(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.78 ก่อนอ่อนค่ามาที่ 32.84 จากความกังวลสงครามการค้า มองกรอบวันนี้ 32.70-32.90

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 10, 2018 14:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.78 บาท/ดอลลาร์ จาก เย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.77 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุดเงินบาทอ่อนค่ามาอยู่ที่ระดับ 32.84 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทวันนี้คาดว่าจะมีทิศทางอ่อนค่าจากปัจจัยต่าง ประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐขู่จะขึ้นภาษีสินค้าจากจีนอีกราว 2.67 แสนล้านดอลลาร์ ในขณะที่ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ของจีน ออกมาระบุว่าจีนกำลังถูกกดดันจากสหรัฐให้ต้องทำสงครามการค้า จึงทำให้แนวโน้มสกุลเงินในภูมิภาค ปรับตัวอ่อนค่า

"หลังจากทรัมป์ออกมาขู่จะขึ้นภาษีจากจีนอีก 2.67 แสนล้านดอลลาร์ ทำให้ตลาดอยู่ในภาวะ risk off ตลาดจึงกลัว เกิดสงครามการค้าอย่างเต็มรูปแบบ เพราะโฆษกกระทรวงพาณิชย์จีนก็ออกมาบอกว่า จีนถูกกดดันจากสหรัฐให้ต้องทำสงครามการ ค้า" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70-32.90 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (7 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.28436% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.41998%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 32.8417 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.96 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 110.80 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1552 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1636 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.7920 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทคาดการณ์เงินบาทสัปดาห์นี้(10-14 ก.ย.)ที่ 32.60-
33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยจุดสนใจหลักๆ ของตลาด น่าจะอยู่ที่ประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า ผลการ
ประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางตุรกี ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษ รวมถึงถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูง
ของเฟด

ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ดัชนีราคานำ เข้า/ส่งออก ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนส.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนก.ย. และรายงาน Beige Book ของเฟด นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจเดือนส.ค. ของจีนด้วยเช่นกัน สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย

  • ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อคอนโดมิเนียม หลังเกิดใหม่ขึ้นมากตามแนว
รถไฟฟ้าที่ปริมาณเกินความต้องการ จนเห็นการเร่งอัดโปรโมชั่นระบายสต๊อก เป็นสัญญาณเตือนความเสี่ยงเกิดวิกฤต
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2561 ขยายตัว
3.0% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ระดับ 1.9% โดยได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น
อย่างแข็งแกร่ง
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่ง สูง
กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 191,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 3.9% ในเดือนส.ค. ขณะที่นัก
วิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 3.8%
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า สหรัฐพร้อมที่จะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมต่อสินค้านำเข้าจากจีนวง
เงิน 2.67 แสนล้านดอลลาร์ โดยความเคลื่อนไหวของทรัมป์ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐปิดในแดนลบเมื่อวันศุกร์ ท่ามกลางความวิตกกังวล
ที่ว่า สงครามกาค้าระหว่างสหรัฐและจีนอาจทวีความรุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ คำขู่ของผู้นำสหรัฐมีขึ้นหลังจากผ่านพ้นกำหนดเส้นตายที่กำหนดไว้ในช่วงเที่ยงคืนวันพฤหัสบดีตามเวลาสหรัฐ หรือวัน ศุกร์เวลา 11.00 น.ตามเวลาไทย สำหรับการทำประชาพิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆของสหรัฐต่อมาตรการดังกล่าว

  • อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางจีนได้กล่าวแสดงความเห็นว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนจะไม่ส่งผลกระทบมาก
นักต่อเศรษฐกิจของจีน โดยนายโจวกล่าวว่า จีนได้มีการใช้ระบบการคำนวณทางคณิตศาสตร์พบว่า ผลกระทบจากสงครามการค้าที่จะมี
ต่อเศรษฐกิจจีนนั้น มีไม่ถึง 0.5%
  • ธนาคารกลางตุรกี และธนาคารกลางรัสเซีย เตรียมจัดประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ โดยนักลงทุนจับตาดูว่า
ธนาคารทั้งสองแห่งจะออกมาตรการอย่างไรในการรับมือกับค่าเงินที่ร่วงลง

ส่วนธนาคารกลางอังกฤษ และธนาคารกลางยุโรป จะจัดประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีนี้

  • สัปดาห์นี้สหรัฐจะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) จาก

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, อัตราเงินเฟ้อเดือนส.ค., ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้น

เดือนก.ย. เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ