ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.59 ผันผวนระหว่างลุ้นมาตรการ ศบค.คาดกรอบสัปดาห์หน้า 32.50-32.80

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 9, 2021 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.59 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.66 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทค่อนข้างผันผวน โดยเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.54-32.70 บาท/ดอลลาร์ โดยในช่วงเช้าบาทค่อนข้าง อ่อนค่า เนื่องจากตลาดกังวลการออกมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เพื่อคุมการระบาดโควิดในประเทศ ขณะที่ ช่วงเย็นหลัง ศบค.ประกาศชัดเจนแล้วเงินบาทก็เริ่มปรับแข็งค่าขึ้น ซึ่งตลอดทั้งวันนี้การเคลื่อนไหวของเงินบาทขึ้นอยู่กับปัจจัยในประเทศ เป็นสำคัญ

"ตอนเช้าบาทอ่อนค่าไปมาก เพราะตลาดกังวลเรื่องการออกมาตรการของ ศบค. ทำให้ระหว่างวันเงินบาทค่อนข้างผันผวน low สุดที่ 32.54 และ high สุดที่ 32.70 แต่พอ ศบค.ประกาศออกมาแล้ว ช่วงเย็นเงินบาทก็แข็งค่าขึ้น เพราะมาตรการไม่ได้เข้มงวด มากเท่าที่ตลาดกังวลในตอนแรก" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50 - 32.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.00/02 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.80 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1857/1862 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1840 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,552.09 จุด เพิ่มขึ้น 8.42 จุด (+0.55%) มูลค่าการซื้อขาย 85,261 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 56.61 ลบ. (SET+MAI)
  • ศูนย์บริการสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ประกาศยกระดับมาตรการควบคุมและสกัดกั้นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโค
วิด-19 ที่มีความรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่สีแดงเข้ม ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด (กรุงเทพฯ นครปฐม นราธิวาส
นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา) โดยจะจำกัดการเคลื่อนย้าย (ล็อกดาวน์) และการรวมกลุ่มของ
บุคคลขั้นสูงสุด รวมทั้งกำหนดเวลาการออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิวส์) เป็นเวลา 14 วัน ตั้งแต่ 21.00-04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เริ่ม
ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. 64 ควบคู่ไปกับการเร่งรัดมาตรการด้านการป้องกันโรค การฉีดวัคซีน การควบคุมโรค การรักษาพยาบาล รวมทั้ง
การเยียวยา

พร้อมกันนี้ ศบค.ยังเห็นสมควรให้ขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เป็นครั้งที่ 13 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - 30 กันยายน 2564

  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศงดรับเงินเดือน 3 เดือน โดยระบุว่าจะนำเงินเดือนดังกล่าว ไปเป็น
ส่วนในการช่วยเหลือประชาชนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทำให้มีรัฐมนตรีเริ่มทยอยออกมาสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวบ้างแล้ว เช่น รมว.
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ของอังกฤษ รายงานว่า GDP ของอังกฤษเดือนพ.ค.ขยายตัว 0.8% เมื่อเทียบรายเดือน
ซึ่งต่ำกว่าระดับคาดการณ์ จึงทำให้เกิดข้อสงสัยถึงระดับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอังกฤษจากมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด
ของโควิด-19
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะมีการขยายตัว 7.25% ในปีนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี
2484 ซึ่งตรงกับยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งนี้ ผลผลิตของอังกฤษในปี 2563 ดิ่งวูบเกือบ 10% ซึ่งเป็นการหดตัวลงมากที่สุดในรอบกว่า
300 ปี
  • คณะกรรมการบริหารของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สนับสนุนข้อเสนอให้มีการจัดสรรเงินจำนวน 6.50 แสน
ล้านดอลลาร์ จากกองทุนสิทธิพิเศษถอนเงิน (SDR) ของ IMF ออกมาช่วยเหลือประเทศสมาชิก ให้สามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของ
โรคโควิด-19 ซึ่งถือเป็นการจัดสรรเงินจำนวนสูงสุดในประวัติศาสตร์ของ IMF
  • รัฐมนตรีการคลังจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหญ่ 20 ประเทศหรือ G-20 จะเริ่มการประชุมในอิตาลีวันนี้ โดยคาดว่าจะ
เน้นย้ำถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกันในแต่ละประเทศ หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และ
ประเด็นการปฏิรูปภาษีทั่วโลก
  • คืนนี้สหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีภาคการ
ผลิตเดือนก.ค., ราคานำเข้า-ส่งออกเดือนมิ.ย.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ