ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.79/81 ตลาดรอปัจจัยใหม่ จับตาตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 1, 2023 17:47 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.79/81 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาด เมื่อเช้าที่ระดับ 34.65 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.63 - 34.89 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันยังไร้ปัจจัยใหม่ ตลาดยังย่อยข่าวที่นักวิเคราะห์ระบุว่ามีโอกาส 37% ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะขึ้น ดอกเบี้ยอีกครั้งในรอบการประชุมเดือนมิ.ย. นี้ ภาพรวมตลาดรอติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค. เป็นหลัก นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.60 - 34.90 บาท/ดอลลาร์ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจ ของสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามคืนนี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ค. จาก ADP และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้น สุดท้ายเดือนพ.ค. จากเอสแอนด์พี โกลบอล

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 139.81/82 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 139.38 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0697/0701 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0689 ดอลลาร์/ยูโร
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,961.40 ลบ. (SET+MAI)
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,521.40 จุด ลดลง 12.14 จุด (-0.79%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 48,244 ล้านบาท
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนพ.ค.66 อยู่ที่ระดับ 49.7 ลดลงเล็กน้อย
จากระดับ 50.1 ในเดือนเม.ย. 66 ตามการลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบ นำโดยความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการ การผลิต และการ
จ้างงาน โดยความเชื่อมั่นในภาคที่มิใช่การผลิตปรับลดลงตามกลุ่มโรงแรมและร้านอาหาร จากการเข้าสู่ช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว และ
มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐที่สิ้นสุดลง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการ การบริการ และคำสั่งซื้อปรับลดลงมาก
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-27 พ.ค.66 ประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยว
ต่างชาติแล้ว 10,378,457 คน และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวแล้วกว่า 428,000 ล้านบาท ททท. เชื่อมั่นว่ารายได้จากการท่อง
เที่ยวในปี 66 จะกลับสู่ 80% ของรายได้ก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในปี 62 โดยเป็นรายได้จากตลาดต่างประเทศ 1.5 ล้านล้านบาท
และตลาดในประเทศ 880,000 ล้านบาท
  • รองประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยในวันนี้ว่า ECB ได้ดำเนินกระบวนการคุมเข้มนโยบายการเงินเกือบทั้ง
หมดแล้ว เพื่อฉุดอัตราเงินเฟ้อลงมาสู่กรอบเป้าหมายระยะกลางที่ 2% แม้ว่าวงจรดังกล่าวจะยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะถูกแบ่งแยก
ออกเป็นกลุ่มก้อนนั้นถูกถ่วงด้วยเศรษฐกิจที่เติบโตชะลอตัวลง หลังประเทศต่างๆ ในแถบตะวันตกเคลื่อนไหวเพื่อลดการพึ่งพาจีน โดยใน
เดือนที่ผ่านมากลุ่ม G7 ประกาศสร้างความหลากหลายด้านห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญและลดความเสี่ยง ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้น
ระหว่างจีนและตะวันตก
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แนะนำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงใช้
นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (Ultraloose monetary policy) เนื่องจาก BOJ มีแนวโน้มที่จะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจน
กว่าอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะอยู่ที่ระดับเป้าหมาย 2% ของ BOJ อย่างยั่งยืน
  • อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค. ในยูโรโซนลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ โดยตัวเลขเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลด

ลงมาสู่ระดับ 6.1% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี จากระดับ 7% ในเดือนเม.ย.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ