บทความของ ผศ.ดร. รัฐชัย ศีลาเจริญ และ ผศ.ดร. รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น ภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิช ยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ปี 2568 เป็นปีที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ทุกกองจะครบกำหนดให้ผู้ถือ หน่วยสามารถไถ่ถอนได้โดยไม่สูญเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากที่ได้รับการลดหย่อนไปแล้วเมื่อตอนซื้อหน่วยลงทุน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ของไทยมีผลตอบแทนต่ำ จากที่ SET Index เคยไปอยู่จุดสูงสุดที่ 1,830 จุด เมื่อวัน ที่ 1 ก.พ. 2561 มาอยู่ที่ 1,149.18 จุด ในวันที่ 30 พ.ค. 2568 ผู้ถือหน่วยลงทุน LTF จำนวนมากจึงได้รับผลขาดทุนสุทธิจากการลง ทุน หลายท่านจึงมีแนวคิดจะไถ่ถอนหน่วยลงทุนและรับรู้ผลขาดทุน เพื่อนำเงินไปลงทุนในรูปแบบอื่นที่อาจให้ผลตอบแทนคาดหวังสูงกว่า
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ภาครัฐได้ออกนโยบายให้ผู้ถือหน่วยลงทุน LTF สามารถเลือกรับสิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ หากสับ เปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ทุกหน่วยที่ครอบครองให้เป็นหน่วยลงทุนในกองทุน Thai ESGX และมีระยะเวลาลงทุนขั้นต่ำ (lockup period) 5 ปี นับจากวันสับเปลี่ยน ทำให้ผู้ถือหน่วย LTF ต้องตัดสินใจว่าควรจะสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเพื่อรับประโยชน์ทางภาษีตาม เงื่อนไข หรือควรจะสละสิทธิประโยชน์นั้นไป แล้วไถ่ถอนหน่วย LTF เพื่อนำเงินไปลงทุนรูปแบบอื่นแทน
ประเด็นสำคัญที่ทำให้ผู้ถือหน่วย LTF ลังเลใจเกิดจากเงื่อนไขการถือหน่วย Thai ESGX ที่จะต้องถือต่อไปอีก 5 ปี และกลัว ว่าจะได้รับผลขาดทุนจากการลงทุนมากกว่าภาษีที่ประหยัดได้ ทำให้การสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไม่คุ้มค่า บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดง ให้เห็นถึงประโยชน์ของการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านที่กำลังตัดสินใจว่าจะสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนหรือไม่ จะได้รับข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสม เนื้อหาของบทความประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1) เงื่อนในการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF 2) การวิเคราะห์ผลประโยชน์จากการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน และ 3) การ วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน
*เงื่อนไขการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษี
ในปี 2568 ภาครัฐได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหน่วย LTF สามารถสับเปลี่ยน (switch) หน่วยลงทุน LTF ที่มีอยู่เดิมไปยังกอง ทุน Thai ESGX พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ทำให้ในปัจจุบันมีวงเงินลดหย่อนภาษีจากการออม และการลงทุนทั้งหมด 4 วงเงิน คือ
1.การออมและการลงทุนเพื่อเกษียณอายุ (RMF, PVD, กบข., กอช., ประกันชีวิตแบบบำนาญ)
2.การลงทุนในกองทุน Thai ESG
3.การลงทุนในกองทุน Thai ESGX ที่เป็นเงินลงทุนใหม่
4.การลงทุนในกองทุน Thai ESGX ที่มาจากการสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF
บทความนี้จะกล่าวถึงวงเงินที่ 4 ซึ่งการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF มาเป็น Thai ESGX เพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษีมีเงื่อนไข สำคัญดังนี้
ห้ามขายหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF หลังวันที่ 11 มี.ค. 2568 หากมีการขายหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF หลังวันที่ 11 มี.ค. 2568 จะหมดสิทธิ์รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการสับเปลี่ยนนี้
ต้องสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ทุกกองทุนจากทุก บลจ. ทั้งหมดที่ถืออยู่ ณ วันที่ 11 มี.ค. 2568 ไปยังกองทุน Thai ESGX โดยต้องดำเนินการสับเปลี่ยนภายในช่วงวันที่ 13 พ.ค. ถึง 30 มิ.ย. 2568
ต้องถือครองหน่วยลงทุน Thai ESGX ทั้งหมดที่ได้จากการสับเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับแบบวันชนวันจากวันที่สับเปลี่ยน) วงเงินลดหย่อนภาษีที่ได้รับจะเท่ากับมูลค่าของหน่วยลงทุน LTF ทั้งหมดที่สับเปลี่ยน แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท มูลค่าการสับเปลี่ยน ส่วนที่เกิน 500,000 บาท จะไม่ได้รับสิทธิลดหย่อน แต่ยังคงต้องถือครองต่อไปไม่น้อยกว่า 5 ปี วงเงินลดหย่อนที่ได้รับจะถูกทยอยใช้ใน เวลา 5 ปี หรือจนกว่าจะใช้วงเงินหมด โดยปีแรก (2568) ลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท และปีที่ 2-5 (2569-2572) ลดหย่อนได้ สูงสุดปีละ 50,000 บาท
*ผลประโยชน์ทางภาษีจากการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF และจุดคุ้มทุน
เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาษีที่จะได้รับลดหย่อนจากการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เราจะสมมติอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3 กรณี คือ ผู้มีเงินได้จ่ายภาษีเงินได้บาทสุดท้ายที่อัตรา 10% 20% และ 30% และสมมติมูลค่าการสับเปลี่ยน 5 กรณี คือ 300,000 500,000 1,000,000 1,500,000 และ 2,000,000 บาท ตารางที่ 1 คอลัมน์ E แสดงผลการประเมินจำนวนภาษีที่ประหยัดได้ตลอด เวลา 5 ปี หลังการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน เช่น
ผู้มีอัตราภาษี 10% หากสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนมูลค่า 300,000 บาทในวันนี้ จะได้วงเงินลดหย่อนภาษีในปีที่ 1 จำนวน 300,000 บาท และไม่มีวงเงินเหลือในปีที่ 2-5 จึงประหยัดภาษีได้ 300,00010% = 30,000 บาท ตลอดเวลา 5 ปี
ผู้มีอัตราภาษี 10% หากสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนมูลค่า 1,000,000 บาทในวันนี้ จะได้วงเงินลดหย่อนภาษีในปีที่ 1 จำนวน 300,000 บาท และมีวงเงินเหลือในปีที่ 2-5 อีก 200,000 บาท จึงประหยัดภาษีได้ 500,00010% = 50,000 บาท ตลอด เวลา 5 ปี
จะเห็นว่า หากการสับเปลี่ยนกองทุนมีมูลค่าเท่ากัน ผู้ที่มีอัตราภาษีสูงจะลดหย่อนภาษีได้มากกว่าผู้ที่มีอัตราภาษีต่ำ และหากมี อัตราภาษีเท่ากันและมูลค่าการสับเปลี่ยนไม่เกิน 500,000 บาท ผู้ที่มีมูลค่าการสับเปลี่ยนสูงจะมีภาษีที่ลดหย่อนได้มากกว่าผู้ที่มีมูลค่าการสับ เปลี่ยนต่ำ แต่หากมูลค่าการสับเปลี่ยนเกิน 500,000 บาท ภาษีที่ลดหย่อนได้จะมีค่าคงที่ เช่น ผู้ที่มีอัตราภาษี 10% และ 20% จะลดหย่อน ได้สูงสุด 50,000 และ 100,000 บาท ตามลำดับ
เนื่องจากเงินลงทุนใน Thai ESGX จะต้องถือครองไว้เป็นเวลา 5 ปี ดังนั้นผลตอบแทนในอนาคตของกองทุน Thai ESGX จึงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ ที่อาจทำให้ภาษีที่ได้รับลดหย่อนไม่คุ้มค่ากับผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการลงทุน สองคอลัมน์สุดท้ายของ ตารางที่ 1 แสดงผลการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของการสับเปลี่ยนกองทุน โดยจุดคุ้มทุนในที่นี้หมายถึงอัตราขาดทุนจากกองทุน Thai ESGX ใน ช่วง 5 ปีข้างหน้า (Holding Period Return, HPR) ที่จะไปหักล้างผลประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับจากการสับเปลี่ยนกองทุนพอดี เช่น
ผู้มีอัตราภาษี 10% และสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนมูลค่า 300,000 บาทในวันนี้ หากในช่วง 5 ปีข้างหน้า กองทุน Thai ESGX ที่ ได้รับจากการสับเปลี่ยนมีการขาดทุน 10% มูลค่าขาดทุนจากกองทุนจะเท่ากับภาษีที่ประหยัดได้ในปัจจุบันพอดี ดังนั้นหากกองทุน Thai ESGX สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่า -10% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า การสับเปลี่ยนกองทุนในวันนี้จะยังได้กำไร
ผู้มีอัตราภาษี 10% และสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนมูลค่า 1,000,000 บาทในวันนี้ หากในช่วง 5 ปีข้างหน้า กองทุน Thai ESGX ที่ได้รับจากการสับเปลี่ยนมีการขาดทุน 5% มูลค่าขาดทุนจากกองทุนจะเท่ากับภาษีที่ประหยัดได้ในปัจจุบันพอดี ดังนั้นหากกองทุน Thai ESGX สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่า -5% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า การสับเปลี่ยนกองทุนในวันนี้จะยังได้กำไร
เมื่อพิจารณาจุดคุ้มทุนจะเห็นว่า หากมูลค่าการสับเปลี่ยนไม่เกินวงเงินลดหย่อนภาษีสูงสุด 500,000 บาท จุดคุ้มทุนของอัตรา ผลตอบแทนจากกองทุน Thai ESGX จะเท่ากับอัตราภาษีของผู้มีเงินได้ เช่น
ผู้มีอัตราภาษี 20% ที่สับเปลี่ยนกองทุนมูลค่า 500,000 บาท จะยังได้กำไรจากการสับเปลี่ยนกองทุน หากผลตอบแทนจากกอง ทุนติดลบไม่เกิน 20% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า
ผู้มีอัตราภาษี 30% ที่สับเปลี่ยนกองทุนมูลค่า 500,000 บาท จะยังได้กำไรจากการสับเปลี่ยนกองทุน หากผลตอบแทนจากกอง ทุนติดลบไม่เกิน 30% ใช่วง 5 ปีข้างหน้า
แต่หากมูลค่าการสับเปลี่ยนสูงกว่าวงเงินลดหย่อนภาษีสูงสุดที่ 500,000 บาท ภาษีที่ประหยัดได้จะสามารถรองรับการขาดทุน จากกองทุนได้ในอัตราที่ลดลง โดยภาษีที่ประหยัดได้ของผู้มีอัตราภาษีสูงจะสามารถรองรับการขาดทุนจากกองทุนได้ในอัตราที่มากกว่าผู้มี อัตราภาษีต่ำ เช่น
ผู้มีอัตราภาษี 20% ที่สับเปลี่ยนกองทุนมูลค่า 1,000,000 บาท จะยังได้กำไรจากการสับเปลี่ยนกองทุน หากผลตอบแทนจาก กองทุนติดลบไม่เกิน 10% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า
ผู้มีอัตราภาษี 30% ที่สับเปลี่ยนกองทุนมูลค่า 1,000,000 บาท จะยังได้กำไรจากการสับเปลี่ยนกองทุน หากผลตอบแทนจาก กองทุนติดลบไม่เกิน 15% ใช่วง 5 ปีข้างหน้า
กล่าวโดยสรุป ผู้ที่มีอัตราภาษีสูงนอกจากจะได้ประโยชน์จากการสับเปลี่ยนกองทุนมากกว่าผู้ที่มีอัตราภาษีต่ำแล้ว ยังมีความ เสี่ยงต่อการขาดทุนจากการสับเปลี่ยนที่ต่ำกว่าด้วย (กล่าวคือ ภาษีที่ประหยัดได้สามารถรองรับผลขาดทุนจาก Thai ESGX ได้สูงกว่า) อย่างไรก็ตามหากมูลค่าของการสับเปลี่ยนสูงกว่า 500,000 บาท ความเสี่ยงต่อการขาดทุนจากการสับเปลี่ยนจะสูงขึ้น เพราะภาษีที่ ประหยัดได้ถูกจำกัดไว้ให้มีค่าคงที่
*แนวทางการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการขาดทุนจากการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน
การสับเปลี่ยนกองทุน LTF มีความเสี่ยงที่ภาษีที่ได้รับลดหย่อนอาจไม่คุ้มกับการขาดทุนจากกองทุน Thai ESGX เช่น สำหรับผู้ มีอัตราภาษี 20% ที่สับเปลี่ยนกองทุนมูลค่า 1,000,000 บาท มีความเสี่ยงว่าหากกองทุน Thai ESGX มีผลขาดทุนมากกว่า 10% ใน 5 ปี ข้างหน้า จะทำให้การสับเปลี่ยนกองทุนไม่คุ้มค่า
เพื่อให้เห็นภาพโอกาสหรือความน่าจะเป็นของการขาดทุนที่ระดับต่าง ๆ จากการลงทุนในตราสารทุน ในกรอบระยะเวลาการ ลงทุน 5 ปี ผู้เขียนจะใช้อัตราผลตอบแทนสำหรับระยะเวลาลงทุน 5 ปี (5-year HPR) ของดัชนีผลตอบแทนรวม SET50 Index (RI) เป็นตัวแทน เนื่องจากเป็นดัชนีที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวม และเป็นดัชนีที่สามารถเก็บข้อมูลย้อนหลัง ไปได้ค่อนข้างไกล ทำให้ผลการวิเคราะห์มีความน่าเชื่อถือทางสถิติมากขึ้น
เริ่มต้นโดยคำนวณ 5-year HPR ระหว่าง เม.ย. 2548 และ เม.ย. 2553 ของ SET50 Index (RI) แล้วขยับกรอบ การคำนวณผลตอบแทน 5 ปี (moving window) ไปทีละเดือนจนถึงช่วงเวลา เม.ย. 2563 และ เม.ย. 2568 ได้ 5-year HPR รวม 181 ค่า ตารางการกระจายตัวของ 5-year HPR ของ SET50 Index (RI) ระหว่าง เม.ย. 2548 ถึง เม.ย. 2568
ค่าสถิติ5-year HPR (% ต่อ 5 ปี)
Min -19.4%Percentile 2.5-12.0%
Percentile 5.0-10.9%
Percentile 10.0-3.7%
Percentile 25.013.5%
Percentile 50.041.2%
Percentile 75.078.9%
Percentile 90.0130.3%
Percentile 95.0173.9%
Percentile 97.5242.6%
Max 315.0% Count 181จากตารางจะเห็นว่า ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา 5-year HPR ของ SET50 Index (RI) มีค่าเฉลี่ย (median) ที่ 41.2% และมีระดับต่ำสุดที่ -19.4% นอกจากนี้ มีจำนวนครั้งที่อัตราผลตอบแทนต่ำกว่า -10.9% และ -3.7% ในสัดส่วนร้อยละ 5.0 และ 10.0 ตามลำดับ กล่าวอีกนัยหนึ่งหมายความว่ามีโอกาสเพียง 10% ที่ 5-year HPR ของ SET50 Index (RI) จะมีผลขาดทุน มากกว่า 3.7% (หรือ อัตราผลตอบแทนต่ำกว่า -3.7%) และโอกาสเพียง 5% ที่ 5-year HPR ของ SET50 Index (RI) จะมีผลขาด ทุนมากกว่า 10.9% (หรือ อัตราผลตอบแทนต่ำกว่า -10.9%)
นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ความถี่ของการเกิดผลตอบแทนที่ระดับต่าง ๆ จะเห็นว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนของ 5- year HPR ของ SET50 Index (RI) ที่มีค่าติดลบมีสัดส่วนหรือโอกาสเพียง 14% นอกจากนี้ ผลของ 5-year HPR ของ SET50 Index (RI) ที่มีค่าต่ำกว่า -5% มีสัดส่วนหรือโอกาสเพียง 8% เท่านั้น ดังนั้นหากใช้ SET50 Index (RI) เป็นเกณฑ์ จะเห็นว่าโอกาส ที่การลงทุนใน Thai ESGX เป็นระยะเวลา 5 ปี จะให้อัตราผลตอบแทนต่ำกว่าจุดคุ้มทุนมีไม่สูงมากนัก
ตารางสัดส่วนของ 5-year HPR ที่อัตราผลตอบแทนระดับต่าง ๆ
5-year HPRสัดส่วนของการเกิด
HPR