(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.00 แข็งค่าจากเย็นวันศุกร์ จับตาการเคลื่อนไหว SET, รอดูประชุมเฟด-ผู้นำสหรัฐฯพบเกาหลีเหนือสัปดาห์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 11, 2018 14:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.00 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าจากเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.06 บาท/ดอลลาร์

โดยวันนี้คาดว่าเงินบาทที่ระดับ 32.00 จะเป็น key level สำคัญที่จะบ่งชี้ว่าเงินบาทจะปรับตัวขึ้นหรือลง ทั้งนี้ เงิน บาทยังมีโอกาสจะขึ้นไปเจอ high เดิมเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 32.09 และยังให้แนวรับสำคัญไว้เท่าเดิมที่ 31.90 โดยปัจจัยในประเทศ คงต้องจับตาดู movement ของดัชนีตลาดหุ้นไทย เพราะหากยังมีแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่า

"ในบ้านเราต้องรอดู movement ของ set index หากยังมีการเทขายต่อเนื่อง ก็สะท้อนว่า sentiment ยังเป็น risk off ซึ่งจะทำให้บาทอ่อนค่าได้อีก" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน กล่าวว่า ตลาดยังจับตาเหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ ทั้งการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และการพบปะกันระหว่างผู้นำสหรัฐฯและเกาหลีเหนือ โดยมองวันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.90-32.09 บาท/ ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (8 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.07266% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.18265%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 32.0492 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.44 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 109.30 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1809 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1746 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.054 บาท/ดอลลาร์
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (8 มิ.ย.) หลังจากที่ปรับตัวลดลง
มา 4 วันติดต่อกัน เช่นเดียวกับเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นเช่นกัน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งด้านนโยบายการค้า
ระหว่างสหรัฐกับชาติพันธมิตรในการประชุมผู้นำกลุ่ม G7 ได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างเช่นสกุลเงินดอลลาร์
และเยน
  • นักลงทุนในตลาดการเงินต่างจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 12-13 มิ.
ย.นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งนี้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงาน
และค่าจ้างแรงงานที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
  • นักลงทุนจับตาการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีโดนัดล์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ และนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลี
เหนือ โดยการประชุมจะจัดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (12 มิ.ย.) ที่โรงแรมคาเปลลา บนเกาะเซนโตซา ประเทศสิงคโปร์ โดยประเด็นสำคัญ
ที่น่าจับตาคือ ผู้นำสหรัฐและเกาหลีเหนือจะตกลงกันได้หรือไม่ในเรื่องการปลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี และทั้งสองฝ่ายจะ
ยอมลงนามในข้อตกลงยุติสงครามเกาหลีหรือไม่
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐ รายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.พุ่งขึ้น 223,000 ตำแหน่ง สูง
กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 188,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.8% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน
เม.ย.2543 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะทรงตัวที่ระดับ 3.9%
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เตรียมจะประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ โดยตลาดการเงินคาดว่า ECB
จะส่งสัญญาณปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) จากระดับ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน ซึ่งมีกำหนดสิ้นสุด
ในเดือนก.ย. ทั้งนี้ การคาดการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากนายปีเตอร์ แพรท สมาชิกคณะกรรมการบริหารของ ECB กล่าวว่า ECB จะ
หารือกันเกี่ยวกับการปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการ QE ในการประชุมครั้งนี้
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 30 เซนต์ หรือ 0.02% ปิดที่
1,302.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่ทั้งสัปดาห์ ราคาทองปรับตัวขึ้นราว 0.3% ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเล็กน้อยเมื่อวัน
ศุกร์ โดยได้ปัจจัยหนุนจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งเรื่องนโยบายการค้า
ระหว่างสหรัฐกับชาติพันธมิตรช่วยพยุงราคาทองไม่ให้ร่วงลงมาก
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลดลงเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวอุปทานที่คาด
ว่าจะเพิ่มสูงขึ้น จากการพุ่งขึ้นของการผลิตน้ำมันในสหรัฐ สวนทางกับอุปสงค์ในจีนที่ลดลง ด้านเบเกอร์ ฮิวจ์ เผยแท่นขุดเจาะน้ำมัน
ในสหรัฐมีจำนวนสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี ขณะเดียวกัน นักลงทุนรอดูการประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ซึ่งจะมีขึ้นใน
เดือนนี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าทางกลุ่มจะยังไม่ปรับเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมครั้งนี้
  • การประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 7 ประเทศ หรือ G7 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศแคนาดา ได้เสร็จสิ้นลงแล้วเมื่อวัน
เสาร์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบายปกป้องการค้าของสหรัฐ ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐได้สั่งการ
ไม่ให้คณะผู้แทนสหรัฐให้การรับรองแถลงการณ์ร่วมของการประชุม G7 ในครั้งนี้ พร้อมกับทวีตข้อความโจมตีนายจัสติน ทรูโด นายก
รัฐมนตรีแคนาดา เพื่อตอบโต้การที่นายทรูโดได้วิจารณ์การเก็บภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ