(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.06 ทรงตัวจากเย็นวันศุกร์ จับตาตัวเลข GDP-แนวโน้มเศรษฐกิจไทยจากสภาพัฒน์วันนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 18, 2020 11:09 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.06 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวัน ศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.06/07 บาท/ดอลลาร์

"เช้านี้เงินบาททรงตัวจากท้ายตลาดเย็นวันศุกร์ บางส่วนอาจจะมี Flow จากการส่งออกทองคำหลังราคาทองปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมามีทั้งดีและไม่ดี ยอดค้าปลีกแย่กว่าคาด ขณะที่การผลิตของนิวยอร์ก ติดลบน้อยกว่าคาด"นักบริหาร เงินระบุ

สำหรับทิศทางวันนี้ต้องจับตาดูการประกาศ GDP ไตรมาส1/63 ของสภาพัฒน์ และการคาดการณ์เศรษฐกิจ รวมทั้งทิศ ทางดอกเบี้ย นอกจากนี้ประเด็นต่างประเทศต้องติดตามความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน และการคลายล็อกดาวน์จากปัญหา การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของนานาประเทศทั่วโลก

นักบริหารเงิน ประเมินการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในกรอบ 32.00 - 32.15 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (15 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.49721% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.71760%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 32.0425 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.13 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่อยู่ที่ระดับ 107.00/10 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0821 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่อยู่ที่ระดับ 1.0804/0826 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.0820 บาท/ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (18-22 พ.ค.) ที่ 31.90-32.30 บาท
ต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยสำคัญในประเทศ ได้แก่ ข้อมูลจีดีพีไตรมาส 1/63 ผลการประชุมนโยบายการเงินของกนง. และตัวเลขการส่งออก
ของไทยเดือนเม.ย.
  • สภาหอการค้าไทยเตรียมประชุมรอบสุดท้าย 21 พ.ค.นี้ ก่อนเคาะหนุนเข้าร่วม 'ซีพีทีพีพี' หรือไม่ ด้านสภาผู้ส่งสินค้าทาง
เรือฯ ก็ร่วมถกหลังสมาชิกเสียงแตกมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เผย 'ซีพีทีพีพี' มีรายละเอียดและซับซ้อนกว่าความตกลงทางการค้า หรือ
เอฟทีเออื่นๆ

-รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ได้เตรียมแผนฟื้นฟู การท่องเที่ยวร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) รองรับเมื่อสถานการณ์การโรคโควิด-19 คลี่คลายลงแล้ว เพื่อฟื้นฟูภาคการ ท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสให้กลับมาสร้างรายได้ ช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว โดยการท่องเที่ยว หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง มีแผนการฟื้นฟูที่จะรองรับการใช้ชีวิตตามวิถีใหม่ หรือ New normal ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับ สุขภาพความสะอาด และความปลอดภัยเป็นหลัก พร้อมนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆด้าน

  • ติดตามการรายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทยไตรมาส 1/2563 และการประชุมคณะกรรมการนโยบาย
การเงินของไทยในสัปดาห์นี้
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของสหรัฐดิ่งลง 11.2% ในเดือนเม.ย. ซึ่ง
เป็นการทรุดตัวลงหนักที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเมื่อ 101 ปีก่อน หลังจากร่วงลง 5.4% ในเดือนมี.ค.
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจลดลง 0.2% ในเดือนมี.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์
ของนักวิเคราะห์ หลังจากลดลง 0.5% ในเดือนก.พ. โดยการปรับตัวลงของสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากการที่ห่วงโซ่
อุปทานทั่วโลกได้หยุดชะงักลงจากการที่รัฐบาลออกมาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
  • ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวสู่ระดับ 73.7 ในเดือนพ.ค.
จากระดับ 71.8 ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 65.0
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยในรายงานด้านเสถียรภาพการเงินรอบครึ่งปีว่า ภาคการเงินของสหรัฐมีแนวโน้ม
เปราะบางอย่างมากในระยะใกล้ ขณะที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไป
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดไม่ละความพยายามในการพยุงเศรษฐกิจสหรัฐให้รอดพ้นจากผลกระทบ
ของไวรัสโควิด-19 พร้อมกับยืนยันว่า เฟดสามารถอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดการเงินอย่างไม่จำกัด เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่
ระบาดในครั้งนี้

นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มฟื้นตัวจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่ แพร่ระบาด แต่กระบวนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนั้น อาจต้องใช้เวลาจนถึงสิ้นปี 2564

  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย

เดือนพ.ค. ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านยอดขายบ้านมือสองเดือนเม.ย. และบันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 28-29 เม.ย. นอกจากนี้ตลาด

อาจรอติดตามการรายงานดัชนี PMI เดือนพ.ค.(เบื้องต้น) ของสหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่น รวมถึงสัญญาณที่สะท้อนความเสี่ยงของการ

ระบาดรอบสอง หลังการเปิดเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศด้วยเช่นกัน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ