ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.56 ตลาดรอดูสัญญาณดอกเบี้ยจากกนง.-วิตกการเมืองสหรัฐ มองกรอบวันนี้ 30.45-30.65

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 25, 2019 09:17 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 30.56 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วานนี้ที่ระดับ 30.53 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคออกมาแย่กว่าที่ ตลาดคาดการณ์ไว้ และมีปัจจัยทางการเมืองกรณีที่จะมีการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกจากตำแหน่ง

ส่วนปัจจัยในประเทศรอดูผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตาม เดิม และจะปรับลดในการประชุมครั้งหน้า

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 30.45-30.65 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (24 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.40279% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.34882%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 107.10 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 107.71 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1009 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1000 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.5180 บาท/ดอลลาร์
  • รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงยอดจดทะเบียนธุรกิจ จัดตั้งใหม่ทั่วประเทศเดือนสิงหาคม 2562 จำนวน
5,973 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2562 จำนวน 6,459 ราย ลดลง 486 ราย คิดเป็น 8% และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม
2561 จำนวน 6,446 ราย ลดลง 473 ราย คิดเป็น 7% ธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 547
ราย คิดเป็น 9% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 344 ราย คิดเป็น 6% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร 172
ราย คิดเป็น 3%
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนก.ค.ในวันนี้ โดยระบุว่า กรรมการ BOJ ได้หารือถึง
ความจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการรับมือล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงขาลงของเศรษฐกิจและตัวเลขเงินเฟ้อ
  • ผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐลดลงสู่
ระดับ 125.1 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดในรอบ 9 เดือน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 133.5
จากระดับ 134.2 ในเดือนส.ค.
  • ผลสำรวจของเอสแอนด์พี คอร์โลจิก เคส ชิลเลอร์ ระบุว่า ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐเพิ่มขึ้น 3.2% ในเดือนก.
ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.2% เช่นกันในเดือนมิ.ย.
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 ก.ย.)
หลังจากผลสำรวจของสถาบัน Conference Board ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงหนักสุดในรอบ 9 เดือน ขณะที่นัก
ลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจหลายรายการของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (24 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงิน
ดอลลาร์ นอกจากนี้ การร่วงลงของตลาดหุ้นนิวยอร์ก และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐที่อ่อนแรงลง ยังส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อ
ทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ประกาศเริ่มกระบวนการไต่สวนอย่างเป็นทางการ เพื่อถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัม
ป์ ออกจากตำแหน่ง หลังจากมีรายงานว่า ปธน.ทรัมป์ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับนายโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน เพื่อกดดันให้
มีการสอบสวนนายโจ ไบเดน อดีตรองปธน.สหรัฐ ซึ่งเป็นคู่แข่งคนสำคัญของปธน.ทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยหน้า โดยการ
กระทำดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการเปิดทางให้รัฐบาลต่างชาติเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้งในสหรัฐ
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลงในวันนี้ หลังมีข่าวว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเตรียมออกแถลงการณ์
เกี่ยวกับการถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีการติดต่อกับรัฐบาลต่างชาติเพื่อให้มีการแทรกแซงการเลือก
ตั้งในสหรัฐ
  • นักลงทุนยังวิตกกังวลว่า การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนอาจสะดุดลง หลังจากปธน.ทรัมป์ได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์จีน
ในเวทีการประชุมสมัชชาใหญ่ UN เมื่อวานนี้ว่า จีนมีการดำเนินการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และเขาจะไม่ยอมรับข้อตกลงการค้าที่ทำให้
ชาวอเมริกันเสียเปรียบ
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่เดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2562, ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย
(pending home sales) เดือนส.ค., ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนส.ค., การใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือน
ส.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ