(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.92 แนวโน้มแข็งค่าตามภูมิภาค มองกรอบวันนี้ 31.83-32.00

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 6, 2018 14:53 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.92 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าเล็กน้อยจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.95 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุดเงินบาทย่อลงมาอยู่ที่ระดับ 31.90 บาท/ดอลลาร์ โดยคาดว่าวันนี้เงินบาทอาจเคลื่อนไหวไม่มากนัก แต่ทิศทางยัง แข็งค่า เนื่องจาก sentiment ของตลาดในเอเชียปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับ set index ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1,730 จุด ส่งผลให้สกุล เงินในเอเชียและตลาดเกิดใหม่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น

"ทิศทางเงินบาทวันนี้น่าจะแข็งค่าขึ้น แต่คงไม่มากนัก เพราะวันนี้ไม่ได้มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอะไรมาก แต่น่าจะแข็งค่าขึ้นด้วย sentiment ของตลาดในเอเชียที่ปรับตัวดีขึ้น" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.83-32.00 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (5 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.91448% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.12293%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 31.8925 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.84 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดั้บ 109.75 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1729 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1699 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.9630 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ปรับประมาณการจีดีพีเป็น 4.7% จาก 4% หลังไตรมาสแรกโตเกินคาด ขณะที่เงินบาทแนว
โน้มผันผวนในทิศทางแข็งค่าคาดสิ้นปีแตะ 31.25 พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ ACCD ลดความเสี่ยงค่าเงิน
  • ธนาคารกสิกรไทยจะดูแลการปล่อยสินเชื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย 5-7% ตามที่แจ้งเป้าหมายทางการเงินไม่ต้องการ
ขยายสินเชื่อเกินกว่านี้ เพราะได้ประเมินความเหมาะสมต่อฐานเงินกองทุน และผลตอบแทนที่เหมาะสมของปีนี้ไว้แล้ว แม้ว่าภาวะ
เศรษฐกิจจะเติบโตสูงกว่าที่คาด แต่หากปล่อยให้สินเชื่อเติบโตไปเรื่อยๆ จะกระทบกับเงินกองทุน
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ออกรายงานสรุปการประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยประจำปี 2561
โดยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2560 แต่ยังไม่กระจายตัวมากนัก โดยคาดว่าทั้งปีขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.9% จากแรง
สนับสนุนด้านการท่องเที่ยวและการส่งออกอย่างไรก็ดี การใช้จ่ายและกำลังซื้อในประเทศยังขยายตัวได้ช้าจากความท้าทายเชิงโครง
สร้าง ขณะที่ผลบวกจากการส่งออกที่ยังไม่สามารถส่งผ่านไปยังรายได้ครัวเรือนและการลงทุนอื่นได้มากนัก ไอเอ็มเอฟคาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อปีนี้จะขยายตัว 0.7% ต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อสามปีติดต่อกัน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูง 10.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมใน
ประเทศ (จีดีพี)
  • ธนาคารโลกได้เปิดเผยรายงาน "Global Economic Prospects" โดยระบุว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยาย
ตัว 3.1% ในปี 2561 ก่อนที่จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 3% ในปี 2562 โดยตัวเลขดังกล่าวไม่เปลี่ยนแปลงจากที่คาดการณ์ไว้ในเดือนม.
ค.ที่ผ่านมา พร้อมกับเตือนว่า เศรษฐกิจโลกอาจเผชิญปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ซึ่งรวมถึงนโยบายกีดกันการค้าที่หลายประเทศกำลังนำมา
ใช้ในขณะนี้
  • สกุลเงินยูโรแข็งค่าอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้
(5 มิ.ย.) หลังจากมีรายงานว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน
(QE) ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ขานรับข้อมูลภาคบริการที่สดใสของสหรัฐ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และ
จากการที่นักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาทองคำปิดร่วงลงติดต่อกัน 3 วันทำการก่อนหน้านี้ โดยปัจจัยดังกล่าวช่วยให้สัญญา
ทองคำดีดตัวขึ้นมายืนเหนือระดับ 1,300 ดอลลาร์/ออนซ์ได้อีกครั้ง
  • นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า เช่น สหภาพยุโรป (EU) แคนาดา
และเม็กซิโก หลังจากที่สหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ประเทศคู่ค้าเหล่านี้ได้ประกาศ
มาตรการตอบโต้เช่นกัน ส่วนการเจรจาการค้ารอบที่ 3 ระหว่างสหรัฐและจีนที่จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ทั้งสอง
ฝ่ายยังคงไม่ได้ข้อยุติแต่อย่างใด
  • นักลงทุนยังจับตาการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 12-13 มิ.ย. โดยคาด
ว่าเฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ในการประชุมดังกล่าว หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐที่แข็ง
แกร่ง และการพุ่งขึ้นของค่าจ้างแรงงาน
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้า
เดือนเม.ย., ผลิตภาพ-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยไตรมาส 1/2561, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และสต็อกสินค้าคง
คลังภาคค้าส่งเดือนเม.ย.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ