ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.54 อ่อนค่าเล็กน้อย จับตาราคาทองคำ-ตัวเลขศก.สหรัฐ-ประชุม ECB-BOJ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 22, 2024 09:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.54 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปิดสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 35.51 บาท/ดอลลาร์

สัปดาห์นี้โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทอาจชะลอลงบ้าง หลังผู้เล่นในตลาดทยอยลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนมี.ค.ไปพอสมควร แต่เงินบาทยังมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าต่อได้ หากนักลงทุนต่างชาติเดินหน้าเทขาย สินทรัพย์ไทยต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ หลังราคาทองคำมีแนวโน้มรีบาวด์ขึ้นจากโซนแนวรับ ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจทยอย ขายทำกำไร ซึ่งจะช่วยชะลอการอ่อนค่า หรือช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้าง

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ PCE และดัชนี PMI พร้อมเตรียมจับ ตาผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)

นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้จะอยู่ที่ระดับ 35.45-35.65 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.53000 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนเช้านี้ อยู่ที่ 147.90/148.00 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 148.01/03 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรเช้านี้ อยู่ที่ 1.0907/0911 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0881/0885 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.553 บาท/ดอลลาร์
  • "เศรษฐา" ลั่น ไม่คิดปรับ ครม.พรรคร่วมยังทำงานกันด้วยดี ไม่ขอฝากเรื่องการเมือง มุ่งทำงานแก้ปัญหาความเดือด
ร้อน ปชช.ยันรบ.จัดครม.สัญจรทุกภาค รับฟังเสียงค้าน "แลนด์บริดจ์"
  • ทอท.เล็งผุดสนามบินน้ำกลางทะเลภูเก็ต-พังงา-สมุย หอค้าอินเดีย-ไทยชงจัดอีเวนต์ใหญ่พาหุรัดดึงทัวร์ภารตแห่เที่ยว'ลิต
เติลอินเดีย' ททท.ประเมินตรุษจีน เงินสะพัด 3.4 หมื่นล้าน
  • ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 78.8 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็น
ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2564 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 70.2 จากระดับ 69.7 ในเดือนธ.ค.
  • นักลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ 2 รายการในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณที่
ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกอบด้วย ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำ
ไตรมาส 4/2566 ซึ่งจะเป็นตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนธ.ค.
  • ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า GDP ไตรมาส 4/2566 ของสหรัฐจะขยายตัว 1.7% ซึ่งจะเป็น
การขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2565 ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวม
หมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ จะเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค. และเพิ่มขึ้น 3% ในปี 2566
  • ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันจันทร์และอังคาร (22-23 ม.ค.)
ซึ่งมีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป และประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีที่ 25 ม.ค.นี้ ซึ่งคาดกันว่า ECB จะ
ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมต่อไป และตลาดจะจับตาการแสดงความเห็นของเจ้าหน้าที่ ECB เกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ