ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.82/83 อ่อนค่าจากช่วงเช้า หลัง Bond yield สหรัฐยังพุ่งต่อเนื่อง

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 18, 2021 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.82/83 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดระดับ 30.68 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่า โดยมีปัจจัยหลักมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ(Bond yield) ยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งช่วงนี้คงต้องติดตามทิศทางของ Bond Yield อย่างต่อเนื่อง เพราะถ้ายังพุ่งต่อ ก็จะมีผลให้บาทอ่อน ค่าได้อีก

"ถ้า Bond yield ยังสูงเรื่อยๆ เงินบาทก็มีโอกาสจะอ่อนค่าได้ต่อ...พรุ่งนี้เงินบาทอาจจะผันผวน และย่อตัวได้บ้าง" นัก
บริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.60 - 31.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.00/01 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.04 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1944/1945 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1968 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,568.82 จุด เพิ่มขึ้น 2.06 จุด (+0.13%) มูลค่าการซื้อขาย 81,008 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 756.67 ลบ.(SET+MAI)
  • ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เดือนก.พ.64 อยู่ที่ระดับ 29.6 ลดลงจากเดือนม.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 29.8 เป็นผลจาก
ปัจจัยเรื่องการระบาดของไวรัสโควิดที่พบผู้ติดเชื้อในประเทศจำนวนมาก, ความกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมือง, เงินบาทแข็งค่า และ
สศค.เผยเศรษฐกิจไทยปี 63 หดตัว -6.1% ต่ำสุดตั้งแต่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ.64 อยู่ที่ระดับ 85.1 เพิ่มขึ้นจากระดับ 83.5 ในเดือนม.ค.64 โดยค่า
ดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากภาคการผลิตกลับมาขยายตัวตามอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
  • ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2564 จะขยายตัว
4.7% ซึ่งปรับเพิ่มจากคาดการณ์เดิมเมื่อเดือนก.ย.63 ที่ระดับ 4.3% เนื่องจากคาดว่าผู้บริโภคในสหรัฐน่าจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหลังแผน
ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 คืบหน้าไปได้ด้วยดี ประกอบกับที่มีการอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในวงกว้าง
  • เอสแอนด์พี โกลบอล เรทติ้งส์ (S&P) แสดงความเชื่อมั่นว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ จะไม่ส่งผล
กระทบต่อเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชียรุนแรงเหมือนกับเหตุการณ์ "Taper Tantrum" ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้ว
  • ธนาคารกลางอินโดนีเซีย มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันนี้ แม้ค่าเงินรูเปียห์เผชิญกับแรงกดดันเนื่องจากมี
เม็ดเงินทุนไหลออกนอกประเทศก็ตาม โดยการตัดสินใจดังกล่าว มีขึ้นหลังจากธนาคารได้ใช้มาตรการสนับสนุนด้านการเงินในช่วงที่เกิดการ
แพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  • ธนาคารกลางจีน ได้อัดฉีดเงิน 1 หมื่นล้านหยวน (1.54 พันล้านดอลลาร์) ผ่านทางข้อตกลง reverse repos ประเภท
อายุ 7 วันในวันนี้ และกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ 2.2% โดยมีเป้าหมายที่จะรักษาสภาพคล่องในระบบธนาคารให้เพียงพอ สำหรับ reverse
repo เป็นกระบวนการที่ธนาคารกลางเข้าซื้อหลักทรัพย์จากธนาคารพาณิชย์ด้วยข้อตกลงที่จะขายคืนในอนาคต
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของต่างประเทศที่ต้องติดตามในคืนนี้ และพรุ่งนี้ เช่น การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE),

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ, ญี่ปุ่นรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ. และการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ