ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.57 แข็งค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า หลังมีแรงขายดอลล์ จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯคืนนี้ มองกรอบสัปดาห์หน้า 31.50-31.65

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 10, 2019 17:43 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 31.57 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 31.64/70 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.55-31.75 บาท/ดอลลาร์

"เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องและแข็งค่ากว่าภูมิภาค หลังจากหลุดแนวรับสำคัญที่ 31.65 หลังจากนั้นก็มีแรงขายดอลลาร์อย่างต่อ เนื่อง" นักบริหารเงินระบุ

สำหรับสัปดาห์หน้าประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทไว้ระหว่าง 31.50-31.55 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้จะมีรายงาน ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย.ของสหรัฐฯ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.81 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 109.70/110.20 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1232 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 1.1210/1250 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,648.69 จุด เพิ่มขึ้น 1.89 จุด, +0.11% มูลค่าการซื้อขาย 49,475.68 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,591.66 ลบ.(SET+MAI)
  • คณะทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตัดสินใจปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ สู่ระดับ
25% จากระดับ 10% ท่ามกลางความตึงเครียดด้านการค้าที่สูงขึ้นระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งเป็นสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก
  • ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงกรณีที่สหรัฐฯเตรียมปรับขึ้นภาษีสินค้า
จากจีนเป็น 25% ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค.62 (ตามเวลาสหรัฐฯ) ว่า ถือเป็นข่าวช็อคโลกอย่างมาก เพราะโลกคาดการณ์ว่า ทั้ง 2 ประเทศ
น่าจะเจรจากันได้ และก่อนหน้านี้ สัญญาณต่างๆ ด้านเศรษฐกิจดีขึ้น แต่การขึ้นภาษีจริงๆ จะทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอลง กระทบต่อการ
ส่งออก การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจไทย โดยอาจทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวได้ต่ำกว่า 3.5% จากเดิมที่คาดจะขยายตัว 3.8%
  • รมช.พาณิชย์ กล่าวถึงการที่สหรัฐฯ เตรียมปรับขึ้นภาษีสินค้าจีนเพิ่มเติมเป็น 25% ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. ว่า การเตรียมขึ้น
ภาษีสินค้าครั้งนี้ เป็นกลุ่มสินค้าเดิม แม้สหรัฐฯจะขึ้นภาษีเป็น 25% ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการค้าไทยกับจีนและกับสหรัฐฯ ในภาพรวม
มากนัก แต่อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงไปอีก และจะส่งผลกระทบทางอ้อมกับไทย ซึ่งพึ่งพาการส่งออก
  • ผู้แทนจีนได้ออกแถลงการณ์ว่า จีนเสียใจเป็นอย่างยิ่งกับการที่สหรัฐได้ปรับขึ้นภาษีสินค้าจีนเพิ่มเติมเป็น 25% วงเงิน 2
แสนล้านดอลลาร์ จากระดับ 10%
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับคาดการณ์ผลกระทบจากภัยแล้งที่มีต่อพืชเกษตรที่กำลังเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้ง จากเดิมที่เคย

ประเมินผลกระทบของภัยแล้งในปี 2562 (ณ เดือนมีนาคม) ว่าน่าจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม โดยคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

ราว 15,300 ล้านบาท แต่ครั้งนี้จะเป็นการปรับคาดการณ์กรอบเวลาที่เกิดภัยแล้งเพิ่มเติมว่า ภัยแล้งอาจกินเวลาลากยาวออกไปอีกราว

2 เดือนคือ มิถุนายน-กรกฎาคม ซึ่งอาจกระทบต่อมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นราวเดือนละ 1,000 ล้านบาท จนอาจประเมิน

ได้ว่าหากภัยแล้งลากยาวไปจนถึงเดือนก.ค.2562 ก็อาจทำให้เกิดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมที่ราว 17,300 ล้านบาท


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ