นพ.ประวิทย์ เชื่อว่า ผู้เข้าร่วมประมูลจะมีการแข่งขันกันอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาประมูลทั้งสองล็อตยังมีการเคาะราคาทุกรอบ ต่างกับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่ผู้เข้าร่วมประมูลเลือกไม่เคาะราคาในบางรอบ
ทั้งนี้ คาดว่าทุกรายมีความต้องการคลื่นความถี่ 900 MHz เพราะเป็นคลื่นที่สามารถส่งสัญญาณได้ไกล ครอบคลุมพื้นที่กว้างจึงเหมาะกับการให้บริการในภูมิภาค ต่างจากคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่เหมาะกับการให้บริการในเขตเมือง ฉะนั้นผู้เข้าร่วมประมูลจึงมีความต้องการคลื่น 900MHz เพื่อให้ครอบคลุมการให้บริการในทุกพื้นที่
นพ.ประวิทย์ เชื่อว่า ค่ายเอไอเอสคงสู้ไม่ถอย ขณะที่ JAS เชื่อว่ามีข้อจำกัด หากใประมูลในราคาสูงมากจะทำให้เกิดต้นทุนธุรกิจ ซึ่งคาดว่า JAS จะประมูลไม่เกิน 28,000 ล้านบาท ส่วน DTAC และ TRUE จะเป็นตัวแปรในการแข่งขันการประมูลครั้งนี้เพราะไม่รู้ว่าทั้งสองรายจะแข่งได้ถึงเท่าไร อย่างไรก็ดีจะไม่มีราคาประมูลสูงเกินจริง. โดยสถิติโลกที่ประมูลสูงสุดที่ 6.8 หมื่นล้านบาท
"ผมคิดว่าแนวโน้มไม่น่าจะยืดเยื้อ ถ้าสู้ราคาแบบนี้. ... เราเชื่อว่าจะจบภายใน 20 ชั่วโมง ถ้าเคาะทุกรอบก็จบเร็วก่อน 6 โมงเช้า เอไอเอสสู้ไม่อั้น ส่วน DTAC และ TRUE ต้องดูว่าจะสู้ถึงขนาดไหน ส่วน JAS สู้ไม่น่าเกิน 28,000 ล้านบาท ถ้ามากกว่านี้จะขาดทุน"นพ.ประวิทย์กล่าวสำหรับผู้เข้าร่วมประมูล ได้แก่ บริษัท แจส โมบายบรอดแบรนด์ จำกัด, บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด, บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค และ บริษัท ทรูมูฟเอช ยูนิเวอร์แซลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด
กรรมการ กทค.กล่าวว่า ชุดคลื่นความถี่แรก 895-905/940-950MHz จำนวน 10MHz มีผู้แข่งราคาน้อยเพราะเป็นคลื่นที่ติดกับคลื่น 850 MHz ที่ DTAC ใช้งานอยู่ ซึ่งจะมีการ์ดแบนคั่นอยู่ ก็อาจจะมีการรบกวนคลื่น ส่วนชุดที่สอง 905-915/950-960MHz จำนวน 10MHz เป็นคลื่นที่ไม่ติดกับใคร จึงเป็นที่ต้องการมากกว่าจะเห็นได้ว่ามีผู้เสนอราคาแข่งมากกว่า 1 ราย
ทั้งนี้ ทุกรายทั้งเอไอเอส . ดีแทค และทรู ส่ง CEO เข้ามาร่วมเข้าประมูล แต่ JAS มีผู้เข้าร่วมประมูลเพียง 3 คนและไม่มีนายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JAS เข้าร่วมประมูล