เวิลด์แบงก์ คงคาดการณ์ศก.ไทยปีนี้โต 3.8% ก่อนขยายตัวเพิ่มเป็น 3.9%ในปี 63 ถือว่ายังเติบโตในระดับน่าพอใจ แม้ชะลอจากปี 61

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 24, 2019 11:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นางวิคตอเรีย กวาวา รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวว่า จากรายงาน East Asia Pacific Update เดือน เม.ย.62 ภายใต้ชื่อ "การจัดการลมต้านเศรษฐกิจโลก" พบว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กในภูมิภาค นี้เศรษฐกิจยังสามารถเติบโตได้ในระดับที่น่าพอใจ โดยในส่วนของประเทศไทยยังคงคาดว่าเศรษฐกิจในปี 62 จะขยายตัว 3.8% และ 3.9% ในปีถัดไป ซึ่งชะลอลงเล็กน้อยจากในปี 61 ที่เติบโต 4.1%

สำหรับประเทศจีนยังคงใช้นโยบายเพื่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโต 6.2% ในปี 62-63 ลดลง จากระดับ 6.6% ในปี 61 ส่วนประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กในภูมิภาคนี้ คาดว่าเศรษฐกิจยังเติบโตในระดับที่น่าพอใจ โดยโครงการลง ทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของแต่ละประเทศจะช่วยให้เศรษฐกิจของ สปป.ลาวและมองโกเลียเติบโตได้ดีขึ้น เศรษฐกิจกัมพูชายังเติบ โตอย่างเข้มแข็งแม้จะช้าลงกว่าปีก่อนเนื่องจากความต้องการบริโภคจากภายนอกประเทศอ่อนตัวกว่าที่คาด ส่วนเมียนมา คาดว่านโยบาย การคลังแบบขยายตัว จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมียนมาในระยะสั้น สำหรับฟิลิปปินส์นั้น การอนุมัติงบประมาณประจำปี 62 ที่ล่าช้าอาจส่ง ผลให้ GDP ในประเทศไม่เติบโตเท่าที่ควรในปีนี้ ส่วนเวียดนามเศรษฐกิจชะลอตัวลงเล็กน้อย

นางวิคตอเรีย ระบุว่า จากรายงานในเดือนเม.ย.62 ชี้ว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลกผ่อนคลายลง การค้าโลก ปีนี้น่าจะเติบโตแบบชะลอตัวลง แต่อย่างไรก็ดี ความต้องการบริโภคภายในประเทศของภูมิภาคนี้ยังคงเข้มแข็ง ซึ่งช่วยทดแทนผลกระทบจาก การส่งออกที่ชะลอตัวลงได้

ทั้งนี้ ธนาคารโลกประเมินว่าปีนี้ เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะเติบโตได้ 6% ในปี 62-63 จากที่เคย เติบโตได้ 6.3% ในปี 61 ซึ่งเป็นผลจากแรงลมต้านเศรษฐกิจโลก และจากการที่จีนมีนโยบายชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจ ของภูมิภาคยังสามารถรอดพ้นจากความผันผวนทางการเงินเมื่อปี 61 ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากกรอบนโยบายที่มีประสิทธิภาพ และพื้นฐาน เศรษฐกิจที่มั่นคง รวมเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายด้านผลผลิต อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีความยืดหยุ่น และนโยบายการคลัง ที่เข้มแข็ง

"การที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ สามารถรับมือกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยืดหยุ่น จะช่วยให้ความยากจนลดลง ซึ่งถือ ว่าลดลงได้อย่างเป็นประวัติการณ์แล้ว และภายในปี 64 คาดว่าอัตราความยากจนขั้นรุนแรงจะลดลงต่ำกว่า 3%" นางวิกตอเรียระบุ

ด้านนายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี นี้ที่คาดว่าจะเติบโตได้ 3.8% นั้น เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านและเทียบกับในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้าแล้ว ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ดี เนื่อง จากไทยมีอุปสงค์ในประเทศเข้ามาช่วยทดแทนการชะลอตัวของการส่งออก ขณะเดียวกันการลงทุนภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนก็เริ่มกลับ เข้ามา

"เรามองว่าอุปสงค์ในประเทศ จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเดินไปข้างหน้าได้" นายเกียรติพงศ์ระบุ

ขณะที่การส่งออกไทยในปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ 5.7% ชะลอลงเล็กน้อยจากปี 61 และปี 63 คาดว่าจะเติบโตในระดับ 5.5% เป็นผลจากความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งประเด็นทางการค้า ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อการส่งออก ของหลายประเทศในภูมิภาค รวมทั้งไทยด้วยเช่นกัน

นายเกียรติพงศ์ ยังกล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศว่า ในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ภายหลังจากมีการเลือก ตั้งทั่วประเทศไปเมื่อวันที่ 24 มี.ค.62 นั้น หากเป็นไปอย่างล่าช้าจะส่งผลต่อโครงการลงทุนภาครัฐใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่วนโครงการ ลงทุนขนาดใหญ่ที่เริ่มเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างไปแล้วนั้นอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก นอกจากนี้ การลงทุนของภาคเอกชนเองอาจ ยังมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจทำให้การลงทุนต้องชะลอออกไปด้วย

สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลชุดปัจจุบันพยายามจะออกมาเพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระหว่างที่ยังไม่มีการจัด ตั้งรัฐบาลใหม่นั้น นายเกียรติพงศ์ มองว่า นโยบายด้านการเงินการคลังของไทยยังมีศักยภาพค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากหนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม ดังนั้นจึงยังมีช่องพอที่จะให้รัฐบาลใช้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงนี้

*เวิลด์แบงก์ประมาณการเศรษฐกิจไทย

                                        ปี 2562          ปี 2563
          GDP                             3.8%            3.9%
          การส่งออก                        5.7%            5.5%
          การนำเข้า                        7.1%            6.8%
          การบริโภคภาคเอกชน                4.3%            4.8%
          การใช้จ่ายภาครัฐ                   4.6%            4.3%
          เงินเฟ้อทั่วไป                      1.0%            1.0%
          หนี้สาธารณะต่อจีดีพี                 41.6%           44.4%

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ