ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.06 ทิศทางระยะนี้ยังผันผวน คาดกรอบพรุ่งนี้ 32.00-32.22

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 10, 2018 17:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.06 บาท/ดอลลาร์ จาก ช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 32.20 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้า และระหว่างวันอ่อนค่าไปทำ high สุดที่ระดับ 32.22 บาท/ดอลลาร์ จากนั้น เริ่มดีดกลับมากลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงบ่าย หลังเงินวอนเกาหลีปรับตัวแข็งค่าขึ้นนำสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ประกอบกับนักลงทุนเริ่มกลับมา สนใจลงทุนในสินทรัพย์ของตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย จึงทำให้สกุลเงินในภูมิภาคแข็งค่าไปทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ดี มองว่าค่าเงิน บาทระยะนี้ยังมีความผันผวน

"แม้บาทวันนี้จะกลับมาแข็งค่า แต่โดยรวมแล้วระยะนี้ยังมีความผันผวน เพราะตลาดยังไม่นิ่ง การเมืองในมาเลเซียยัง ต้องจับตาต่อ รวมทั้งปัจจัยเดิมที่ต้องติดตามสถานการณ์ของสหรัฐและตะวันออกกลาง"นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.00 - 32.22 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นเงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.68 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.68 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1872 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1859 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,746.89 จุด ลดลง 10.01 จุด (-0.57%) มูลค่าการซื้อขาย 49,139 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 571.68 ลบ.(SET+MAI)
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตแตะระดับ 4% ได้อย่างแน่นอน
และถือเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษที่เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ในระดับนี้ โดยเป็นการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 57 พร้อมระบุ
ว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าดัชนีหลายตัวที่เป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้น เช่น ดัชนีด้านการบริ
โภค ด้านการลงทุน ขณะที่ SET Index นั้น แม้ดัชนีจะปรับตัวลดลงไปบ้าง แต่ก็เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันทั่วโลก และมอง
ว่าดัชนีหุ้นไทยในระยะยาวยังมีแนวโน้มที่ดี
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย.61 อยู่ที่
89.1 ลดลงจากระดับ 90.7 ในเดือน มี.ค.61 โดยค่าดัชนีฯ ที่ลดลงจากเดือน มี.ค.เนื่องจากมีวันทำงานน้อยกว่าปกติจากวันหยุด
ต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งผู้ประกอบการได้เร่งผลิตไปในช่วงเดือนก่อนหน้าแล้ว ส่งผลให้การใช้กำลังผลิตในเดือน
เม.ย.ลดลง นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และค่าจ้างแรงงานที่ปรับตัวสูง
ขึ้น รวมทั้งการแข่งขันด้านราคา ขณะเดียวกันการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลกระทบให้ผู้ส่งออกสูญเสียรายได้เมื่อแปลงกลับมาเป็นเงิน
บาท
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 16 พ.ค. ซึ่งเป็นครั้งที่ 3
ของปีนี้ น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ 1.50% เพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โดยการใช้
จ่ายในประเทศยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ แรงหนุนจากนโยบายการคลังที่จำกัด และแรงกดดันเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นจึงยังมี
ความเหมาะสมที่จะดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป
  • ศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำเดือนพ.ค.61 อยู่ที่ 54.90 จุด ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเม.ย. ซึ่ง
อยู่ที่ระดับ 48.69 จุด หรือเพิ่มขึ้น 12.76% โดยราคาทองคำสามารถยืนอยู่เหนือระดับ 50 จุดได้เป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน ทั้งนี้
ดัชนีฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นมีปัจจัยมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย และความกังวลต่อสงครามการ
ค้าโลก
  • นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ย้ำว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นไม่ได้มีการกำหนดเส้นตาย
สำหรับการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% พร้อมกล่าวด้วยว่า นโยบายการเงินของ BOJ จะยังคงเป็นแบบผ่อนคลายต่อไปจนกว่าจะ
สามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อได้
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ระบายสภาพคล่องออกจากระบบการเงิน 2 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 3.1 พันล้าน

ดอลลาร์) ในวันนี้ ผ่านทางการดำเนินการทางตลาดเงิน (Open Market Operations - OMO) โดยธนาคารกลางจีนวางแผนที่

จะเดินหน้านโยบายการเงินแบบรอบคอบและเป็นกลางต่อไป รวมทั้งการรักษาสภาพคล่องให้มีเสถียรภาพและอยู่ในระดับที่เหมาะสม

นอกจากนี้ ยังกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อและการระดมทุนทางสังคมให้ขยายตัวในระดับปานกลาง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ