ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.09 อ่อนค่าต่อเนื่อง รอติดตามตัวเลขศก.-การแถลงของปธน.สหรัฐคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 25, 2021 17:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 31.09 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อเนื่องจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 31.03 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ได้รับปัจจัยหนุนหลายประกาศ ทั้ง ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังฟื้นตัว การควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ได้ผล

"บาทอ่อนค่าต่อเนื่องตามตลาดโลก เนื่องดอลลาร์ได้รับปัจจัยหนุนหลายเรื่อง แต่ยังไม่หลุด 31.15 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งคาดว่า มีผู้ส่งออกรอขายดอลลาร์อยู่" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 31.00-31.15 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้จะมีการ ประกาศตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐ, การประมูลพันธบัตรอายุ 7 ปี และการแถลงข่าวของประธานาธิบดี โจ ไบเดน

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.03 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 108.83 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1811 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1814 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,571.04 จุด เพิ่มขึ้น 0.21 จุด, +0.01% มูลค่าการซื้อขาย 93972.10 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 721.54 ล้านบาท(SET+MAI)
  • นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน กล่าวในงานสัมมนา "ปี 2021 ประเทศไทยไปต่อ"
ว่า เชื่อว่า ประเทศไทยยังสามารถเดินหน้าต่อได้ โดยรัฐบาลยังคงยืนยันที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้มีอัตราการเติบโต (จีดีพี)
ได้ที่ระดับ 4% แม้หลายหน่วยงานจะมองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจเติบโตได้เพียง 3% หรืออาจน้อยกว่านั้น
  • สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) เปิดเผยว่า ภาพรวมคาดการณ์อัตราเติบโต 2.6% ในปี 64 ที่ยังไม่เด่น
มากนัก เพราะยังขาดการท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่เมื่อฉีดวัคซีนได้เต็มที่ ต่างชาติกลับมามากขึ้น ก็น่าจะเป็น
ปัจจัยเชิงบวกให้เศรษฐกิจไทยสดใสมากขึ้น เหมือนสายรุ้งที่กำลังมาเยือนในช่วงไตรมาส 3/64
  • ประธานสมาคมธนาคารไทย เผยเตรียมเสนอที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับคาดการณ์
แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 1.5-3.5% เป็น 2-4% หลังเริ่มมีหลายปัจจัยบวกเข้ามาที่จะทำให้ภาพรวมการ
เติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้ดีขึ้น
  • สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ภาพรวมการส่งออกไทยเดือน ก.พ. 64 มี
มูลค่า 20,219.01 ล้านเหรียญสหรัฐ กลับมาหดตัว 2.59% จากเดือน ม.ค.64 ที่ขยายตัว 0.35% ขณะที่ตลาดคาดว่าจะติดลบราว 1.5-
2.4% ทั้งนี้ เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกจะขยายตัว 2.87% สะท้อนการเติบโตของภาค
เศรษฐกิจจริง

ทั้งนี้ สนค. ยังคงคาดการณ์ตัวเลขส่งออกทั้งปีจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 4% โดยมองว่าการส่งออกในไตรมาส 2/64 จะเป็น จุดเริ่มต้นของการกลับมาขยายตัวอย่างชัดเจน เนื่องจากสินค้าหลายรายการมีแนวโน้มส่งออกได้ดีอย่างต่อเนื่อง

  • รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับรายงานจากเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่าที่ประชุมคณะ
กรรมการ อย.อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท จอห์นสันแอนจอห์นสัน แล้ว คาดว่าจะสามารถนำเข้ามาขายในประเทศไทยได้
ในช่วงไตรมาส 4/64 ราคาโดสละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นไปตามราคาที่ควบคุมขององค์การอนามัยโลก
  • ธนาคารกสิกรไทย พร้อมสนับสนุนการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของบริการ e-Withholding Tax สอดรับกับนโยบาย
ของกรมสรรพากรที่ได้เปิดตัวระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ไปเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยธนาคารได้นำร่องบริการนี้ให้กับกลุ่ม
ธุรกิจ TCP ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคชั้นนำของประเทศ อาทิ เครื่องดื่มกระทิงแดง เรดดี้ โสมพลัส สปอนเซอร์ แมนซั่ม
เพียวริคุ ไฮ่! และขนมขบเคี้ยวซันสแนค เป็นต้น
  • รัฐมนตรีคลังสหรัฐได้แถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาเมื่อคืนนี้ (24 มี.ค.) ว่า ธนาคารพาณิชย์ของ
สหรัฐมีสถานะที่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะได้รับอนุญาตให้จ่ายเงินปันผลและซื้อหุ้นคืน โดยมุมมองดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า นางเยลเลนมีความ
เชื่อมั่นมากขึ้นว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แสดงวิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาเมื่อคืน

นี้ (24 มี.ค.) โดยกล่าวว่า เขาไม่รู้สึกกังวลเกี่ยวกับการดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว

กำลังสะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ