(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.77/79 จับตาประชุมกนง.-ตัวเลขศก.ต่างประเทศ มองกรอบ 34.75-34.90

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 3, 2016 11:06 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 34.77/79 บาท/ดอลลาร์ จาก เย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.74/75 บาท/ดอลลาร์

"เช้านี้ขยับขึ้นมานิดนึง ทำ High ที่ 34.82 ข้างล่างติด 34.75 มาหลายวันแล้ว วันนี้จับตาดูผลกนง.แต่คิดว่าไม่น่า จะมีอะไร แล้วดึก ๆ คืนนี้ก็มีตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ หรือ Non Farm Payroll ในวันศุกร์...และพรุ่งนี้ Week นี้ตัวเลขเศรษฐกิจเยอะ Event เยอะ แต่บาทก็ยังมีทิศทางแข็งค่า"

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 34.75-34.90 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 34.7767 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (2 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.36150% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (2 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.56305%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 101.25 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 101.60 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1212 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.1198 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.78800 บาท/
ดอลลาร์
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (2 ส.ค.) โดยสัญญาน้ำมันดิ่งลงหลุด
จากระดับ 40 ดอลลาร์/บาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ปีนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด
ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐในวันนี้อย่างใกล้ชิด

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.ร่วงลง 55 เซนต์ หรือ 1.4% ปิดที่ 39.51 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับ ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.ปีนี้

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย.ดิ่งลง 34 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 41.80 ดอลลาร์/บาร์เรล

  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 ส.ค.) ขานรับธนาคารกลางชั้นนำในประเทศต่าง ๆ ที่ประกาศใช้
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงธนาคารกลางออสเตรเลียที่ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมล่าสุด และรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศ
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 28 ล้านล้านเยน นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) จะยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้นี้

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 13 ดอลลาร์ หรือ 0.96% ปิดที่ ระดับ 1,372.60 ดอลลาร์/ออนซ์

  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 ส.ค.) หลัง
จากทางการสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคที่กระเตื้องขึ้นเพียงเล็กน้อย
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวด
อาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนมิ.ย.
เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากขยับขึ้น 0.2% ในเดือนพ.ค.
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ในเดือนมิ.ย. โดยปรับตัวขึ้น
0.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% เช่นกันในเดือนพ.ค.
  • ผู้บริหารของตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย และมาเลเซียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อก่อตั้งศูนย์กลาง
ตลาดหลักทรัพย์ชาเรียโลก ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ปฏิบัติตามกฎหมายอิสลาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของตลาดการ
เงินชาเรีย
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 28 ล้านล้านเยน (2.74 แสนล้านดอลลาร์)
ในวันนี้ แต่ได้สร้างความผิดหวังแก่นักลงทุนในตลาด
  • นายโรเบิร์ต แคปแลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัส กล่าวว่า ปัจจัยความเสี่ยงจำนวนมากใน
ตลาดโลกที่อาจกระทบเศรษฐกิจสหรัฐ ยังคงมีอยู่ ซึ่งเฟดจำเป็นต้องมีการจับตาอย่างใกล้ชิด
  • วันนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยตลาดการเงิน
คาดว่ากนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% เนื่อง มาจากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่แข็งแกร่งเพียงพอจะฟื้นตัว
  • ภาคเอกชน ยอมรับเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หลังได้ท่องเที่ยว ลงทุนภาครัฐช่วยหนุน ขณะที่การส่ง
ออกเริ่มติดลบน้อยลง แต่ยังเป็นห่วงเรื่องเงินบาท ที่แข็งค่าขึ้นจากการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ นักวิชาการชี้ต้องจับตาปัจจัยเสี่ยง
จากภายนอก ปลัดคลัง ยันพื้นฐานยังแกร่ง ภาคธุรกิจมีกำไร แค่รอจังหวะขยายการลงทุน
  • ค่าเงินบาทจ่อทำสถิติแข็งค่าสุดแถว 34.50 บ./ดอลล์ ล่าสุดจ่อเด้งแตะ 34.70 บาท นักค้าเงินชี้ต้านแรงเงินต่าง
ชาติทะลักเข้ามาไม่ไหว หวั่นกดดัน ธปท.เข้าแทรกแซง เผยค่าบาทแข็งค่าอันดับ 7 ในภูมิภาค "ศุภวุฒิ" ย้ำเกินดุลบัญชีเดินสะพัด
แตะ 10% ต้นเหตุบาทแข็ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ