พาณิชย์ เผยการค้าชายแดน-ผ่านแดน 7 เดือนแรกปี 61 โต 7.14% มั่นใจช่วงที่เหลือยังขยายตัวต่อเนื่อง

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 31, 2018 14:59 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า มูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทย 7 เดือนแรกปี 2561 (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 800,427 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.14% โดยเป็นการส่งออก 456,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.72% และการนำเข้า 343,990 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.03% แต่ยังเกินดุลการค้า 112,446 ล้านบาท แยกเป็นมูลค่าการค้าชายแดน 647,097 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.69% เป็นการส่งออก 379,576 ล้านบาท ลดลง 0.44% นำเข้า 267,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.93% เกินดุลการค้า 112,055 ล้านบาท และมูลค่าการค้าผ่านแดน 153,330 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.89% เป็นการส่งออก 76,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.87% นำเข้า 76,470 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.03% เกินดุลการค้า 391 ล้านบาท ทั้งนี้ถ้าคำนวณเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ พบการขยายตัวเพิ่มมากกว่าเพราะค่าเงินบาทแข็งขึ้นในช่วงต้นปี 2561

การค้าชายแดนแยกเป็นรายประเทศ พบว่าการค้ากับมาเลเซียยังคงนำเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 330,006 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.07% เป็นการส่งออก 173,364 ล้านบาท ลดลง 5.40% ตามมาด้วย สปป.ลาว มูลค่า 124,417 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.96% เป็นการส่งออก 76,267 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.90% นำเข้า 48,151 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.10% เมียนมา มูลค่า 111,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.38% เป็นการส่งออก 63,665 ล้านบาท ลดลง 2.12% นำเข้ามูลค่า 48,195.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.15% และกัมพูชา มูลค่า 80,814.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.37% เป็นการส่งออก 66,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.58% นำเข้า 14,533 ล้านบาท ลดลง 8.46%

"มั่นใจว่าการค้าชายแดน 5 เดือนถัดจากนี้ ยังคงสดใสและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง" อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศระบุ

นายอดุลย์ กล่าวว่า ช่วงเดือนที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อการค้าชายแดนและผ่านแดน ทำให้การค้าชะลอตัวลง ได้แก่ สปป.ลาวประสบปัญหาน้ำท่วมจากกรณีเขื่อนแตกในเมืองสนามไซ แขวงอัตตะปือ ทำให้น้ำท่วมบ้านเรือนในหลายพื้นที่ ประกอบกับปัญหาลมมรสุมมีกำลังแรง ส่งผลทำให้มีฝนตกตลอดเวลา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เมียนมา สถานการณ์น้ำท่วมทางตะวันออกเฉียงเหนือยังไม่คลี่คลาย แม้ระดับน้ำท่วมเริ่มลดลงบ้างในบางพื้นที่ แต่ก็ยังมีการอพยพประชาชนไปอาศัยในศูนย์พักพิงชั่วคราว มาเลเซีย ยังคงมีปัจจัยเรื่องราคายางพาราที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นช่วงที่มีฝนตกชุกในพื้นที่เพาะปลูกยาง ทำให้มีปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อยลงและกัมพูชา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ