China Focus: เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว หลังข้อมูลบ่งชี้ความแข็งแกร่งในหลายภาคส่วน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 15, 2015 14:14 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ข้อมูลเศรษฐกิจของจีนที่มีการเปิดเผยล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจจีนมีเริ่มมีเสถียรภาพและมีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายของรัฐบาลในปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดผยว่า ผลผลิตมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นมาตรวัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนขยายตัว 6.2% ในเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้นจากระดับการขยายตัวที่ 5.6% ในเดือนต.ค.

ตัวเลขดังกล่าวเป็นสถิติการขยายตัวในระดับสูงสุดเป็นอันดับที่สองของปีนี้ หลังจากที่ขยายตัวที่ 6.8% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งส่งสัญญาณถึงการปรับตัวที่ดีขึ้นของภาคการผลิต

ส่วนอัตราการขยายตัวในช่วง 11 เดือนแรกเมื่อเทียบเป็นรายปีอยู่ที่ 6.1% ทรงตัวอยู่ที่ระดับเดียวกับในช่วง 10 เดือนแรก

ทั้งนี้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นมาตรวัดกิจกรรมของธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 20 ล้านหยวน (3.11 ดอลลาร์) ขึ้นไป

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนประมาณ 40.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในช่วง 9 แรกของปี 2558 ส่งผลให้ค่าดัชนีดังกล่าวเป็นดัชนีบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน

ขณะเดียวกัน NBS รายงานว่า ยอดค้าปลีกของจีนปรับตัวเพิ่มขึ้น 11.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับการขยายตัวที่สูงที่สุดของปีนี้ เพราะได้แรงหนุนจากความคึกคักของการซื้อสินค้าออนไลน์ในวัน Singles' Day โดยมียอดค้าปลีกรวมที่ 2.79 ล้านล้านหยวน (4.34 แสนล้านดอลลาร์) ในเดือนพ.ย.

ยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งบ่งชี้ว่า นโยบายส่งเสริมการบริโภคของจีนกำลังมีผลต่อระบบเศรษฐกิจ ช่วยให้เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของจีนสามารถเดินหน้าปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ผลักดันโดยการขยายตัวของการบริโภคและภาคบริการ

ส่วนยอดการปล่อยกู้ใหม่สกุลเงินหยวนของจีนในเดือนพ.ย.อยู่ที่ระดับ 7.089 แสนล้านหยวน (1.108 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 5.136 แสนล้านหยวนในเดือนต.ค.

ธนาคารกลางจีนระบุในแถลงการณ์ทางเว็บไซต์ว่า ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 ซึ่งครอบคลุมเงินสดหมุนเวียนและเงินฝากทั้งหมด ปรับตัวขึ้น 13.7% เมื่อเทียบรายปี สู่ระดับ 137.4 ล้านล้านหยวน ณ สิ้นเดือนพ.ย.

ขณะเดียวกัน ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M1 ซึ่งครอบคลุมกระแสเงินสดหมุนเวียนและเงินฝากเผื่อเรียก (demand deposits) เพิ่มขึ้น 15.7% เทียบรายปี แตะที่ 38.8 ล้านล้านหยวน

นอกจากนี้ ตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของจีนในเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบรายปี แตะระดับ 6.49 หมื่นล้านหยวน (1.01 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)

นายหลิน เทา นักสถิติประจำสำนักงานเศรษฐกิจแห่งชาติจีน (NBS) กล่าวว่า ยอดค้าปลีกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง โดยชี้ว่า ยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งนั้น มีสาเหตุเนื่องจากผลประกอบการของอุตสาหกรรมรถยนต์ปรับตัวดีขึ้น ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซกำลังได้รับความนิยม และยอดจำหน่ายบ้านที่กำลังเพิ่มขึ้น

ยอดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ประจำเดือนพ.ย. สูงกว่ายอดจำหน่ายของเดือนต.ค. ถึง 8% ซึ่งยอดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ดังกล่าวคิดเป็น 30% ของยอดค้าปลีกที่พุ่งขึ้นในเดือนพ.ย.

ในวันที่ 11 พ.ย. ซึ่งตรงกับวันคนโสดและเป็นเทศกาลช้อปปิ้งประจำปี ส่งผลให้อาลีบาบาทีมอล มียอดจำหน่ายพุ่งขึ้น 60% แตะที่ 9.12 หมื่นล้านหยวน (1.417 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือแม้แต่เว็บไซต์คู่แข่งอย่าง JD.com ที่มีขนาดเล็กกว่ามาก ยังมียอดขายสูงถึง 32 ล้านรายการในวันคนโสด ซึ่งพุ่งขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 130%

สำนักงานสถิติแห่งชาติตจีน(NBS) รายงานว่า ในช่วง 11 เดือนแรก ยอดจำหน่ายออนไลน์ทะยานขึ้น 34.5% เมื่อเทียบปีต่อปี แตะที่ 3.45 ล้านล้านหยวน โดยคิดเป็น 12.6% ของดัชนียอดค้าปลีกทั้งหมด ยอดค้าปลีกอันแข็งแกร่งนี้ เป็นตัวชี้วัดว่า นโยบายกระตุ้นการบริโภคของจีนกำลังแสดงผล ซึ่งได้สร้างความผ่อนคลายให้แก่คณะผู้ออกนโยบาย เนื่องจากรัฐบาลจีนต้องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยเน้นไปที่การออกโมเดลเพื่อการกระตุ้นการบริโภคและการบริการเพื่อการเติบโตขึ้นอย่างยั่งยืน แม้ว่าจะเป็นอัตราการเติบโต้ที่ช้าลงก็ตาม

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมประจำเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้น 6.2% เมื่อเทียบปีต่อปี จากเดิมในเดือนต.ค.ซึ่งอยู่ที่ 5.6%

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเดือนพ.ย. มีอัตราการเติบโตสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากเดือนมิ.ย. ซึ่งอยู่ที่ 6.8% ถือเป็นอีกปัจจัยที่แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวขึ้นของภาคการผลิต

นายเจียง หยวน นักเศรษฐศาสตร์ของ NBS กล่าวว่า การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนพ.ย.นี้ มีสาเหตุเนื่องมาจากการผลิตรถยนต์ที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากการลดภาษีการซื้อและสต็อกสินค้าคงคลังที่ปรับตัวลดลง สำนักข่าวซินหัวรายงาน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ