ดร.โกร่ง มองศก.ไทยซึมยาว 6-7 ปีจากเงินเฟ้อ-น้ำมันแพง ค้านกนง.ขึ้นดอกเบี้ย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 16, 2008 10:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

          นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง คาดเศรษฐกิจไทยจะจมอยู่กับปัญหาราคาน้ำมันแพงและเงินเฟ้อสูง ประมาณ 6-7 ปี ขณะที่เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเรื่อยๆ พร้อมยืนกรานไม่เห็นด้วยกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะนี้ เพราะจะเป็นการซ้ำเติมภาวเศรษฐกิจจะเกิดภาวะเงินตึงตัว
"นอนใจได้เลยว่าเศรษฐกิจไม่ฟื้นเร็ว และจะค่อยๆซึมไปเรื่อยๆ ถ้าน้ำมันแพงตั้งแต่ปีกลาย ก็นับต่อไปอีก 6 ปี ถ้านับหนึ่งปีนี้ก็รอไปอีก 7 ปี ตามวัฎจักรของน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับที่คุณปิยสวัสดิ์ (อัมระนันทน์) และคุณประเสริฐ (บุญสัมพันธ์)ว่าวงจรน้ำมันต้องใช้เวลา 7-8 ปี"นายวีรพงษ์ กล่าวในงานสัมนาเรื่อง"จะอยู่อย่างไรใน พ.ศ.นี้"เมื่อคืนนี้
นอกจากนี้ กูรูเศรษฐกิจผู้นี้ ยังเห็นว่า ค่่าเงินบาทจะอ่อนตัวลง แต่จะไม่เร็วและไม่หนัก เพราะมีค่าเงินยูโรและเงินเยนถ่วงน้ำหนักกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเกิดการขาดทุนบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลการค้า เพราะมีภาระการนำเข้าน้ำมัน
"โอกาสที่เห็นบาทแข็งค่ามีน้อย โอกาสบาทอ่อนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จะคงอยู่ไปเรื่อยๆ 6-7 ปีนี้"นายวีรพงษ์ กล่าว
ประกอบกับ ภาวะการเมืองไทยที่ยอมรับว่าผิดเพื้ยนไปมีการกลัวว่าพรรคการเมืองหรือสถาบันการมืองถูกทำลาย ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น ทั้งสถาบันนิติบัญญัติ จนลามไปถึงสถาบันตุลาการ ประเด็นการเมืองเป็นที่ัจับตาของต่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เพราะไม่แน่ใจว่าประเทศไทยจะมีปฏิวัติอีกหรือไม่ จากความขัดแย้งสูง ซึ่งอาจกระทบกับเงินกู้ยืมจากต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน ก็เห็นว่า ธปท.ควรนำเงินทุนสำรองระหว่างประทศที่มีจำนวนมากเข้ามาแทรแแซงตลาด ไม่ใช่ให้เป็นไปตามกลไกตลาดอย่างที่ ธปท.เห็น เพราะว่าประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก หากมีกองทุนขนาดใหญ่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาท ก็จะทำให้ค่าเงินหวือหวาได้ และธุรกิจก็ยากที่วางแผน ดังนั้น ธปท.ควรจะวางแผนหรือมีมาตรการจัดการกับเงินบาท
นายวีรพงษ์ ยังเห็นด้วยว่า ธปท.ไม่ควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้ เพราะอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเกิดจากต้นทุนที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ไม่ใช่เกิดจากความต้องการสินค้ามากเกินไป หากปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นก็ยิ่งทำให้ตลาดเงินตึงตัว ฉะนั้น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้่ย จึงไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง แต่ควรหันมาใช้นโยบายการคลัง เช่น ลดภาษี เพื่อช่วยลดภาระต้นทุนสินค้า หรืออัดฉีดเม็ดเงินสู่ระดับรากหญ้า
"ความเห็นของผมต่างไปจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยทีใช้วิีธีเดิมในการปราบเงินเฟ้อโดยการขึ้นดอกเบี้ย และทุนสำรองฯเราก็มีมั่นคงแข็งแรงอยู่"นายวีรพงษ์ กล่าว
ฉะนั้น ในภาวะการณ์เช่นนี้ทำให้ภาคครัวเรือน บริษัทต่างๆ ต้องลดการใช้จ่ายและควรประหยัด แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเพราะมีการชะลอการใช้จ่าย ดังนั้น ภาครัฐควรจะเป็นคนลงทุนใข้จ่ายแทน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ