(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.23 ตลาดยังรอความชัดเจนการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน มองกรอบวันนี้ 30.20-30.30

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 14, 2019 11:12 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 30.23 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วานนี้ที่ระดับ 30.24 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดรอดูความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน หลังถ้อยแถลงของประธานธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) ต่อสภาคองเกรสว่าประเมินภาวะเศรษฐกิจสหรัฐค่อนข้างดี ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดอาจไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยอีก

"บาทแข็งค่าจากเย็นวานนี้เล็กน้อย แต่ดอลลาร์เทียบกับสกุลเงินหลักยังผสมผสาน นักลงทุนรอดูความคืบหน้าการเจรจายุติ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 30.20-30.30 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (13 พ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.18466% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.17865%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 30.2075 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 108.79 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 108.91 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1001 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1021 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.2950 บาท/ดอลลาร์
  • รมว.คลัง ยอมรับปิดโรงงานจำนวนมากในไทยเพราะเศรษฐกิจโลก และค่าเงินบาทที่แข็งหนัก รัฐบาลพยายามออก
มาตรการช่วยเหลือทั้งโรงงานและแรงงานพร้อมติดตามเศรษฐกิจปีหน้าใกล้ชิด
  • "ชิมช้อปใช้เฟส 3" เปิดลงทะเบียนดีเดย์วันแรก 14 พ.ย. 1.5 ล้านสิทธิ วันละ 2 รอบ ส่วนผู้สูงอายุ 5 แสนสิทธิ
เริ่ม 17 พ.ย.
  • รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า จากการจัดอันดับดัชนีความสามารถทางการแข่งขัน
ระดับโลกประจำปี 2562 ที่จัดโดยเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (WEF) แม้ในปีนี้ประเทศไทยจะมีคะแนนรวมที่สูงกว่าเดิม แต่ประเทศคู่แข่งมี
คะแนนเพิ่มขึ้นมากกว่าส่งผลให้ไทยถูกจัดอันดับอยู่ที่ 40 จากเดิมอันดับ 38 ในปี 2561 ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องยกระดับขีดความ
สามารถในการแข่งขันให้เพิ่มยิ่งขึ้น
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยรายงานเบื้องต้นในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ของ
ญี่ปุ่น ขยายตัว 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำสถิติขยายตัวติดต่อกัน 4 ไตรมาส โดยได้ปัจจัยหนุนจากการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มมากขึ้นก่อนที่
มาตรการปรับขึ้นภาษีการบริโภคจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. รวมทั้งการใช้จ่ายด้านทุนที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน
ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้กล่าวแถลงการณ์ว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจร่วมของ
สภาคองเกรสเมื่อวานนี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะมีการขยายตัวที่ยั่งยืน โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด นอกจากนี้ ยัง
ส่งสัญญาณว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไป ตราบใดที่ข้อมูลซึ่งได้รับมานั้น ยังคงสอดคล้องกับมุมมองของเฟดที่ว่า เศรษฐกิจจะมีการขยาย
ตัวปานกลาง, ตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่ง และอัตราเงินเฟ้ออยู่ใกล้เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 พ.
ย.) หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แถลงต่อสภาคองเกรสเมื่อวานนี้
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 พ.ย.) เนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การค้าระหว่างสหรัฐและ
จีน รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับการไต่สวนเพื่อถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ออกจากตำแหน่ง เป็นปัจจัยหนุนให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำ
ในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลงในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนพากันซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลาง
ความกังวลเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต
(PPI) เดือนต.ค., ยอดค้าปลีกเดือนต.ค., ราคานำเข้าและส่งออกเดือนต.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State
Manufacturing Index) เดือนพ.ย. จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.
ย.
  • นักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยขณะนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถสรุปข้อตกลงในการ
เจรจาการค้าเฟสแรก ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์กล่าวว่า สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน หากสหรัฐไม่สามารถบรรลุข้อ
ตกลงการค้ากับจีน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ