ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.74/79 แข็งค่าตามภูมิภาค นลท.คลายกังวลสงครามการค้า คาดกรอบพรุ่งนี้ 32.70-32.90

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 3, 2018 17:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.74/79 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.86 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากเมื่อเช้า หลังจากที่นักลงทุนเริ่มคลายความกังวลปัญหาสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ และจีนชั่วคราว ที่ล่าสุดการหารือระหว่าง 2 ผู้นำพบว่าสหรัฐฯ จะเลื่อนการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนออกไปอีก 90 วัน จากกำหนดเดิมในวันที่ 1 ม.ค.62 ทำให้นักลงทุนกล้าที่จะนำเงินไปลงทุนในส่วนอื่นมากขึ้น

"ก่อนหน้านี้ นักลงทุนถือดอลลาร์สหรัฐไว้เพราะเป็น Safe Heaven แต่พอนักลงทุนคลายกังวลกับกรณีของสงครามการ ค้าไปได้ ก็เริ่มจะหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ มากขึ้น จึงทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ รวมทั้งค่า เงินในภูมิภาค เงินบาทจึงแข็งค่าขึ้น" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70 - 32.90 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.33/35 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.63 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1350/1380 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1340 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,672.61 จุด เพิ่มขึ้น 30.81 จุด (+1.88%) มูลค่าการซื้อขาย 60,562 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,673.69 ลบ.(SET+MAI)
  • กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มองว่าสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่จะได้รับแรงหนุนจากข้อ
ตกลงระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่จะระงับการปรับขึ้นภาษีนำเข้า ขณะที่ทั้งสองฝ่ายพยายามจะลดความขัดแย้งด้วยการเจรจาครั้งใหม่และ
ตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงกันให้ได้ภายใน 90 วัน
  • ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือน พ.
ย.61 เพิ่มขึ้น 0.94% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ส่งผลให้ 11 เดือนแรกอัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ 1.13% โดยคาดว่าทั้งปีเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 1.12% และเป็นไป
ตามกรอบเป้าหมายของ ธปท.ที่ 1-4% ขณะที่คาดว่าปี 62 กรอบเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วง 0.7-1.7%
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนพ.ย.61 อยู่ที่ระดับ 53.1 เพิ่มขึ้น
จากเดือนก่อน จากความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นของผู้ประกอบการทั้งในภาคการผลิตและภาคที่มิใช่การผลิต โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในทุกองค์
ประกอบ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการและการผลิต นำโดยกลุ่มผลิตยานยนต์ และกลุ่มผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มี
ความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อที่ปรับดีขึ้น ประกอบกับมีการเร่งผลิตก่อนช่วงวันหยุดยาวในเดือนธันวาคม
  • รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เรียกประชุมคณะทำงานเตรียมการพิจารณาเข้าร่วม CPTPP ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกว่า 30 หน่วยงาน โดยเป็นการประชุมครั้งที่ 3 ซึ่งมีตนเองเป็นประธาน โดยได้รับทราบสถานะล่าสุดของความตกลง
CPTPP ว่าความตกลงจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 30 ธันวาคม 2561 ซึ่งปัจจุบันมีประเทศสมาชิก CPTPP ที่ให้สัตยาบันความตกลงฯ แล้ว
ทั้งสิ้น 7 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย และเวียดนาม
  • กระทรวงพาณิชย์เกาหลีใต้เปิดเผยในวันนี้ว่า เกาหลีใต้และจีนจะจัดประชุมระดับคณะทำงานที่กรุงปักกิ่งในวันนี้ เพื่อ
หาวิธีในการลดอุปสรรคทางการค้า และกระตุ้นการลงทุนระหว่างกัน
  • สำนักงานปริวรรตเงินตราแห่งรัฐของจีน (SAFE) ได้อนุมัติให้ให้นักลงทุนสถาบันต่างชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
(QFII) จำนวน 286 รายเข้าลงทุนในตลาดการเงินภายในประเทศ ณ สิ้นเดือนพ.ย. คิดเป็นมูลค่ารวม 1.0056 แสนล้านดอลลาร์
ในเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 300 ล้านดอลลาร์จากระดับของสิ้นเดือนต.ค
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ เปิดเผยผ่านทวิตเตอร์ว่า จีนได้ตกลงที่จะ "ลดและยกเลิก" การเรียกเก็บ
ภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐ จากระดับปัจจุบันที่ 40% ทั้งนี้ สื่อรายงานว่า ปธน.ทรัมป์ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในการทวีต
ข้อความเมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่ปธน.ทรัมป์และปธน.สี จิ้นผิงของจีนได้บรรลุข้อตกลงยุติข้อพิพาท
การค้าชั่วคราว ในการเจรจานอกรอบการประชุม G20 เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
  • นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ต้องเผชิญศึกหนักอีกครั้งในสัปดาห์นี้ หลังจากที่สมาชิกรัฐสภาอังกฤษไม่เห็นด้วยกับร่างข้อตกลง
การแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ของนางเทเรซา เมย์ และร่างปฏิญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่าง
สหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป (EU) ในช่วงหลัง Brexit ก่อนที่จะถึงการลงคะแนนเสียงครั้งสำคัญในสัปดาห์หน้า โดยนักการ
เมืองทุกฝ่าย เตรียมกดดันให้นายกฯ อังกฤษชี้แจงเหตุผลของการรับรองเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้ตกลงไว้กับ EU พร้อมกับเรียกร้องให้เผย
แพร่คำแนะนำด้านกฎหมายภายในของรัฐบาลที่สนับสนุนข้อตกลงดังกล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ