(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.89/91 แนวโน้มแกว่งในกรอบ 31.80-32.00 จับตาประชุมกนง.บ่ายวันนี้-ติดตามคืบหน้าสงครามการค้าจีนและสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 8, 2019 14:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ทีระดับ 31.89/91 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจาก ช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.90 บาท/ดอลลาร์

ทิศทางของเงินบาทวันนี้ ตลาดคงให้ความสนใจไปที่ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงบ่ายวันนี้ แต่ตลาดยังคาดการณ์ว่า กนง.จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ 1.75% ไปก่อน ขณะเดียวกันต้องจับตาดูว่ารอบนี้ กรรมการ กนง.จะมีเสียงแตกในเรื่องการขึ้นและคงดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ด้วย

"บาทวันนี้คงแกว่งในกรอบแคบ คงต้องรอดูผลประชุม กนง. แต่ตลาดยังคาดว่าน่าจะคงดอกเบี้ยต่อ และต้องจับตาดูด้วยว่า รอบนี้ กรรมการจะเสียงแตกเพิ่มขึ้นหรือไม่" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.80-32.00 บาท/ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ตลาดเริ่มกลับมาให้ ความสนใจกับกรณีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนอีกครั้ง

THAI BAHT FIX 3M (7 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.72161% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.73293%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 31.8350 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.99/110 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 110.59 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1187/1209 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1205 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.9060 บาท/ดอลลาร์
  • จับตาศาลรัฐธรรมนูญ จะพิจารณาลงมติในสำนวนคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ขอให้ศาลฯ พิจารณาวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.2561 มาตรา 128 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 หรือไม่ ซึ่งผู้ตรวจ
การแผ่นดินเห็นว่าวิธีการคำนวณหาจำนวน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.
ส. มาตรา 128 ได้เพิ่มข้อความต่างๆ ทำให้การคำนวณผลลัพธ์เพื่อหา ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 มีปัญหา
  • นายกรัฐมนตรีขอคนไทยติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ระบุต้องระมัดระวังที่สุด เพราะทุกประเทศประสบปัญหา นายก
รัฐมนตรี กล่าวถึง สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกวันนี้ จะต้องมีความระมัดระวังมากที่สุด จึงอยากให้คน
ไทยทุกคนช่วยกันติดตาม เพราะมีปัญหาทุกประเทศ ทุกภูมิภาค และการเจริญเติบโตของจีดีพีของทุกประเทศลดลงจากที่ประมาณการณ์ไว้ทั้ง
หมด เกือบทุกประเทศได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนต่าง ๆ ซึ่งหลายประเทศมีปัญหา แต่ประเทศ
ไทยอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถพยุงได้อยู่
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยสูงสุด ใกล้เคียง 80% ของจีดีพี ผนึกธนาคารและสถาบันการ
เงิน 35 ราย ลุยขยายคลินิกแก้หนี้เฟส 2 เริ่ม 15 พ.ค.62
  • อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูต
พาณิชย์) ทั่วโลกติดตามและศึกษาผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ที่มีผลต่อตลาดส่งสินค้าของสินค้าไทย ทั้งผลกระทบเดิมและผล
กระทบใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตกรณีที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐขู่จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน 25% จากเดิมที่เก็บภาษี 0-
10% เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประชุมวันที่ 31 พ.ค. นี้ก่อนที่กระทรวงพาณิชย์จะออกมาตรการในการรับมือต่อไป รวมถึงการพิจารณาปรับเป้า
ส่งออกไทยในปี 62 จากเดิมที่ตั้งไว้ขยายตัว 8%
  • เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ซึ่งเป็นวันแรกที่ธนาคารเปิดรับลงทะเบียนให้กับลูกค้าเงินฝากออมทรัพย์ ที่ไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูล
รายได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์ให้กับกรมสรรพากร และพร้อมยอมถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของรายได้ดอกเบี้ย ซึ่งกำหนดให้มาลงทะเบียนตั้งแต่
วันที่ 7-14 พ.ค.นี้นั้น จากการสอบถามสาขาของธนาคารกสิกรไทย จำนวนครึ่งหนึ่งของสาขาในกรุงเทพฯ มีลูกค้ามาลงทะเบียนน้อยมาก
ส่วนบรรยากาศตามสาขาของธนาคารกรุงไทย มีลูกค้าเข้ามาสอบถามข้อมูลเท่านั้น ยังไม่มีการลงทะเบียน ด้านธนาคารกรุงเทพ และ
ธนาคารไทยพาณิชย์ ก็มีลูกค้ามาลงทะเบียนน้อยมากเช่นเดียวกัน
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเท
รด) ไตรมาส 1 ปี 62 ว่า ดัชนีอยู่ที่ระดับ 51.5 ลดลงเล็กน้อยจาก 52.1 ในไตรมาส 4 ปี 61 โดยผู้ประกอบการขนาดใหญ่ทั้งส่วน
กลางและภูมิภาคมองว่าธุรกิจโมเดิร์นเทรดประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ขยายตัวไม่ทั่วถึง ส่งผลให้กำลังซื้อยังไม่กลับมาเป็นปกติ ประกอบกับ
ต้นทุนสินค้าอยู่ในระดับสูงและได้รับผลกระทบจากการเมืองที่ยังไม่นิ่ง รวมทั้งสถานการณ์ฝุ่นพิษพีเอ็ม 2.5 ,ภัยแล้งที่มาเร็วและมีความ
รุนแรงทำให้เกษตรกรมีต้นทุนในการจัดหาน้ำเพิ่มขึ้น, ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น, อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวสูงขึ้น, ราคาสินค้าเกษตรยังคง
อยู่ในระดับไม่สูง
  • ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า จีนและสหรัฐต้องเร่งคลี่คลายความตึงเครียดด้านการค้า
ระหว่างสองประเทศ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวจะส่งผลคุกคามเศรษฐกิจโลก

ในมุมมองของ IMF นั้น ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ความตึงเครียดด้านการค้าจะต้องได้รับการแก้ไขในแนวทางที่ทุกฝ่ายพอใจ เนื่องจากความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐและจีนกำลังเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจโลก

  • สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน
(JOLTS) ซึ่งพบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน พุ่งขึ้น 346,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 7.5 ล้าน
ตำแหน่งในเดือนมี.ค. โดยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานพุ่งขึ้นในภาคก่อสร้าง และขนส่ง

ทั้งนี้ ตัวเลข JOLTS นับเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสนใจ โดยมองว่าเป็นมาตรวัดภาวะตึงตัวในตลาด แรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณานโยบายการเงิน และอัตราดอกเบี้ยของเฟด

  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (7 พ.ค.) โดย
ได้แรงหนุนจากข้อมูลของกระทรวงแรงงานสหรัฐซึ่งระบุว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานพุ่งขึ้นในเดือนมี.ค. ขณะที่ดอลลาร์ออสเตรเลียแข็ง
ค่าขึ้นหลังจากธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้ สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าธนาคารกลางจะ
ปรับลดดอกเบี้ยลง
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (7 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะ
สินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐและตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างหนัก ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการ
ค้าระหว่างสหรัฐและจีน
  • สหรัฐและจีนมีกำหนดกลับมาเจรจาการค้าอีกครั้งในวันที่ 9-10 พ.ค.ที่กรุงวอชิงตัน หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำการเจรจา
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่กรุงปักกิ่งของจีน
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัส กล่าวว่า เขามีความมั่นใจว่าสหรัฐและจีนจะสามารถบรรลุข้อตกลงทาง
การค้า
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาผู้
ผลิต (PPI) เดือนเม.ย., ดุลการค้าเดือนมี.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมี.ค. และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.
ย.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ