ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.12/14 อ่อนค่าต่อเนื่องกังวลเศรษฐกิจ-โควิดในปท. จับตาเงินไหลออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 4, 2021 17:43 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.12/14 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 33.02 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.05-33.14 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้เงินบาทอ่อนค่า จากนักลงทุนต่างชาติเริ่ม ทยอยขายสินทรัพย์ในประเทศไทย หลังสหรัฐฯ เตรียมขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมประกาศลด QE ขณะที่ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการ เงิน (กนง.) ยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% แต่ปรับลดการคาดการณ์ GDP ของปีนี้ และปีหน้าลง ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดใน ประเทศ ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มโยกย้ายเงินลงทุนออกจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ที่ 33.00-33.20 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตามคืน นี้ คือตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน และตัวเลขภาคการบริการ ของสหรัฐฯ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.16/18 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 108.92 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1857/1860 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1866 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,545.86 จุด เพิ่มขึ้น 5.35 จุด (+0.35%) มูลค่าการซื้อขาย 66,897 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,058.65 ลบ.(SET+MAI)
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.5% ในการประชุมวันนี้ ด้วย
คะแนน 4 : 2เสียง โดยกรรมการ 2 เสียงข้างน้อยเสนอให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจและรองรับแนวโน้ม
เสี่ยงสูงในระยะข้างหน้า
  • กนง. ปรับลด GDP ของไทยในปี 64 ลดลงเหลือเติบโต 0.7% จากเดิมคาดไว้ที่ 1.8% และในปี 65 จะเติบโตเพิ่มเป็น
ราว 3.7% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.9% เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยืดเยื้อและรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ รวมทั้ง
นโยบายการเปิดประเทศล่าช้า ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง แม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุน คือมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่
คาดว่าจะออกมาเพิ่มเติม แนวโน้มการส่งออกสินค้าดีกว่าคาดก็ตาม
  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 เป็น -1.5 ถึง 0% ขึ้นอยู่
กับความรุนแรงของโควิด-19 และมาตรการเพิ่มเติมของรัฐ ด้านการส่งออก คาดว่าจะขยายตัว 10-12% จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดี
พร้อมย้ำภาครัฐให้ความสำคัญเร่งด่วนกับการจัดหาวัคซีนให้กลุ่มแรงงานอย่างทั่วถึง
  • กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทย พบแนวโน้มในภาพรวมของประเทศ
ระหว่างวันที่ 24-30 ก.ค.64 จากการสุ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 2,547 ราย เป็นสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 1,993 ราย
(78.2%) , สายพันธุ์อัลฟาจำนวน 538ราย (21.2%) และสายพันธุ์เบตาจำนวน 16 ราย (0.6%) โดยขณะนี้สายพันธุ์เดลตาพบมากถึง
74 จังหวัด
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของยูโรโซนปรับตัวขึ้นแตะ 60.2 ในเดือนก.ค. จากระดับของเดือน
มิ.ย.ที่ 59.5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2549 ทั้งนี้ กิจกรรมทางธุรกิจในยูโรโซนขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 15 ปี ซึ่งเป็น
ผลมาจากการยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด-19 อีกทั้งการเร่งฉีดวัคซีนก็ได้ช่วยให้อุตสาหกรรมบริการในยูโรโซนฟื้นตัวขึ้น
  • ประธานาธิบดีสหรัฐเรียกร้องให้ผู้ว่าการรัฐฟลอริดาและรัฐเท็กซัสซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่สูงถึง
1 ใน 3 ของยอดรวมผู้ติดเชื้อรายใหม่ในสหรัฐ ให้ดำเนินการตามคำแนะนำด้านสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด และหากผู้ว่าการรัฐ
เหล่านี้ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ก็ควรหลีกทางให้ผู้อื่นเข้ามาทำงานแทน โดยในขณะนี้รัฐบาลสหรัฐกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากใน
การควบคุมการระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตา
  • ประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) เปิดเผยว่า SEC ต้องการให้สภาคองเกรส
เพิ่มอำนาจให้กับ SEC ในการกำกับดูแลตลาดคริปโตเคอร์เรนซี
  • นักวิเคราะห์หลายรายได้พากันปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีน เนื่องจากการแพร่ระบาดรอบใหม่ของไวรัส
โควิด-19 ในจีนกำลังส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงวันหยุดฤดูร้อนปีนี้
  • โนมูระ โฮลดิ้งส์ ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3/2564 ลงเหลือ 5.1% จากตัวเลขคาด
การณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 6.4% และคาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 4 จะขยายตัวเพียง 4.4% ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 5.3%
นอกจากนี้ โนมูระยังได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจจีนตลอดปี 2564 ลงสู่ระดับ 8.2% จากระดับ 8.9%

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ