ครม.ผ่านแผนคลังระยะปานกลางปี 67-70 กำหนดเป้า GDP-กรอบเงินเฟ้อ-ลดขาดดุล

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 27, 2022 15:21 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนการ คลังระยะปานกลาง โดยคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) กรอบเงินเฟ้อ ในปีงบประมาณ 67-70 ดังนี้

                            ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)             กรอบเงินเฟ้อ

ปีงบประมาณ 2567                  3.3-4.3%                            1.0-2.0%
ปีงบประมาณ 2568                  2.9-3.9%                            1.2-2.2%
ปีงบประมาณ 2569                  2.9-3.9%                            1.3-2.3%
ปีงบประมาณ 2570                  2.8-3.8%                            1.4-2.4%

นายอนุชา กล่าวว่า แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 67-70) มีแรงสนับสนุนสำคัญจากการขยายตัวดีขึ้นของการ ลงทุนในประเทศ สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนและการฟื้นตัวภาค การท่องเที่ยว

  • สถานะและประมาณการการคลัง ในส่วนของประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ ปี 66-70 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ในปี 66 คาดรายได้รัฐบาลจำนวน 2.49 ล้านล้านบาท

ปี 67 ประมาณการรายได้ จำนวน 2.757 ล้านล้านบาท

ปี 68 ประมาณการรายได้จำนวน 2.867 ล้านล้านบาท

ปี 69 ประมาณการรายได้จำนวน 2.953 ล้านล้านบาท

ปี 70 ประมาณการรายได้จำนวน 3.041 ล้านล้านบาท

โดยการจัดเก็บรายได้ในระยะปานกลาง จะฟื้นตัวตามการบริโภคและการลงทุนในประเทศ รายได้จากภาคครัวเรือนและภาค ธุรกิจ ตลอดจนการท่องเที่ยวหลังการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเดินทาง

  • ประมาณการงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ 67-70 ปรับเพิ่มขึ้น โดยมีสมมติฐานที่สำคัญ เช่น การกำหนดการจ่ายคืนต้น
เงินกู้ให้มีสัดส่วน 2.5 -4.0% ของวงเงินงบประมาณ เพื่อบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้เกิดความยั่งยืนทางการคลัง และเหมาะสมกับ
กำลังเงินของประเทศ

รวมถึงกำหนดสัดส่วนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นอยู่ที่ 2.0-3.5 % ของวงเงินงบประมาณ ควบคุมการใช้จ่ายบุคลากรให้มีอัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยไม่เกิน 4.0% โดยใช้มาตรการในการกำหนดให้หน่วยรับงบประมาณนำเงินรายได้มาสม บทค่าใช้จ่าย เป็นต้น

โดยในปี 66 งบประมาณรายจ่ายจำนวน 3.185 ล้านล้านบาท

ปี 67 งบประมาณรายจ่ายจำนวน 3.35 ล้านล้านบาท

ปี 68 งบประมาณรายจ่ายจำนวน 3.457 ล้านล้าบาท

ปี 69 งบประมาณรายจ่ายจำนวน 3.568 ล้านล้าบาท

ปี 70 งบประมาณรายจ่ายจำนวน 3.682 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 67-70 ยังคงเป็นงบประมาณขาดดุล

  • ประมาณการหนี้สาธารณะต่อ GDP สำหรับปีงบประมาณ 67-70 ยังคงอยู่ภายใต้กรอบ พ.ร.บ.ระเบียบวินัยการเงินการ
คลัง โดยปี 66 อยู่ที่ 60.64%/ปี 67 อยู่ที่ 61.35%/ปี 68 อยู่ที่ 61.78%/ปี 69 อยู่ที่ 61.69%/ปี 70 อยู่ที่ 61.25%

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า แผนการคลังระยะปานกลางฯ ได้กำหนดเป้าหมายการคลังเป็นการมุ่ง เน้นการปรับลดขนาดการขาดดุล เพื่อมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยปรับลดขนาดการขาดดุลให้เหลือไม่เกิน 3% ต่อ GDP ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 และจะปรับลดขนาดการขาดดุลลงอย่างต่อเนื่องในระยะปานกลาง โดยการดำเนินนโยบายการคลัง ในระยะปานกลางจะยึดหลัก "Sound Strong Sustained" ดังนี้

  • Sound การดำเนินนโยบายการคลังที่สมเหตุสมผล สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละช่วงเวลา ซึ่ง
เป็นไปตามหลักการดำเนินนโยบายการคลังแบบต่อต้านวัฏจักรเศรษฐกิจ หรือ Counter-cyclical Fiscal policy โดยในภาวะที่
เศรษฐกิจสามารถเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ดังเช่นในปัจจุบัน รัฐบาลก็จะลดบทบาทของการดำเนินมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ลง โดยมุ่งเน้นการ
ดำเนินนโยบายการคลังแบบเจาะจงเป้าหมาย (Targeted Fiscal Policy) ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับประชาชนในแต่ละกลุ่มเป้า
หมาย เพื่อกลับมาเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลัง
  • Strong มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคการคลังในทุก ๆ ด้าน ทั้งในส่วนของการฟื้นฟูการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล การ
จัดสรรงบประมาณรายจ่าย และการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ทางการคลังหรือ Fiscal Space ให้อยู่ในระดับที่
เหมาะสม เพื่อรองรับการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยคำนึงถึงกรอบวินัยทางการคลัง (Fiscal Discipline) ด้วยการ
รักษาระดับเครื่องชี้ทางการคลังต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วย
  • Sustained มุ่งสู่ภาคการคลังที่ยั่งยืนและมีศักยภาพ ในการรองรับความเสี่ยงที่ประเทศอาจต้องเผชิญอีกในอนาคตได้ และ
เข้าสู่การคลังสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม

อย่างไรก็ดี ในระยะยาว หากภาวะเศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ ภาครัฐสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็ง ทางการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะได้ เป้าหมายการคลังในระยะยาวจะกำหนดให้รัฐบาลมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณ สมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ