(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.80/84 แนวโน้มกลับมาแข็งค่า หลังบาทอ่อนสวนทางภูมิภาคจากตัวเลขส่งออกติดลบในรอบ 19 เดือน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 24, 2018 14:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 32.80/84 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวันจันทร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.77 บาท/ดอลลาร์

วันนี้แนวโน้มเงินบาทมีโอกาสจะกลับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค หลังจากที่เมื่อ วันจันทร์เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าสวนทางภูมิภาค ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่การส่งออกของไทยในเดือนก.ย.61 ติดลบเป็นครั้งแรกใน รอบ 19 เดือน

"เมื่อวันจันทร์บาทเราอ่อนค่าสวนทางภูมิภาค อาจเป็นเพราะส่งออกติดลบ แต่วันนี้ดูแนวโน้มแล้วบาทน่าจะเคลื่อนไหว สอดคล้องภูมิภาค คือแข็งค่าขึ้น" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.60-32.90 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (22 ต.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.26014% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.34431%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 32.7692 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนเช้านี้อยู่ที่ระดับ 112.48/53 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันจันทร์ที่ระดับ 112.81 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1463/1466 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันจันทร์ที่ระดับ 1.1502 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.6500 บาท/
ดอลลาร์
  • ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยมุมมองเศรษฐกิจไทยใน 3-6 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจไทยน่าจะ
ขยายตัวได้แต่อาจไม่ได้เร่งตัวแรงเหมือนช่วงก่อนหน้า โดยคาดว่า GDP ไตรมาสที่ 3 และ 4 จะเติบโตที่ 4.3% และ 4.2% ตาม
ลำดับ และเฉลี่ยครึ่งปีหลังที่ 4.2% หลังจากที่เร่งแรงที่ 4.8% ในช่วงครึ่งปีแรก และคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2561 จะขยายตัว
4.5% จากทั้งการส่งออกและการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มชะลอลง ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนมาจากการลงทุนภาคเอกชนที่มีสัญญาณดีขึ้น จาก
การนำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ส่วนในปี 2562 นั้น สำนักวิจัยฯคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว
4.0%
  • 2 สำนักวิจัย แบงก์กสิกรไทยและไทยพาณิชย์เตือนหลายปัจจัยและสงครามการค้าเริ่มส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกมาก
ขึ้น ส่งออกไทยเดือนกันยายนหดตัวติดลบ 5.2%
  • "สมคิด" สั่งการ "พาณิชย์" คุมเข้มราคาสินค้า ป้องกันไม่ให้เกิดการฉกฉวยโอกาส "สนธิรัตน์" รับลูกสั่งกรมการค้า
ภายในวิเคราะห์ราคาดีเซลที่กระทบต้นทุนสินค้าแล้ว นัดถกวางแผนดูแลสินค้าเกษตร
  • ธปท.สรุปผลรับฟังความคิดเห็นเกณฑ์คุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ พบส่วนใหญ่เห็นด้วย ยืนยันจะไม่กระทบผู้กู้รายได้น้อย-
ไม่มีผลย้อนหลัง แต่พร้อมเปิดกว้างเลื่อนระยะเวลาบังคับใช้หากจำเป็นจริงๆ ระบุหลังพิจารณาแล้วจะออกเกณฑ์ใหม่ต้นเดือน พ.ย.นี้
ด้านประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยเห็นด้วยจำเป็นต้องออกมาตรการ แม้ยังไม่เห็นฟองสบู่ ชี้ต่างประเทศคุมเข้มกว่านี้ ทำให้มีเอ็นพี
แอลแค่ 0.2%
  • แบงก์พาณิชย์ทยอยขึ้นดอกเบี้ย สินเชื่อบ้าน ตั้งแต่ไตรมาส 3 พร้อมปรับแพ็คเกจใหม่ เน้นดอกเบี้ยลอยตัว แทนคงที่
แจงไม่เกี่ยวกับมาตรการคุมสินเชื่อของแบงก์ชาติ อ้างรองรับต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้น ตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น
  • สศก.จับตาสถานการณ์สินค้าเกษตร ไตรมาสสุดท้าย เตรียมออกสู่ตลาด ชี้น้ำดี ผลผลิตเพิ่ม หวั่นราคาวูบ ชาวสวน
ปาล์มห่วง พ.ย.นี้ ราคาดิ่งเพราะสต็อกทะลุ 4 แสนตัน นักวิชาการ ชี้แนวโน้มอ้อย ยาง ปาล์ม สับปะรด ราคาร่วงหนักเหตุอุปทาน
ล้นตลาด ในขณะที่ข้าวหอมมะลิแนวโน้มสดใส
  • รมว.คลังเอเปก ประเมินเศรษฐกิจโลกเริ่มผันผวนหนัก ปัจจัยลบรุมเร้า แต่ยังมั่นใจ ศก.ชาติเอเปกโตได้ 3.7-
4.1%
  • รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงปรับตัวดีขึ้น ท่ามกลางการใช้จ่ายในภาคธุรกิจที่แข็งแกร่ง และการบริโภค
ภาคเอกชนที่กระเตื้องขึ้น แม้การส่งออกจะชะลอตัวลงก็ตาม
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (23 ต.
ค.) เนื่องจากนักลงทุนแห่ซื้อเงินเยนซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างหนัก นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังอ่อน
ค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆเช่นกัน ซึ่งรวมถึงสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์เช่นกัน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 12 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (23 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนแห่เข้าซื้อทองคำใน
ฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างหนัก นอกจากนี้ การอ่อนค่าของดอลลาร์ยังเพิ่มความน่าดึงดูดให้กับ
ทองคำเช่นกัน
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนส.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ
(PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนต.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนต.ค.จากมาร์กิต, ยอดขาย
บ้านใหม่เดือนก.ย., รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ย., ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนก.
ย., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ