยในประเทศ คือ ผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้น
หากผลออกมารับร่างรัฐธรรมนูญก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
  • ธนาคารกสิกรไทยได้ปรับลดประมาณการส่งออกของไทยปีนี้ลดลงเป็นติดลบ 2% จากเดิม 0% เนื่องจาก
ปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจไนจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทยยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ประเด็นที่
อังกฤษจะออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit) ส่งผลกดดันต่อภาคการส่งออกไปยังยุโรป เนื่องจากกรณีดังกล่าวยังไม่
มีความแน่นอนของข้อตกลงการที่อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่ง ทำให้ในปัจจุบันผู้
ประกอบการส่งออกต่างรอดูท่าทีของเรื่องดังกล่าว และทำให้การส่งออกไปยังยุโรปชะลอตัว
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะจัดการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 14 ก.ค.นี้ ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาด
การณ์ว่า BoE อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 0.25% จากปัจจุบันที่ระดับ 0.5% หรืออาจเพิ่มวงเงินการซื้อพันธบัตรตาม
มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ขึ้นจากปัจจุบันที่ระดับ 3.75 แสนล้านปอนด์ โดยมีเป้าหมายเพื่อรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
หลังจากที่อังกฤษได้ลงประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)
  • ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการเงินชี้ปัญหาในภาคธนาคารของอิตาลีกำลังกลายเป็นวิกฤตระลอกใหม่กลุ่มประเทศยูโรโซน
เนื่องจากธนาคารหลายแห่งกำลังประสบกับปัญหาหนี้เสียที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับการจ่ายชำระเงินต้นคืนไม่ครบเต็มจำนวน ทั้งนี้ธนาคาร
กลางอิตาลี เปิดเผยว่า ภาคธนาคารของอิตาลีกำลังได้รับผลกระทบจากสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) หรือหนี้เสีย ซึ่งมีมูลค่า
สูงถึงราว 3.60 แสนล้านยูโร ขณะที่อิตาลีมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป ดังนั้นหากเกิดวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ขึ้นก็จะส่ง
ผลกระทบมากกว่าวิกฤตการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์จากกรีซ
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น เผยดัชนีราคาค้าส่งของญี่ปุ่นเดือน มิ.ย.ปรับตัวลง 4.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเป็นการลดลง
ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 เนื่องจากการลดลงของราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ และการแข็งค่าของเงินเยน ทั้งนี้ราคาผลิตภัณฑ์
ปิโตรเลียมและถ่านหินลดลง 21.0 % และผลิตภัณฑ์โลหะที่ไม่ใช่เหล็กลดลง 17.6% จากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าตลาดสินค้า
โภคภัณฑ์อ่อนตัวลง ทั้งนี้ค่าไฟฟ้า แก๊ส และน้ำ ลดลง 17.6% ขณะที่ราคาสินค้าเกษตร, ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้และการประมง เพิ่มขึ้น
3.5% จากปีก่อนหน้า แม้ว่าผลกำไรจะถูกปกคลุมอย่างชัดเจนจากการแข็งค่าของเงินเยน
  • นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้สั่งการให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆดำเนินการรวบรวมมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจเพื่อจัดการกับปัญหาเงินฝืด หลังการชะลอตัวในเศรษฐกิจเกิดใหม่และการแข็งค่าของเงินเยนได้ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจญี่ปุ่น
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.1%

เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขประมาณการครั้งแรก ที่มีการเผยแพร่เมื่อวันที่

29 มิ.ย. โดยราคาพลังงานยังคงเป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันให้กับตัวเลขเงินเฟ้อ ซึ่งในเดือนมิ.ย.ปรับตัวลง 6.4% จากช่วงเดียว

กันของปีก่อน หลังจากร่วงลง 7.9% ในเดือนพ.ค. ด้านราคาอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบรายปี โดยได้แรงหนุน

จากราคาผักที่เพิ่มขึ้น 4.6% โดยเฉพาะมันฝรั่งที่พุ่งสูงถึง 19.1%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ