(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.48 แข็งค่าหลังมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร มองกรอบ 31.40-31.55

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 30, 2018 14:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.48 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 31.60 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าหลังอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรปรับตัวลดลงทำให้นักลงทุน เทขายดอลลาร์ทำกำไร แม้ตัวเลข GDP สหรัฐจะออกมาดีก็ตาม

"บาทกลับมาแข็งค่าจากช่วงเย็นวันศุกร์ เนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไรหลังดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐปรับตัวย่อ ลง" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 31.40-31.55 บาท/ดอลลาร์

"ค่าเงินช่วงนี้น่าจะทรงตัวรอดูผลประชุม FOMC" นักบริหารเงิน กล่าว

THAI BAHT FIX 3M (26 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.25446% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.32022%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 31.5067 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 109.11 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 109.36 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.2121 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.2077 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.6170 บาท/
ดอลลาร์
  • สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม และไตรมาสแรกปี 2561
  • ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (30 เม.ย.-4 พ.ค.) ที่ 31.40-
31.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยจุดสนใจของตลาดน่าจะอยู่ที่ผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟด (1-2 พ.ค.) ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ตลอดจนข้อมูล PMI ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนเม.ย. รวมถึงราย
ได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนี Core PCE Price Index เดือนมี.ค. นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามข้อมูล PMI เดือนเม.ย.
ของอีกหลายๆ ประเทศด้วยเช่นกัน
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยแนวโน้มค่าเงินบาทสัปดาห์นี้เคลื่อนไหว 31.40-31.70 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แต่ต้อง
รอดูผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 1-2 พ.ค.นี้ ว่าจะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยอย่างไรบ้าง
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี
(TMB-SME Sentiment Index) ไตรมาส 1/2561 จากความเห็นของผู้ประกอบการ SME กว่า 1,268 รายทั่วประเทศพบว่า
ดัชนีความเชื่อมั่นปัจจุบันของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปีมาอยู่ที่ระดับ 40.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 35.5 ในไตรมาสสุดท้าย
ของปีก่อน
  • "ศูนย์วิจัยเศรษฐ กิจออมสิน" เผยดัชนีเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานรากไตรมาสแรก ของปียังกระจุกตัว ชู "กทม.-
ปริมณฑล" ดีสุด แนะจับตา 3 ปัจจัยเสี่ยงฉุดเชื่อมั่น "พา ณิชย์" เตรียมชง "กนป.-ครม." ออกมาตรการแก้ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ
  • ธนาคารเกียรตินาคิน เปิดเผยว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไตรมาสแรกอยู่ที่ 4.7% ปรับลดลงจาก
5% เมื่อสิ้นปีที่แล้ว โดยเป็นผลมาจากพอร์ตสินเชื่อขยายตัว และการแก้ไขหนี้เอ็นพีแอลเดิม และตัดหนี้สูญ (ไรท์ออฟ) สินเชื่อไม่มีหลัก
ประกันบางส่วน แต่ไม่มีการขาย เอ็นพีแอลออก เพราะธนาคารเชี่ยวชาญบริหารหนี้และหลักประกัน
  • ผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR) ได้ประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้ารายสำคัญ
ภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐมาตรา 301 พิเศษ (Special 301) พบว่า โดยปีนี้ประเทศไทยสามารถรักษาสถานะอยู่ในบัญชีประเทศ
ที่ต้องจับตามอง (WL) ได้ต่อไป
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 สำหรับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(GDP) ประจำไตรมาส 1 ที่ระดับ 2.3% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.0%
  • ตลาดการเงินจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 1-2 พ.ค.นี้ ขณะที่นัก
วิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) จะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเอาไว้ที่ระดับ
1.50-1.75% หลังจากที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้น 0.25% ในการประชุมเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา
  • ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราว่างงานประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้
เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะมีผลต่อทิศทางการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ