ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.60 แข็งค่าสุดในรอบ 13 เดือน หลัง GDP Q2/59 ของไทยออกมาดีกว่าคาด

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 15, 2016 17:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเช้าที่ระดับ 34.80 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 34.59-34.80 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีแรงเท ขายดอลลาร์ รับข่าวตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ของปีนี้ขยายตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้

"บาทแข็งค่าจากเปิดตลาดมากกว่าค่าเงินในภูมิภาค หลังตัวเลข GDP ไตรมาสสองออกมาดีกว่าคาด ทำให้มีแรงเทขาย ดอลลาร์ออกมา แต่ไม่น่าแข็งค่าลงมามากขนาดนี้เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายเรื่องและไม่ตอบรับข่าวเรื่องระเบิดเลย วันนี้บาทแข็งค่า ลงมาต่ำกว่าเมื่อเดือนก.ค.58" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 34.50-34.65 บาท/ดอลลาร์

"คิดว่าแบงก์ชาติไม่น่าจะปล่อยให้บาทแข็งค่าลงไปต่ำกว่า 34.50 (บาท/ดอลลาร์)" นักบริหารเงิน กล่าว
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 101.00 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 101.38 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1165 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1157 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,549.11 จุด ลดลง 3.53 จุด, -0.23% มูลค่าการซื้อขาย 75,047.78 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,661.66 ล้านบาท(SET+MAI)
  • นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภา
พัฒน์ เผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/59 ขยายตัว 3.5% เร่งขึ้นจากที่ขยายตัว 3.2% ในไตรมาสแรก
และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้วจะขยายตัวจากไตรมาสแรกราว 0.8% (QoQ-SA) ขณะที่ครึ่งแรกของปี 59 เศรษฐกิจไทยขยาย
ตัว 3.4% โดยสภาพัฒน์ยังคงคาดการณ์ GDP ของปี 59 เติบโต 3.0-3.5% หรือค่ากลาง 3.3%
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปี 59 ไว้ที่ 3.0% หลังเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่
2/59 ขยายตัวสูงกว่าไตรมาสแรก แต่ยังเผชิญความท้าทายในช่วงครึ่งปีหลังที่ต้องรอดูทิศทางการส่งออก รวมถึงการประเมินผล
กระทบจากเหตุการณ์ระเบิดในภาคใต้ ซึ่งหากปัจจัยดังกล่าวมีทิศทางที่ดีกว่าที่ประเมินไว้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยอาจจะมีการทบทวนปรับ
เพิ่มตัวเลขการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยเข้าใกล้กรอบบนของช่วงคาดการณ์ (2.5-3.5%)
  • ปลัดกระทรวงการคลัง เชื่อว่า เหตุวินาศกรรมหลายพื้นที่ในภาคใต้ที่เกิดขึ้นช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่าน
มาจะไม่มีผลกระทบกับภาพรวมการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการพิเศษเพื่อเรียกความเชื่อ
มั่นในขณะนี้
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) เผยวันนี้ได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดทั้งหมด 8.05 หมื่นล้านหยวน (1.212 หมื่นล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อเสริมสภาพคล่องในระบบการเงิน ส่งผลให้เม็ดเงินที่ PBOC อัดฉีดเข้าสู่ระบบการเงินในขณะนี้อยู่ที่ 1.30 แสน
ล้านหยวน โดยเป็นการดำเนินการผ่านทางข้อตกลงซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repo) อายุ 7 วัน ซึ่งเป็นกระบวน
การที่ธนาคารกลางเข้าซื้อหลักทรัพย์จากธนาคารพาณิชย์ด้วยข้อตกลงที่จะขายคืนในอนาคต ด้วยอัตราผลตอบแทนที่ระดับ 2.25%
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของจีนเริ่มปรับตัวดีขึ้น
เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนด้านนโยบาย แต่จีนต้องควบคุมการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อ เพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะเติบโตใน
ลักษณะที่ยั่งยืน

-รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2559 ขยายตัวเพียง 0.2% ซึ่ง ชะลอตัวลงอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ที่มีการขยายตัว 1.9% เนื่องจากการอุปโภคบริโภคในภาคเอกชนซบเซาลง รวมทั้ง เศรษฐกิจในต่างประเทศที่ชะลอตัวลงด้วย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ