(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.15 แนวโน้มอ่อนค่า มองกรอบเคลื่อนไหว 33.15-33.30 ตลาดรอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 3, 2018 14:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.15 บาท/ดอลลาร์ ใกล้ เคียงจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 33.14 บาท/ดอลลาร์

แม้การเคลื่อนไหวของเงินบาทยังไปในทิศทางที่อ่อนค่า โดยล่าสุดเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.25 บาท/ดอลลาร์ แต่โดยรวม วันนี้คาดว่าตลาดจะยังเงียบๆ ไม่มีปัจจัยอะไรที่จะเป็นผลกดดันตลาดมากนักในช่วงนี้ เพราะใกล้กับช่วงที่ตลาดในฝั่งสหรัฐฯจะปิดทำ การเนื่องในวันชาติ 4 ก.ค. ซึ่งหลังจากนั้นคงต้องติดตามปัจจัยสำคัญที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเฉพาะกรณีที่การปรับขึ้นภาษี นำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันศุกร์นี้

"วันนี้โดยรวมตลาดคงเงียบๆ เพราะใกล้วันหยุด 4 ก.ค.ที่เป็นวันชาติสหรัฐ คงต้องไปรอดูกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นหลังจาก นั้น โดยเฉพาะปลายสัปดาห์ที่การขึ้นภาษีของสหรัฐกับสินค้าจีนจะเริ่มมีผลบังคับตั้งใช้ตั้งแต่วันศุกร์นี้" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.15-33.30 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (2 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.26957% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.29284%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 33.2600 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.81 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 110.82 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1625 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1638 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.1260 บาท/
ดอลลาร์
  • ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ตั้งเป้าหมายประเทศไทยต้องมีรายได้จากการท่องเที่ยวในปี 62
เพิ่มขึ้น 10% หรือมีรายได้ 3.41 ล้านล้านบาท แยกเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.29 ล้านล้านบาท และในประเทศ
1.12 ล้านล้านบาท
  • "เวิลด์แบงก์" เผยผลสำรวจจาก 141 ประเทศ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา พบ "จีดีพี" ไม่สะท้อนภาพเศรษฐกิจแท้จริง
เผยเป็นเพียงเครื่องชี้วัดผลผลิตของประเทศ แต่ไม่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของชาติบนพื้นฐานความจริง หวั่นส่งสัญญาณผิด เกี่ยวกับ
ความเข้มแข็งของประเทศ แนะใช้ตัวชี้วัด 4 ด้านเสริม
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมในการเป็น
ประธานอาเซียนในปี 2562 กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า70 หน่วยงาน โดยนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ที่นั่งเป็นประธานอาเซียนในปี
2561 จะส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนให้กับนายกรัฐมนตรีไทยในเดือน พ.ย.นี้
  • ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM พุ่งขึ้นสู่ระดับ 60.2
ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 58.7 ในเดือนพ.ค. ซึ่งปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการ
ผลิตของสหรัฐยังคงมีการขยายตัว
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.9%
ในเดือนเม.ย. และเมื่อเทียบรายปี การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐพุ่งขึ้น 4.5% ในเดือนพ.ค.
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 ก.
ค.) หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส ซึ่งรวมถึงดัชนีภาคการผลิตที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเดือนมิ.ย. ขณะยู
โรอ่อนค่าลงเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในเยอรมนี
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 1% เมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้ส่ง
ผลให้สัญญาทองคำมีความน่าดึงดูดน้อยลง นอกจากนี้ การดีดตัวขึ้นของดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังทำให้นักลงทุนเทขายทองคำซึ่ง
เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
  • นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนมิ.ย.ของสหรัฐ ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิด
เผยในวันศุกร์นี้ หลังจากที่ตัวเลขจ้างงานเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 188,000
ตำแหน่ง
  • นักลงทุนยังจับตารายงานการประชุมประจำเดือนมิ.ย.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพฤหัสบดีนี้ตามเวลา
สหรัฐ หรือในช่วงเช้าวันศุกร์นี้ตามเวลาไทย
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ค., ตัวเลข

จ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย.จาก ADP, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ

เดือนมิ.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนมิ.ย. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และดุลการค้าเดือนพ.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ