ธปท.เผยเศรษฐกิจไทย พ.ค.ขยายตัวดีต่อเนื่องตามการส่งออกพุ่งแม้ท่องเที่ยวโตชะลอลง

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 29, 2018 15:04 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน พ.ค.ขยายตัวดีต่อเนื่องตามการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูง สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่ขยายตัวดีและราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ประกอบกับ อุปสงค์ในประเทศขยายตัวชัดเจนขึ้นต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในทุกหมวดการใช้จ่าย ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน ด้านการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในทุกหมวด ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลงบ้าง

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งขึ้นตามราคาน้ามันขายปลีกในประเทศ ราคาก๊าซหุงต้ม และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่สูงขึ้น ส้าหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงตามการขาดดุลบริการ รายได้ และเงินโอนตามฤดูกาลส่งกลับรายได้และเงินปันผลของธุรกิจต่างชาติ และรายรับการท่องเที่ยวที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี ดุลการค้ายังขยายตัวต่อเนื่องตามรายรับจากภาคการส่งออก ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายค่อนข้างสมดุล

มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัว 13.1% จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากหักทองคำขยายตัว 12.2% โดยเป็นการขยายตัวในหลายหมวดสินค้า จากอุปสงค์ต่างประเทศที่ดีต่อเนื่องและราคาน้ามันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดย 1) สินค้าที่มูลค่าการส่งออกเคลื่อนไหวตามราคาน้ามันดิบขยายตัวทั้งด้านราคาและปริมาณ ตามการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 2) ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ตามการส่งออกรถยนต์นั่ง รถกระบะ และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเฉพาะยางล้อ กระปุกเกียร์ และเครื่องยนต์

3) สินค้าเกษตรแปรรูป ตามการส่งออกน้ามันปาล์มและผลิตภัณฑ์ยางเป็นส้าคัญ ขณะที่การส่งออกน้าตาลหดตัวจากผลด้านราคาจากผลผลิตในตลาดโลกที่สูงกว่าปีที่แล้ว และ 4) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ที่ได้รับผลดีจากการขยายก้าลังการผลิตในช่วงก่อนหน้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ อุปกรณ์ควบคุมกระแสไฟฟ้า และสายไฟที่ใช้ในรถยนต์ อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าเกษตรหดตัวตามการส่งออกยางพาราและผลไม้จากผลของฐานสูงในระยะเดียวกันปีก่อนเป็นส้าคัญ

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการใช้จ่ายในทุกหมวด โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของทั้งรายได้ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมและรายได้รวมลูกจ้างนอกภาคเกษตรกรรม ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน โดยเฉพาะการผลิตในหมวดยานยนต์หมวดเคมีภัณฑ์และหมวดอาหารและเครื่องดื่ม

การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามรายจ่ายประจำที่ขยายตัวจากรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการของส้านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หลังจากที่มีการเลื่อนเบิกจ่ายในช่วงก่อนหน้า และรายจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวตามการเบิกจ่ายงบเพิ่มเติมปี 2560 ของกลุ่มจังหวัด และการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เป็นสำคัญ

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน จากทั้งเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามการนำเข้าสินค้าทุนของภาคเอกชนโดยเฉพาะหมวดอุปกรณ์โทรคมนาคม หมวดพลังงาน และหมวดคอมพิวเตอร์ ยอดจ้าหน่ายเครื่องจักรในประเทศตามทิศทางการขยายตัวของหมวดคอมพิวเตอร์ และหมวดมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และยอดจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการลงทุนที่ขยายตัวต่อเนื่องในหลายหมวด ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนในหมวดก่อสร้างขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนจากยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเป็นสำคัญ เมื่อปรับฤดูกาลแล้ว เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามการนำเข้าสินค้าทุนเป็นสำคัญ

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัว 6.4% จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนและฮ่องกงเป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม อาทิ มาเลเซีย และ ตะวันออกกลางลดลง ส่วนหนึ่งจากเทศกาลรอมฎอนที่ปีนี้มาเร็วกว่าปีก่อน นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวรัสเซียลดลงเช่นกัน ส่วนหนึ่งจากการชะลอการท่องเที่ยวก่อนเทศกาลฟุตบอลโลก ทั้งนี้ เมื่อปรับฤดูกาลแล้ว จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง 1.5% จากเดือนก่อน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงในเกือบทุกกลุ่มหลักยกเว้นจีน และเอเชียที่ไม่รวมจีนและมาเลเซีย

มูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัว 12.7% จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากหักทองคำขยายตัว 12.5% โดยเป็นการขยายตัวในหลายหมวดสินค้า ได้แก่ 1) หมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง ขยายตัวตามการน้าเข้าเชื้อเพลิงจากด้านราคาเป็นสำคัญ และการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับภาคการส่งออกในหมวดดังกล่าวที่ขยายตัวดี 2) หมวดสินค้าทุน ขยายตัวต่อเนื่องตามการนำเข้าหมวดอุปกรณ์ โทรคมนาคม หมวดพลังงาน และหมวดคอมพิวเตอร์สอดคล้องกับการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน

3) หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวตามการนำเข้าทั้งหมวดสินค้าไม่คงทนและสินค้าคงทน สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีและ 4) หมวดยานยนต์และชิ้นส่วนขยายตัวสอดคล้องกับการผลิตและยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.49% เร่งขึ้นจาก 1.07% ในเดือนก่อน ตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศและราคาก๊าซหุงต้มที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อยู่ที่ 0.80% เร่งขึ้นจาก 0.64% ในเดือนก่อน ตามการปรับขึ้นราคาในหมวดอาหาร เคหสถาน และของใช้ส่วนตัว สำหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน

ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงตามดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุลตามฤดูกาลส่งกลับรายได้และเงินปันผลของธุรกิจต่างชาติ ประกอบกับรายรับการท่องเที่ยวลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ชะลอลง ขณะที่ดุลการค้ายังเกินดุลตามมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวดี สำหรับดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายค่อนข้างสมดุล โดยด้านสินทรัพย์เป็นการไหลเข้าสุทธิจากการถอนเงินฝากของสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน (Other Depository Corporation: ODC) เพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ และการถอนเงินฝากที่ครบกำหนดของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF) เป็นสำคัญ ขณะที่ด้านหนี้สินเป็นการไหลออกสุทธิตามการขายสุทธิหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้สอดคล้องกับทิศทางการลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ