ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.24 อ่อนค่าต่อเนื่อง ระหว่างวันแตะ 33.26 จับตามาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีน-สหรัฐฯศุกร์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 5, 2018 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.24 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.15 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทช่วงเย็นนี้ปรับตัวอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยระหว่างวันทำ high สุดที่ระดับ 33.26 บาท/ดอลลาร์ และ low สุดที่ ระดับ 33.11 บาท/ดอลลาร์ ทิศทางพรุ่งนี้ยังมีโอกาสที่เงินบาทจะยังอ่อนค่าได้ต่อ เนื่องจากยังมีแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างประเทศ

สำหรับ event สำคัญที่ต้องรอดู คือ รายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ซึ่งหากออกมาในโทนเดียวกันคือเห็นพ้องให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 4 ครั้งภายในปีนี้ ก็จะมีผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า และเงินบาทก็จะยังอ่อนค่าต่อ ขณะเดียวกันตลาดยังจับตาการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่จะประกาศใน คืนวันศุกร์นี้ รวมทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ที่จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันศุกร์นี้เช่นกัน

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.05-33.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.67 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.39 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.684 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1660 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,601.42 จุด ลดลง 27.78 จุด (-1.71%) มูลค่าการซื้อขาย 55,699 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,382.60 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค มิ.ย.61 อยู่ที่ 81.3 ปรับเพิ่มขึ้นจาก
เดือนพ.ค. เนื่องจากผู้บริโภคเห็นว่าการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดี
ขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เริ่มปรับตัวดีขึ้น
ซึ่งจะส่งผลดีให้กำลังซื้อในกลายจังหวัดทั่วประเทศปรับตัวดีขึ้น
  • ศูนย์วัจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ปรับคาดการณ์ GDP ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 4.5-5.0% จากเดิม 4.0-
4.5% ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่ปี 2555 ที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงถึง 7.2% เนื่องจากมองว่าเป็นผลจากเศรษฐกิจไทย
ในช่วงครึ่งปีหลังมีสัญญาณการฟื้นตัวที่เริ่มชัดเจนขึ้น จากการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล ตลอดจนการเร่งโครงการลงทุน
ขนาดใหญ่ต่างๆ ของภาครัฐ ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินลงไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ร่วมกับคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) มองระบบ
การเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ส่งผลให้ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจโดยเฉพาะ
ธุรกิจขนาดใหญ่ปรับดีขึ้น ธนาคารพาณิชย์และธุรกิจประกันภัยมีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง ขณะที่เสถียรภาพด้านต่างประเทศมีความเข้ม
แข็ง สะท้อนจากภาระหนี้ต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่อง และเงินสำรองระหว่างประเทศยังอยู่ใน
ระดับสูง ซึ่งมีส่วนช่วยรองรับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศและภาวะการเงินโลกที่ผันผวนขึ้นจากการดำเนินนโยบาย
เศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก และความกังวลเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้าที่เพิ่มสูงขึ้น
  • กระทรวงการคลัง เผยผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาหกิจช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.61) อยู่ที่
1.32 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 61% เป็นผลจากการเร่งลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่
เช่น รถไฟทางคู่, รถไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
  • คณะกรรมการพิกัดอัตราศุลกากรของจีนเผย จีนจะจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐเพิ่มเติมในบางรายการในทันที
เมื่อมาตรการจัดเก็บภาษีครั้งใหม่ของสหรัฐมีผลบังคับใช้ ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่สหรัฐประกาศเตรียมเก็บภาษี
สินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มเติม 545 รายการ มูลค่าประมาณ 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์เกษตร ยานยนต์ และ
ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค.นี้
  • สำนักงบประมาณของรัฐสภาเกาหลีใต้ คาดการณ์ว่า การที่สหรัฐจำกัดการนำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้ ซึ่งครอบคลุม
เหล็ก เครื่องซักผ้า และแผงโซลาร์เซลล์นั้น จะกระทบการส่งออกของเกาหลีใต้เป็นวงเงินกว่า 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไม่
กี่ปีข้างหน้านี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ