ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดวันนี้แข็งค่าเหนือ 35 บาท/ดอลลาร์ รับเงินทุนไหลเข้า-ตามทิศทางภูมิภาค

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 15, 2016 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.93/95 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.05/07 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าหลุดระดับ 35 บาท/ดอลลาร์ ในรอบกว่า 2 เดือนนับแต่ช่วงต้นเดือน พ.ค.59 โดยสาเหตุที่ เงินบาทปรับตัวแข็งค่าเป็นเพราะมีเงินทุนไหลเข้าในภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ในภูมิภาคที่ต่างปรับตัว แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

"วันนี้บาทหลุด 35 แข็งค่าสุดตั้งแต่ 3 พ.ค.59 เป็นเพราะมี flow ไหลเข้าในภูมิภาค จึงทำให้สกุลเงินในเอเชียต่าง ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทยังมีโอกาสแข็งค่าได้ต่อ มองการเคลื่อนไหวในกรอบ 34.80-35.10 บาท/ ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ปิดตลาดเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.02/04 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 105.68/70 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโร เย็นนี้อยู่ที่ระดับ 1.1140/1143 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1110/1113 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,492.00 จุด เพิ่มขึ้น 3.31 จุด (+0.22%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 59,275 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 4,241.31 ลบ.(SET+MAI)
  • นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ได้
รับการอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว 11 โครงการ มูลค่ากว่า 4.6 แสนล้านบาทจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวได้เพิ่มขึ้นจาก
ประมาณการราว 0.3-0.5% จากคาดการณ์ที่ 3% และยังมีโครงการอีกมากที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการเตรียมเสนอขออนุมัติ ซึ่งการก่อ
สร้างและลงทุนในโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจปี 60 ให้เติบโตต่อเนื่องได้ราว 3.5-4.0% ด้วย
  • นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลังกล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจว่า การขับเคลื่อน
โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ และการลงทุนของภาคเอกชน จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจช่วงครึ่งหลังของปีนี้ขยายตัวได้ไม่ต่ำ
กว่า 3% จากครึ่งปีแรกเติบโตมาแล้วราว 3% และต่อเนื่องไปถึงปีหน้าที่คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ถึง 4%
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คาดว่าสินเชื่อเอสเอ็มอีในปีนี้มีโอกาสพลาดเป้าที่ตั้งไว้เติบโต 6% โดยสินเชื่อเอสเอ็ม
อีในครึ่งปีแรกนั้นเติบโตเพียง 1.6% ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศยังคงชะลอตัวอยู่ อีกทั้งคาดว่าแนวโน้มสิน
เชื่อเอสเอ็มอีในครึ่งปีหลังยังจะทรงตัวจากครึ่งปีแรก เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกยังไม่ฟื้นตัวขึ้น ส่วนสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ของ
ธนาคารในปีนี้คาดว่าจะเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้เติบโต 4%
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงในโอกาสการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 11 (Asia-
Europe Meeting :ASEM) ที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงอูลานบาตอร์ มองโกเลีย ในหัวข้อ การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนของอาเซ
ม เพื่อความเชื่อมโยงที่กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอแนวคิดความเชื่อมโยงอาเซม 4 ประการ ได้แก่ การเชื่อมโยง
เพื่อร่วมกันรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ และภัยพิบัติ การเชื่อมโยงประชาชนสู่ประชาชน การเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการ
เชื่อมโยงเพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
  • นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น พบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพยุโรป (EU) ในวันนี้ โดยมีความเป็นไป
ได้อย่างยิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะพูดคุยถึงประเด็นด้านเศรษฐกิจ หลังจากที่อังกฤษลงประชามติออกจากอียู
นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน กล่าวว่า เศรษฐกิจจีนในช่วงครึ่งปีแรกนั้นมีเสถียรภาพ และสอดคล้องกับการคาดการณ์ โดยจีน
มั่นใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาตลอดทั้งปีที่กำหนดไว้ได้
  • นายโรเบิร์ต แคปแลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัส ระบุ เฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่าง
ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐกลับสู่ภาวะแวดล้อมด้านอัตราดอกเบี้ยที่เป็นปกติ พร้อมแสดงความกังวลว่า ภาวะอัตรา
ดอกเบี้ยต่ำในปัจจุบันนั้นกำลังบิดเบือนปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฟดควรเริ่มพิจารณาเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และควร
ดำเนินการในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการประชุมเฟดครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 26-27 ก.ค.นี้
  • นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมใจกันในการยก
ระดับความเป็นอยู่ของประเทศที่มีรายได้ต่ำ ท่ามกลางกระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์
  • นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษเข้าพบนางนิโคลา สเตอร์เจียน มุขมนตรีแห่งสกอตแลนด์ เพื่อ

หารือเกี่ยวกับอนาคตในสหภาพยุโรป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ