ภาวะตลาดเงินบาท: ระหว่างวันแตะ 31.47 อ่อนค่าในรอบกว่า 8 เดือน จากหลายปัจจัยลบกดดัน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 20, 2020 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 31.45 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิด ตลาดเช้าที่ระดับ 31.20/25 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 31.22 - 31.47 บาท/ดอลลาร์ โดยอ่อน ค่าสุดในรอบ 8 เดือนเศษนับตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย.62 ไปแตะที่ระดับ 31.47 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากหลายปัจจัยลบ มารุมเร้า

"บาทผันผวนมาก ระหว่างวันไปทำนิวไฮในรอบ 8 เดือนเศษเนื่องจากมีหลายปัจจัยลบกดดัน ทั้งปัญหาไวรัสโควิด-19 การ ปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีน ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯออกมาดี" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดวันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.35 - 31.55 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 112.01 บาท/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 110.22/27 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0797 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0770/0810 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,491.24 จุด ลดลง 14.30 จุด, -0.95% มูลค่าการซื้อขาย 75,546.15 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,376.94 ล้านบบาท (SET+MAI)
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2562
ขยายตัว 1.6% ชะลอลงจากการขยายตัว 2.6% ในไตรมาสก่อนหน้า (%YOY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตร
มาส 4 ปี 62 ขยายตัวจากไตรมาส 3 ของปี 62 ที่ 0.2% (%QoQ SA) นั่นคือกล่าวได้ว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจ มิใช่การลดลงหรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยแต่อย่างใด
  • รมว.คลัง เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไปเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยาก โดยยังต้องติดตามเศรษฐกิจโลกที่ยังมี
ความไม่แน่นอน ไวรัสโควิด-19 คาดหวังว่าจะหยุดการแพร่ระบาดได้ในอนาคต และส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงมิ.ย.-ก.
ค.63 ซึ่งในช่วงนี้จะต้องดูแลไม่ให้เศรษฐกิจถูกกระทบมากเกินไป และสิ่งที่สำคัญที่ต้องดำเนินการ คือ การเตรียมความพร้อมหาก
สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการกลับมาฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยได้
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนม.ค.63 อยู่
ที่ระดับ 92.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 91.7 ในเดือนธ.ค.62 โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการกลับมา
เร่งปริมาณการผลิต หลังจากติดวันหยุดต่อเนื่องในเดือนธ.ค.62 ทำให้ทุกองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
หน้า ทั้งดัชนีฯ ยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
  • โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปใน
เดือนม.ค.63 ว่า ส่งออกได้ 65,295 คัน คิดเป็น 76.69% ของยอดการผลิตเพื่อส่งออก โดยลดลง 19.96% จากเดือนม.ค.62 ทั้งนี้
การส่งออกลดลงเกือบทุกตลาด เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัวลง ยกเว้นตะวันออกกลาง โดยมีมูลค่าการส่งออก
32,271.37 ล้านบาท ลดลง 20.94% จากม.ค.62
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดการประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (กกร.) รอบหน้า
เดือน มี.ค.อาจจะมีการทบทวนประมาณการตัวเลขทั้งอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ตัวเลขการส่งออก เนื่องจากขณะนี้มีหลาย
ปัจจัยลบรุมเร้า โดยเฉพาะสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภัยแล้ง และการเมืองในประเทศ
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบหายใจรายหนึ่งของจีน คาดการณ์ว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 อาจคงอยู่ต่อไปเป็น
เวลานานเหมือนไข้หวัดใหญ่
  • ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ทีมผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติของ WHO กำลังทำงานร่วมกับผู้

เชี่ยวชาญชาวจีน เพื่อค้นหาคำตอบสำหรับสิ่งที่ยังไม่ทราบเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 พร้อมเสริมว่า ทีมดังกล่าวก่อตั้งขึ้นภายใต้เครือข่ายเตือน

ภัยและรับมือโรคระบาดทั่วโลก (Global Outbreak Alert & Response Network หรือ GOARN)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ