ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.61 อ่อนค่าในรอบเกือบ 6 เดือน ประเมินกรอบเคลื่อนไหววันนี้ 32.50-32.75

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 18, 2018 09:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.61 บาท/ดอลลาร์ อ่อน ค่าจากเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดระดับ 32.43 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเช้านี้อ่อนค่าไปค่อนข้างมาก โดยอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 6 เดือนนับตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.60 ซึ่งเหตุที่บาท อ่อนค่าไปมากในช่วงนี้ เป็นผลจากนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับยังมีแรงขายพันธบัตรอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งแนวโน้มก็ยังเป็นเช่นนี้ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณชัดเจนเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 รอบในปีนี้

"บาทอ่อนไปค่อนข้างมาก และในทางเทคนิคเองก็มีโอกาสจะอ่อนค่าต่อ วันนี้คงต้องรอดูว่านักลงทุนต่างประเทศจะยังเท ขายหุ้นไทยต่อจากสัปดาห์ก่อนอีกหรือไม่ เพราะวันนี้ยังไม่มี event อะไรสำคัญมาก" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-32.75 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (15 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.05822% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.18332%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.32 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 110.56 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1585 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1595 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.3590 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (18-22 มิ.ย.) ที่ 32.10-32.70 บาทต่อ
ดอลลาร์ฯ โดยจุดสนใจของตลาดในประเทศน่าจะอยู่ที่ท่าทีต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของไทยจากกนง. (20 มิ.ย.) ขณะที่ข้อมูล
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยและดัชนภาวะธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนมิ.ย. ตัวเลขการเริ่ม
สร้างบ้าน และยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ค. นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด สถานการณ์ทางการค้า
ระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า และตัวเลข PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนมิ.ย. ของสหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่น
  • ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิดเผยว่า ธพว. ในฐานะสถาบันการ
เงินเฉพาะกิจของรัฐตั้งเป้าหมาย ตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงสิ้นปีนี้ แม้ว่าแนวโน้มตลาดในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะอยู่ในช่วงดอกเบี้ยขา
ขึ้นก็ตาม
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ได้รายงานผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐอเมริกา-จีน รอบใหม่ต่อ
เศรษฐกิจโลก โดยคาดภาคส่งออกไทยคงหลีกเลี่ยงผลกระทบไม่ได้ เพราะไทยมีสินค้าส่งออกที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของทั้ง 2
ประเทศ ขณะที่เศรษฐกิจไทยอาจเผชิญปัญหาสินค้าบางชนิดไหลทะลักเข้า เนื่องจากประเทศต้นทางต้องการระบายสินค้า แต่ไทยก็อาจ
ได้ประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนของจีน หรือได้ประโยชน์ในกรณีที่สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้า 5.783 แสนล้านเยน (5.2 พันล้านดอลลาร์) ใน
เดือนพ.ค.
  • ทำเนียบขาวประกาศบัญชีรายการสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งจะถูกเรียกเก็บภาษี 25% เพื่อ
ตอบโต้การที่จีนขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ

ทั้งนี้ สำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐ (USTR) แถลงว่า อัตราภาษีดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ต่อสินค้าจำนวน 1,100 รายการของจีน โดยสินค้าล็อตแรกจำนวน 818 รายการ มูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ จะถูกเรียกเก็บภาษีในวันที่ 6 ก.ค. ขณะที่ สินค้าล็อตที่ 2 กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา

  • รัฐสภาจีน และคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการศุลกากรแห่งรัฐสภาจีน ได้ตัดสินใจเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ
จำนวน 659 รายการ โดยเรียกเก็บในอัตรา 25% คิดเป็นมูลค่ารวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์
  • ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 99.3 ในเดือนมิ.ย. ซึ่ง
สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 98.3 โดยผลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคต่างมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นต่อสถานะการเงิน และ
สถานะการซื้อสินค้าในปัจจุบัน
  • นักลงทุนจับตาข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากทำเนียบขาวประกาศบัญชีรายการสินค้านำเข้าจากจีน
มูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งจะถูกเรียกเก็บภาษี 25% เพื่อตอบโต้การที่จีนขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ
  • องค์กรต่างๆภายในสหรัฐต่างแสดงความกังวลเกี่ยวกับประกาศของรัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์
ทรัมป์ ที่ระบุว่า สหรัฐจะเก็บภาษีสินค้าที่นำเข้าจากจีนเพิ่มเติมมูลค่าราว 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์นับตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย. เป็นต้นไป
และกำลังพิจารณาว่าจะเก็บภาษีสินค้าอีกจำนวน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์หรือไม่
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมิ.ย.จากสมาคมผู้สร้าง

บ้านแห่งชาติ (NAHB), ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 1/2561, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัด

ซื้อภาคบริการ และภาคการผลิตขั้นต้นเดือนมิ.ย. เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ