พาณิชย์เผยโอกาสทองการส่งออกสัตว์ปีกหลัง Brexit เชื่อไทยได้รับโควตาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 13, 2019 10:44 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามสถานการณ์การถอนตัว ของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับแก้ไขตารางข้อผูกพันภาษีที่ไทยและประเทศอื่นจะ ได้รับการจัดสรรจากสหภาพยุโรป (EU 27) และสหราชอาณาจักร (UK) ภายหลังจาก Brexit

ซึ่งเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2562 สหภาพยุโรปได้ออกประกาศระเบียบการจัดสรรโควตา Regulation (EU) 2019/216 กำหนดสัดส่วนโควตาระหว่าง EU 27 และ UK โดยสัดส่วนโควตาที่จัดสรรภายใต้กฎระเบียบนี้ จะมีผลบังคับใช้ภายหลังจาก Brexit

ทั้งนี้ รายละเอียดการจัดสรรโควตาในส่วนของสินค้าสัตว์ปีกที่ไทยสามารถใช้ได้มีดังนี้

(หน่วย : ตัน/ปี)

รายการสินค้า     ปริมาณโควตา CSQ     ปริมาณโควตา CSQ ที่ไทยได้รับ   ปริมาณการส่งออกของไทยเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี
               ที่ไทยได้รับ (ตัน/ปี)      จัดสรรภายหลัง Brexit                 (2559-2561)
                    EU28              EU27       UK              EU27        UK       รวม
ไก่หมักเกลือ
(021099)           92,610            68,385    24,225           74,148     8,816     82,964
ไก่แปรรูป
(160232)          176,133           118,622    57,511           57,792   143,515    201,307
เป็ดแปรรูป
(160239)           14,710             9,150     5,560            3,007     2,689      5,696
หมายเหตุ:
- Country Specific Quota (CSQ)  คือ โควตาที่ได้รับการจัดสรรเป็นการเฉพาะรายประเทศ
- Erga Omnes คือ โควตาตารวมทุกประเทศ ซึ่งไทยสามารถใช้ได้
- EU 27 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เน
เธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย
สโลวะเกีย โรมาเนียและบัลแกเรีย
          จากสถิติการส่งออกสัตว์ปีกไทยเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี (ตั้งแต่ปี 2559-2561) เมื่อเทียบกับการจัดสรรโควตาหลัง Brexit พบ
ว่า
          - สินค้าไก่หมักเกลือ มีโอกาสขยายตลาดใน UK ได้อีกมาก เนื่องจากที่ผ่านมาไทยส่งออกไป UK ปริมาณ 8,816 ตัน น้อย
กว่าปริมาณโควตาที่จะได้รับหลัง Brexit ซึ่งมีปริมาณ 24,225 ตัน ส่วนตลาด EU27 คาดว่าประเทศไทยจะได้รับผลกระทบในระดับหนึ่ง
เนื่องจากปริมาณการส่งออกสูงกว่าปริมาณที่ได้รับจัดสรร
          - สินค้าไก่แปรรูป พบว่าปริมาณการส่งออกไป UK สูงกว่าปริมาณโควตาที่จะได้รับการจัดสรรเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกัน
ปริมาณส่งออกไป EU27 น้อยกว่าปริมาณที่ได้รับจัดสรรเช่นเดียวกัน อาจทำให้ปริมาณการส่งออกในภาพรวมลดต่ำลง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะ
เร่งเจรจาปรับยอดโควตาของ UK ให้เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การส่งออกที่แท้จริง
          - สินค้าเป็ดแปรรูป พบว่าปริมาณการส่งออกยังไม่มากนัก โดยไทยส่งออกไปทั้ง EU27 และ UK ปริมาณรวมเพียง 5,696
ตัน น้อยกว่าปริมาณโควตาที่ไทยได้รับการจัดสรรจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะขยายตลาดไปยัง EU27 และ UK มากขึ้น
          นายอดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าสัตว์ปีกเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากบราซิล สหรัฐ
อเมริกา และจีน โดยไทยส่งออกไป EU28 เป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น การส่งออกของไทยไป EU28 พบว่า UK เป็นผู้นำเข้าสินค้าสัตว์ปีก
จากไทยมากที่สุด หากมีการ Brexit แล้ว UK จะไม่ใช้กฎระเบียบมาตรฐานเดียวกับ EU27 ดังนั้นการเร่งผลักดันโควตาที่ไทยได้รับจาก
EU27 และ UK ให้สะท้อนปริมาณการค้าที่แท้จริงระหว่างไทย EU และ UK จะเป็นประโยชน์ต่อการค้าสัตว์ปีกไทยมากที่สุด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ