(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.68 แข็งค่าเกาะกลุ่มค่าเงินในตลาดโลก หลังเฟดไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 18, 2021 11:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 30.68 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวาน นี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.79 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทกลับมาแข็งค่าเกาะกลุ่มกับค่าเงินอื่นๆ ในตลาดโลก หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีเซอร์ไพร์สตลาดเล็กๆ เนื่องจากยังไม่เลื่อนแผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้นมาเป็นปี 2022 จากแผนเดิมในปี 2023 ขณะที่มติที่ประชุมเฟดยังคงอัตรา ดอกเบี้ยนโยบาย และการทำ QE ในรอบนี้ไว้เท่าเดิม

"เฟดมี surprise ตลาดเล็กๆ ตอนแรกตลาดมองว่าเฟดจะเลื่อนแผนปรับดอกเบี้ยเร็วขึ้นมาเป็นปี 2022 จากแผนเดิม 2023 แต่สุดท้ายแล้ว เฟดก็มีมติจะขึ้นดอกเบี้ยตามแผนเดิมที่วางไว้คือในปี 2023" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.60 - 30.75 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (17 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.29943% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.32939%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 30.77250 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.04 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 109.08 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1968 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1907 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 30.798 บาท/ดอลลาร์
  • ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ภายหลังนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรม
ว.สาธารณสุข (สธ.) ประกาศเตรียมเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประมาณไตรมาส 4 ของปีนี้ ททท.ยืนยันว่าสามารถนำนักท่อง
เที่ยวเข้าไทยได้เดือนละ 2 ล้านกว่าคน หรือ 3 เดือนสุดท้าย (ต.ค.-ธ.ค.2564) จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยประมาณ
รวม 6.5 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณ 8.5 แสนล้านบาท
  • 'คลัง' หารือแบงก์ชาติจ่อรื้อเงินกู้ซอฟต์โลนครอบคลุมธุรกิจขนาดใหญ่ด้วย ไอเอ็มเอฟแนะรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจต่อเนื่อง 'อาคม' เผยใกล้สรุปโครงการ 'เราผูกพัน' ช่วยเหลือข้าราชการ 1 ล้านคน
  • ขุนคลัง เผยเตรียมผุดโครงการ "เราผูกพัน" เยียวยาข้าราชการผู้มีรายได้น้อยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน
กว่า 1 ล้านคน แย้มอาจต่อ "คนละครึ่ง 3" พร้อมคาดหวังจีดีพี ปี 64 จะโตได้ 4% แม้ไอเอ็มเอฟ ประเมินไว้แค่ 2.6%
  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ย
ระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้ พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงปี 2566 แม้มี
การคาดการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นก็ตาม
  • ธนาคากลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2564 และ 2565 สู่
ระดับ 6.5% และ 3.3% ตามลำดับ ขณะที่ปรับลดการขยายตัวของปี 2566 สู่ระดับ 2.2% และเฟดได้คงคาดการณ์อัตราการขยาย
ตัวในระยะยาวที่ระดับ 1.8%
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แถลงหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนว
โน้มดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยระบุว่า อุปสงค์ที่แข็งแกร่งอย่างมากเป็นปัจจัยหนุนให้เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจทั่วโลกด้วย

ในการประชุมครั้งนี้ เฟดระบุว่า จะยังคงซื้อพันธบัตรรัฐบาลตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อย่างน้อย 1.2 แสน ล้านดอลลาร์/เดือน โดยเฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐวงเงิน 8 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน และซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ประกันการจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์

  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านดิ่งลง 10.3% ในเดือนก.พ. สู่ระดับ 1.421 ล้านยูนิต
ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2563 โดยได้รับผลกระทบจากภาวะอากาศที่หนาวเย็นในสหรัฐ และการพุ่งขึ้นของราคาไม้ซึ่งเป็นวัสดุ
สำคัญในการสร้างบ้าน
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (17 มี.ค.)
หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุด และส่งสัญญาณว่าจะเดินหน้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลตาม
มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (17 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่จะรู้ผลการประชุมนโยบาย
การเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการซื้อขายก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม นอกจาก
นี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังเป็นปัจจัยฉุดตลาดทองคำด้วย
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในวันนี้ได้แก่ ดัชนีการผลิตเดือนมี.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย และจำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ