(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.12 แข็งค่าหลังมีแรงขายดอลล์ มองกรอบวันนี้ 33.05-33.20

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 9, 2018 14:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.12 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 33.17 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์เพื่อทำกำไร

"บาทแข็งค่าจากเย็นวันศุกร์ หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมาเพื่อทำกำไร" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 33.05-33.20 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (6 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.30516% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.33174%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 33.0950 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 110.45 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 110.66 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1750 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1709 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.2090 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (9-13 ก.ค.)ที่ 32.80-33.40 บาทต่อ
ดอลลาร์ฯ โดยจุดสนใจของตลาดน่าจะอยู่ที่สถานการณ์ค่าเงินหยวนของจีน และประเด็นที่เกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ
และจีน (ตลอดจนประเทศคู่ค้าอื่นๆ) รวมถึงรายงานนโยบายการเงินของเฟดที่เสนอต่อสภาคองเกรส และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่
เฟดในระหว่างสัปดาห์

ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคานำเข้า-ส่งออกเดือนมิ. ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนก.ค. นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามข้อมูลเศรษฐกิจเดือนมิ.ย. ของจีนด้วยเช่น กัน

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลกระทบจากการที่สหรัฐฯ ประกาศเดินหน้ากดดันทางการค้าต่อจีนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด
เมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ทางการสหรัฐฯ จะเริ่มเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในวงเงินมูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาด
ว่าจะประกาศรายการสินค้าอีก 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่จะเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติม ขณะที่ จีนเองก็ออกมาประกาศมาตรการ
ตอบโต้ทางการค้าในมูลค่าที่เท่ากัน ส่งผลให้ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งจีนและภูมิภาคอาเซียนตกอยู่ภายใต้ความตึงเครียดของ
สงครามทางการค้าที่มีแนวโน้มว่าอาจจะยืดเยื้อเกินกว่าสิ้นปี 2561 ประกอบกับเป็นช่วงจังหวะเวลาพร้อมกับที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ
ส่งสัญญาณเร่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ตลาดการเงินภายในภูมิภาคต้องเผชิญกับความผันผวนของเงินทุนไหลออกอย่างฉับพลัน อัน
ส่งผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์และค่าเงินสกุลภูมิภาคทุกสกุลโดยถ้วนหน้า
  • แบงก์ใหญ่เดินหน้า ตั้งแบงกิ้งเอเยนต์ หลังส่งแผนให้ธปท.พิจารณาแล้ว ส่วนใหญ่เจรจา "ร้านสะดวกซื้อ"และ"ปั๊ม
น้ำมัน"ตามคาด เน้นธุรกรรมฝากถอนเงินเป็นหลัก
  • รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.นี้ กลุ่มธนาคารพาณิชย์
11 แห่ง จะเป็นกลุ่มแรกที่ทยอยรายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 61 โดยคาดว่าแต่ละแห่งได้รับผลกระทบจากการประกาศยก
เว้นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนใช้ช่องทางนี้
มากขึ้น ส่งผลให้รายได้ของกลุ่มธนาคารที่ได้จากค่าธรรมเนียมปรับลดลงตามไปด้วย
  • สถาบันการเงินและนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 6.7% ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ซึ่งอ่อนตัว
ลงเล็กน้อยจากระดับการขยายตัวในช่วงไตรมาสแรก แต่เศรษฐกิจยังคงมีความยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่อง
  • สงครามการค้า ทำดอลลาร์แข็ง แรงเทขายต่อเนื่อง ส่งผลตลาดทองคำซบเซาและอ่อนตัวลงต่อเนื่อง ขณะปริมาณ
การถือครองทองคำของกองทุน ETF 12 แห่งลดลง 3% จากแรงขายของนักลงทุน เพื่อชดเชยการขาดทุนในตลาดหุ้น แม้ premium
ในประเทศผู้บริโภคทองคำอันดับ 1 ของโลกอย่างจีนคงที่ หนุนราคาทองคำในจีนระยะนี้ นักลงทุนทองคำต้องระมัดระวังการซื้อขาย
เพิ่ม
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานเมื่อวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 213,000 ตำแหน่งในเดือน
มิ.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 195,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.0% โดยสูงกว่าที่นัก
วิเคราะห์คาดว่าจะทรงตัวที่ระดับ 3.8%
  • นักลงทุนยังคงจับตาการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนอย่างใกล้ชิด หลังจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐได้
เรียกเก็บภาษี 25% ต่อสินค้านำเข้าจากจีนจำนวนมากกว่า 800 รายการ คิดเป็นมูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่จีนก็ได้ตอบโต้
ด้วยการเก็บภาษี 25% ต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐในวงเงินที่เท่ากัน
  • สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานโดยอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สหรัฐว่า รัฐบาลสหรัฐกำลังพิจารณาเรียกเก็บภาษี
นำเข้าสินค้าจากจีนล็อตที่ 2 วงเงิน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ในเดือนส.ค.นี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ