ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.97 เคลื่อนไหวกรอบแคบ ขาดปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 9, 2016 17:57 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.97 บาท/ดอลลาร์ จากเปิด ตลาดเช้าที่ระดับ 34.98 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 34.93-34.98 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากยังไม่มี ปัจจัยใหม่เข้ามา ขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน

"วันนี้บาทแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 34.93-34.98 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากขาดปัจจัยชี้นำ ขณะที่ค่าเงินภูมิภาค เคลื่อนไหวแบบผสมผสาน" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 34.90-35.05 บาท/ดอลลาร์เช่นเดิม

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 102.29 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 102.37 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1089 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1083 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,548.21 จุด เพิ่มขึ้น 5.95 จุด, +0.39% มูลค่าการซื้อขาย 69,832.25 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 5,318.96 ล้านบาท(SET+MAI)
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการ
ประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ คสช.ถึงกระบวนการเลือกตั้งว่า หากนับตั้งแต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ประกาศผลการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงอย่างเป็นทางการก็คาดว่าน่าจะจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ได้ในช่วงราว
เดือน พ.ย.-ธ.ค.60
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปรับประมาณการอัตราการยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย
ในปีนี้เพิ่มเป็นโต 3.3% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 3% เนื่องจากการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้นและภาครัฐเดินหน้าลงทุนอย่างต่อ
เนื่อง แม้จะปรับลดคาดการณ์ตัวเลขส่งออกปีนี้ตัวเป็นหดตัว -2.1% จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 0.8%
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นครัวเรือน (KR-ECI) ประจำเดือน ก.ค.59 (สำรวจเสร็จสิ้นก่อนมีการลง
ประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 ส.ค.59) ปรับลดลงเพียงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 42.3 จากระดับ 42.5 ใน
เดือนมิ.ย.59 สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนยังคงมีความกังวลต่อภาวะการครองชีพในปัจจุบัน โดยมีความกังวลด้านสถานการณ์ราคา
สินค้าน้อยลง แต่กังวลในด้านภาวะการมีงานทำและภาระหนี้สินมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลกระทบที่ต่อเนื่องมาจากการชะลอตัวของ
ภาคการส่งออก
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB) เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไตรมาส 2/59
ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 39.4 จากไตรมาส 1/59 ที่ 42.1 เนื่องจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศยังกังวลภาวะเศรษฐกิจและ
กำลังซื้อที่ยังชะลอตัว และผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งยังส่งผลกระทบรายได้เกษตรกรซึ่งเป็นกำลัง
ซื้อที่สำคัญของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในส่วนภูมิภาค ส่วนในไตรมาส 3/59 คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยอาจจะเห็นจังหวะการฟื้นตัว
ที่ดีขึ้นจากปัญหาภัยแล้งที่เริ่มคลี่คลายลงหลังเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้สำหรับการเพาะปลูก และรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น
ได้บ้าง
  • ธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ 6.5% ในการประชุมวันนี้ แม้ว่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่ปรับตัว
สูงขึ้นในเดือน มิ.ย.หลังจากราคาอาหารในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงเป็นเพียงภาวะชั่วคราว เงินเฟ้อก็อาจ
จะยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อไป
  • สำนักงานสถิติของเยอรมนี เผยยอดส่งออกเดือนมิ.ย.ขยับขึ้น 0.3% ขณะที่ยอดนำเข้าขยายตัวแข็งแกร่งถึง 1% ซึ่ง
ส่งผลให้เยอรมนีมียอดเกินดุลการค้าอยู่ที่ 2.17 หมื่นล้านยูโร ข้อมูลดังกล่าวได้รับการเปิดเผยก่อนที่เยอรมนีจะเปิดเผยตัวเลข
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในช่วงปลายสัปดาห์นี้
  • สมาคมค้าปลีกอังกฤษ (BRC) เผยยอดค้าปลีกของอังกฤษปรับตัวสูงขึ้นในเดือนก.ค. สวนทางกับการคาดการณ์ก่อน
หน้านี้ที่ระบุว่า กิจกรรมของผู้บริโภคจะชะลอตัว ภายหลังอังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป โดยยอดขายแบบ like-for-like
หรือ การกำหนดเป้าการขายแบบขั้นต่ำของแต่ละร้านที่เปิดหรือปิดตัว เพิ่มขึ้น 1.1% ในช่วงวันที่ 3-30 ก.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีที่แล้ว โดยยอดดังกล่าวสูงขึ้น 1.2% ในเดือนก.ค. 2558 ขณะที่ยอดขายรวมเพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับยอดขายรวมของ
เดือนก.ค. 2558 ที่เพิ่มขึ้น 2.2% ซึ่งยอดขายดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการจัดโปรโมชั่นและสภาพอากาศที่อบอุ่น ทั้งนี้ ตัวเลขดัง
กล่าวปรับตัวขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี
  • สำนักงานปริวรรตเงินตราแห่งรัฐของจีน (SAFE) เผยสถาบันการเงินจีนมียอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

(FDI) สุทธิทั้งสิ้น 1.826 พันล้านหยวน (274 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในไตรมาส 2 ของปี 2559 ลดลงจากระดับ 3.501 พันล้าน

หยวนในไตรมาสแรกของปีนี้ ส่วนยอดการลงทุนโดยตรงสุทธิในต่างประเทศจากสถาบันการเงินจีน ซึ่งรวมถึงธนาคาร บริษัทประกัน

และบริษัทหลักทรัพย์นั้น อยู่ที่ 3.7918 หมื่นล้านหยวนในไตรมาส 2 ของปี 2559 สูงกว่าระดับ 1.1614 หมื่นล้านหยวนในไตรมาส

แรก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ