(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.19/22 แข็งค่าจากแรงขายดอลล์ หลัง FOMC คงดอกเบี้ย มองกรอบ 30.15-30.25

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 12, 2019 11:12 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 30.19/22 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.31 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าจากเมื่อเย็นวาน ซึ่งน่าจะเป็นผลจากการขายดอลลาร์ออกมา หลังจากที่การประชุมคณะกรรมการ กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม และส่งสัญญาณว่าจะไม่มีการปรับอัตรา ดอกเบี้ยอีกไปตลอดทั้งปี 2563

"บาทกลับมาแข็งค่า น่าจะเป็นผลจากแรงขายดอลลาร์ เพราะเมื่อคืน FOMC คงดอกเบี้ย และส่งสัญญาณว่าปีหน้าจะไม่มีการ ปรับดอกเบี้ยอีก แนวโน้มเงินบาทวันนี้คงทรงๆ แต่อยู่ในทิศทางแข็งค่า" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.15-30.25 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (11 ธ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.08271% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.10223%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 30.2125 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.50 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 108.69 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1130 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1083 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.3060 บาท/ดอลลาร์
  • รมว.คลังเปิดเผยว่า ไตรมาส 4 ปีนี้ภาวะเศรษฐกิจไทย ได้รับแรงหนุนจากการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ที่จะมีวงเงินลงทุน
ถึง 100,000 ล้านบาท ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จึงมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้จะขยายตัวในลักษณะชะลอตัวแต่ยืน
ยันว่าจะไม่ขยายตัวแบบถดถอย เพราะไม่ใช่ว่าปีนี้เผาหลอก ปีหน้าเผาจริง เพราะตอนนี้ก็ยังไม่เฉียดเมรุเลย ส่วนปีหน้ามั่นใจว่าภาวะ
เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้มากกว่า 3%
  • "ออมสิน" ชี้อสังหาฯปีหน้า เสี่ยงลงทุนคอนโดเหตุซัพพลายล้น แนะหันมาทำแนวราบ-บ้านมือสองรองรับกลุ่มกำลังซื้อน้อย-
ตลาดสูงวัย ด้านนักพัฒนา อสังหาฯหวังบ้านดีมีดาวน์ ดูดสต็อกเหลือขายมากกว่าครึ่ง เตือนระวังเปิดโครงการใหม่ปีหน้า ขณะครม.ต่อเว้น
ภาษีเงินดาวน์บ้าน 50,000 บาท
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน
โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาพลังงาน ขณะที่สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอ
สินเชื่อเพื่อการจำนองเพิ่มขึ้น 3.8% ในสัปดาห์ที่แล้ว แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองปรับตัวขึ้น
  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ย
ระยะสั้นที่ระดับ 1.50-1.75% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ หลังจากที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 3
ครั้งในปีนี้

นอกจากนี้ เฟดยังได้ส่งสัญญาณไม่มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตลอดทั้งปี 2563 ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำ

แถลงการณ์ของเฟดระบุว่า นโยบายการเงินในปัจจุบันมีความเหมาะสมสำหรับการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ ตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่ง และอัตราเงินเฟ้ออยู่ใกล้ระดับ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายของเฟด

  • ประธานเฟดได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมว่า "ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงมีแนวโน้มที่น่าพอใจ แม้
เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความเสี่ยงอยู่ก็ตาม สำหรับการดำเนินนโยบายของเราตลอดปีที่ผ่านมานั้น เราเชื่อว่า นโยบายการเงินของ
เฟดเป็นผลดีต่อชาวอเมริกัน ส่วนการดำเนินนโยบายในปัจจุบันนั้น คาดว่าจะยังคงอยู่ในทิศทางที่เหมาะสม ตราบเท่าที่เศรษฐกิจยังคง
ดำเนินไปด้วยดี"
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (11 ธ.ค.)
หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุด พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยยาวจนถึงสิ้นปี
หน้า
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (11 ธ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่นักลง
ทุนจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการซื้อขายก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติอัตรา
ดอกเบี้ย
  • ซีอีโอของเจพีมอร์แกน เชส คาดว่า สหรัฐและจีนจะทำข้อตกลงการค้าเฟสแรก อย่างไรก็ดี นายไดมอนเตือนว่า หาก
สหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อตลาดต่างๆ และการขยายตัวของเศรษกิจสหรัฐ
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ย., จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนพ.ย., ราคานำเข้าและส่งออกเดือนพ.ย. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนต.ค.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ