(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทเปิด 34.56/60 จับตาตัวเลข ศก.ยุโรป-ประชุมเฟด-Non Farm Payroll

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 2, 2017 12:00 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 34.56/60 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับ ช่วงเย็นวันศุกร์ (28 เม.ย.) ที่อยู่ที่ระดับ 34.59/60 บาท/ดอลลาร์

"เงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่า โดยเมื่อคืนขึ้นไปทำ High 34.62 และ ทำ Low 34.57 โดยสัปดาห์นี้มีปัจจัยที่ต้อง ติดตามคือ ตัวเลข PMI ของโซนยุโรป การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) วันที่ 2-3 พ.ค.และตัวเลขการจ้างงานนอกภาค เกษตรของสหรัฐฯ"

นักบริหารเงิน ระบุว่า คาดว่ากรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 34.50-34.70 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 34.5383 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (28 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.41166% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (28 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.56155%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.84/90 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ (28 เม.ย.) ที่อยู่ที่ระดับ 111.25 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.09/1.10 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ (28 เม.ย.) ที่อยู่ที่ระดับ 1.0915 ดอลลาร์/
ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.6200 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์ถัดไป (2-5 พ.ค.) ที่ 34.35 -
34.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยจุดสนใจของตลาดน่าจะอยู่ที่ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงวัน
ที่ 2-3 พ.ค., การหารือของผู้นำยุโรปเกี่ยวกับประเด็น Brexit และช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบสองของ
ฝรั่งเศส
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติ "คง" อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.75-1.00%
ในการประชุมรอบสามของปี 2560 ในวันที่ 2-3 พ.ค.ที่จะถึงนี้ เพื่อรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะ
ทยอยออกมา ปัจจัยเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ตลอดจนประเมินความชัดเจนของโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากที่เฟด
ได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดในการประชุมเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
  • กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (CPI) เดือนเม.ย.60 อยู่ที่ 100.49 เพิ่มขึ้น
0.38% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.16% จากเดือน มี.ค.60 โดยตัวเลข CPI เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-
เม.ย.) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.03%
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 พ.ค.) หลังสหรัฐเปิด
เผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาหลายรายการ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในเดือนมี.ค.ที่ต่ำกว่า
คาดการณ์ของตลาด
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับ
การที่สหรัฐเพิ่มปริมาณการผลิตและการขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งได้ส่งผลบดบังปัจจัยบวกจากการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก)
กำลังเดินหน้าปรับลดกำลังการผลิตเพื่อแก้ปัญหาภาวะน้ำมันล้นตลาด

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 49 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 48.84 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 53 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 51.52 ดอลลาร์/บาร์เรล

  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงคืนนี้ (1 พ.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิด
เผยรายงานคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยรายงานดังกล่าวส่งผล
ให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 12.8 ดอลลาร์ หรือ 1.01% ปิด ที่ระดับ 1,255.50 ดอลลาร์/ออนซ์

  • ตลาดการเงินจับตาการประชุมระยะเวลา 2 วันของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ และจะเสร็จสิ้นในวันพรุ่ง
นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน
ของเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองการคาดการณ์ GDPNow แสดงให้เห็นว่า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัว 4.3% ในไตรมาส 2 ปีนี้ ซึ่งจะเป็นอัตราการขยายตัวที่แข็ง
แกร่งที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2557
  • รายงานการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) รอบวันที่ 15-16 มี.ค. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำหนด
นโยบายการเงินของ BOJ เห็นพ้องต้องกันว่า BOJ ควรจับตาดูทิศทางเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด เพราะปัจจุบันยังขาดปัจจัยกระตุ้นให้ตัว
เลขเงินเฟ้อขยายตัวตามเป้าหมาย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ