ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.02/03 อ่อนค่าในรอบเกือบ 2 เดือนตามทิศทางภูมิภาค หลังตัวเลขศก.สหรัฐฯฯหนุนคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 9, 2018 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.02/03 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.89 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าในรอบเกือบ 2 เดือน ซึ่งเหตุที่เงินบาทปรับอ่อนค่าลงคาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเรื่องตัว เลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนก.ย.ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ส่งผลให้ตลาดให้น้ำหนักมากขึ้นกับการที่ธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นรอบที่ 4 ของปีนี้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยจากเงินหยวนอ่อนค่า ซึ่งส่งผลให้สกุล เงินอื่นๆ ในภูมิภาคปรับตัวอ่อนค่าสอดคล้องตามกัน

"ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ค่อนข้างดี ตัวเลข Nonfarm Payroll ล่าสุดที่ออกมาดี ก็ยิ่งสื่อว่าเฟดจะขึ้น ดอกเบี้ยในรอบที่ 4 แน่นอน รวมทั้งตอนนี้เงินหยวนก็อ่อนค่า ทำให้เงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคปรับอ่อนค่าตามไปด้วย" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.00 - 33.15 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.03 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.02 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1445 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1491 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,696.92 จุด เพิ่มขึ้น 0.70 จุด (+0.04%) มูลค่าการซื้อขาย 52,507 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 4,617.43 ลบ.(SET+MAI)
  • ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน ต.ค.61 อยู่ที่ระดับ 40.08 จุด จากเดือน ก.ย.61 ที่ระดับ 46.09
จุด คิดเป็นลดลง 6.01 จุด หรือ 13.05%
  • ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงสถานการณ์ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาประเทศไทย
ในช่วงวันชาติจีน หรือ Golden Week ในระหว่างวันที่ 1-7 ต.ค.61 ว่า มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางมาประเทศไทย 180,807
คน ขยายตัว 2.77% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีการใช้จ่ายระหว่างเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย 10,205
ล้านบาท ขยายตัว 4.82% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
  • ทริสเรทติ้ง มองแนวนโยบาย Macro Prudential สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) ที่ต้องการปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและลดพฤติกรรมการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์น่าจะ
ส่งผลดีต่อผู้ซื้อบ้าน รวมไปถึงผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และธนาคารในระยะยาว แต่อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อผู้ประกอบการ
อสังหาริมทรัพย์ในระยะสั้น
  • สำนักข่าวต่างประเทศ ระบุว่า กระทรวงการคลังสหรัฐ กำลังจับตาความเคลื่อนไหวของเงินหยวนอย่างใกล้ชิด หลัง
เงินหยวนร่วงลงอย่างหนักในช่วงนี้ ขณะที่ทางกระทรวงการคลังสหรัฐ มีกำหนดการออกรายงานรอบครึ่งปีว่าด้วยประเทศที่บิดเบือนค่า
เงินในสัปดาห์หน้า ซึ่งอาจระบุว่าจีนเป็นประเทศปั่นค่าเงิน

ทั้งนี้ พบว่าในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา เงินหยวนปรับอ่อนค่าลงไปแล้ว 9% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เกิดการ คาดการณ์ว่าจีนจงใจลดค่าเงินหยวน เพื่อตอบโต้การทำสงครามการค้ากับสหรัฐ

  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2561 ลง 0.2% สู่ระดับ 3.7% เช่น
เดียวกับปี 2562 ที่จะขยายตัวที่ระดับ 3.7% ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าใน
ปี 2561 จะขยายตัว 2.9% เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ 6.6% ขณะที่ IMF ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐในปี 2562 ลงสู่ระดับ
2.5% และปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจจีนในปี 2562 ลงสู่ระดับ 6.2%

โดยรายงานของ IMF ระบุว่าแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งจากมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจ แต่ตัวเลขคาดการณ์สำหรับปี 2562 ได้ถูกปรับลดเนื่องจากการประกาศมาตรการการค้า ซึ่งรวมถึงการเรียกเก็บภาษีสินค้า นำเข้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ ส่วนเศรษฐกิจจีนและหลายประเทศในเอเชียมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2562 ซึ่งเป็นผลจาก การประกาศมาตรการการค้า รวมถึงความเสี่ยงที่เป็นผลมาจากความไม่แน่นอนของนโยบายต่างๆ

  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แสดงความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลจีนจะสามารถปก
ป้องค่าเงินหยวนได้ แม้เงินหยวนร่วงลงอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม พร้อมคาดว่า จีนอาจประสบความยากลำบากในการปรับสมดุล
ระหว่างการผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโต ควบคู่ไปกับการสร้างเสถียรภาพด้านการเงิน
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนและเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศ
ต่างๆ เดินหน้าร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ โดยให้มีการดำเนินการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า ทุกฝ่ายจะได้รับผลประโยชน์จากความ
ร่วมมือ
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของชาวญี่ปุ่นที่ประกอบอาชีพที่มีความอ่อนไหวต่อภาวะ
เศรษฐกิจเดือนก.ย.ปรับตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากผลกระทบจากภัยพิบัติ เช่น พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง และแผ่นดินไหว โดยดัชนีความเชื่อ
มั่น diffusion index ซึ่งสะท้อนความเชื่อมั่นในกลุ่มอาชีพที่อ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน เช่น พนักงานขับรถแท็กซี่ และ
พนักงานร้านอาหาร อยู่ที่ระดับ 48.6 จุด ลดลง 0.1 จุดจากเดือนส.ค. พร้อมระบุว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของญี่ปุ่นค่อยๆ ฟื้นตัว
ในระดับปานกลาง
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ปิดตลาดที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ประกาศใช้
นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบเมื่อเดือนม.ค.59 โดยตลาดพันธบัตรญี่ปุ่น ซึ่งกลับมาเปิดทำการวันแรกของสัปดาห์ในวันนี้ ได้ปรับตัวตาม
ตลาดพันธบัตรสหรัฐเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหมายเลข 352 ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
ปิดที่ 0.155% เพิ่มขึ้น 0.010% จากระดับปิดเมื่อวันศุกร์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ