(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.92 แนวโน้มยังอ่อนค่า จากแรงกดดันเงินทุนไหลออก-วิตกสงครามการค้าบานปลาย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 26, 2018 14:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.92 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เย็นวานนี้ที่ระดับ 32.96 บาท/ดอลลาร์ แต่มีแนวโน้มอ่อนค่าเนื่องจากการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ และความกังวลเรื่อง สงครามการค้า

"เช้านี้บาทแข็งค่าตามยูโร แต่มีแนวโน้มอ่อนค่าเพราะยังมีแรงขายจากนักลงทุนทั้งตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น และความ กังวลเรื่องผลกระทบจากสงครามการค้าที่มีการตอบโต้รุนแรงมากขึ้น" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 32.85-33.00 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (25 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.21877% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.29466%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 32.9750 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 109.57 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 109.49 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1706 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1645 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.9900 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมหารือกับสถาบันการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยต้นทุนของการทำประกันความ
เสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยขอดูต้นทุนแต่ละสถาบันการเงินเพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ
รายเล็กหรือเอสเอ็มอี ทำให้ทราบได้ว่าต้นทุนในการทำประกันความเสี่ยงจากค่าเงินอยู่ที่เท่าใด จึงเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจเลือก
เครื่องมือ เช่น สิทธิในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (ออพชั่น) หรือสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (ฟอร์เวิร์ด) เป็น
ต้น และในครึ่งปีหลังเตรียมผ่อนเกณฑ์ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เน้นกลุ่มเอสเอ็มอีให้สามารถบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศมี
ประสิทธิภาพ
  • ก.ล.ต.ระดมความเห็นเกณฑ์เปิดให้บุคลากรตลาดทุนในกลุ่มอาเซียนเข้ามาให้คำแนะนำการลงทุนในไทย ระยะแรก
เริ่มต้น 5 ประเทศ
  • กระทรวงพาณิชย์จะหารือกับภาคเอกชน อาทิ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอ
ท.) กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก อาหาร ยานยนต์ เพื่อรับทราบผลกระทบที่เกิดขึ้น จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งมีการปรับ
ภาษีนำเข้าหลายรายการ แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่บางอุตสาหกรรมอยู่ในห่วงโซ่การผลิตที่จะได้รับผล
กระทบจากการปรับขึ้นภาษี
  • รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ
และจีน ยอมรับว่า ภาคเอกชนกังวลเนื่องจากสถานการณ์เริ่มลุกลามไปยังยุโรป จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่ง ส.อ.ท.
อยู่ระหว่างติดตามผลดีและผลเสีย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบ 45 กลุ่มอุตสาหกรรม มีผู้ประกอบการทั้งหมด
11,000 ราย ที่มีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกไปยังจีนและสหรัฐ และมีสินค้าที่อาจได้รับผลกระทบ 1,102 รายการ เช่น
อุตสาหกรรมไฮเทคและเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไทยถือเป็นฐานการผลิต เพื่อส่งออกไปยังจีน คาดว่าจะประเมินและทราบผล
กลางเดือน ก.ค.นี้
  • ทางการจีน และสหภาพยุโรป (EU) ให้คำมั่นร่วมมือกันต่อต้านมาตรการกีดกันทางการค้าหลังจากที่ประธานาธิบดีโด
นัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้า โดยจีน และ EU ระบุว่า การดำเนินมาตรการเพียงฝ่าย
เดียวเสี่ยงต่อการผลักดันเศรษฐกิจโลกให้เข้าสู่ภาวะถดถอย
  • รมว.คลังสหรัฐ ทวีตข้อความระบุว่า สหรัฐเตรียมออกแถลงการณ์จำกัดการลงทุนต่อทุกประเทศทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะ
จีน หากพบว่าประเทศใดละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาต่อสินค้าด้านเทคโนโลยีของสหรัฐ
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่พุ่งขึ้น 6.7% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ
689,000 ยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้ว โดยได้รับอานิสงส์จากยอดขายบ้านทางภาคใต้ของสหรัฐที่ทะยานขึ้นแตะ
ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 11 ปี
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้
(25 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นระหว่างสหรัฐ และประเทศคู่ค้ารายอื่นๆ
หลังจากนายสตีเวน มนูชิน รมว.คลังสหรัฐประกาศว่า รัฐบาลสหรัฐเตรียมออกมาตรการจำกัดการลงทุนต่อทุกประเทศทั่วโลก ไม่ใช่
เฉพาะจีนเท่านั้น
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไร แม้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
อ่อนค่าลงก็ตาม ซึ่งส่งผลให้สัญญาทองคำปิดตลาดร่วงลงหลุดจากระดับ 1,2700 ดอลลาร์/ออนซ์
  • ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนเม.ย.โดย S&P/Case-
Shiller, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.จาก Conference Board, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ค., ยอดทำสัญญาขาย
บ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนพ.ค., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2561
(ประมาณการครั้งสุดท้าย), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE)
เดือนพ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ