สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ น.

ข่าวต่างประเทศ Friday October 1, 2021 13:41 —กระทรวงการต่างประเทศ

สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์

วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ น.

ทาง Facebook Live กระทรวงการต่างประเทศ

วันนี้ (๓๐ กันยายน ๒๕๖๔) เป็นวันสุดท้ายของการทำงานของข้าราชการและในภาคเอกชนบางหน่วยงานที่จะเกษียณอายุในปีนี้ ผมขอขอบคุณพี่ ๆ ข้าราชการและในภาคเอกชนที่ทำงานอย่างเต็มความสามารถ และขอเป็นกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนในการรับมือกับสถานการณ์โควิด-๑๙ รวมถึงสถานการณ์อุทกภัย ขณะนี้ สถานการณ์การณ์การติดเชื้อโควิด-๑๙ กำลังดีขึ้น และวัคซีนโควิด-๑๙ กำลังทยอยเข้ามา

๑. นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงในช่วงการอภิปรายทั่วไปต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ ๗๖

๑.๑ ถ้อยแถลงในช่วงการอภิปรายทั่วไปหรือ General Debate ต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ ๗๖

เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๐.๐๐ น. ตามเวลาประเทศไทย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงผ่านบันทึกวิดีทัศน์ในช่วงการอภิปรายทั่วไปหรือ General Debate โดยเน้นย้ำว่า ท่ามกลางความท้าทาย หลากหลายมิติ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ?ความหวัง? และความมุ่งมั่นที่ประชาคมโลกจะร่วมกันสร้างโลกของวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าเดิม ภายใต้บริบทของ ?ความปกติถัดไป หรือ Next Normal? โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างสมดุลที่มีคนเป็นศูนย์กลางและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ผ่านการส่งเสริมความร่วมมือพหุภาคี ซึ่งสอดคล้องกับวาระร่วมกัน Our Common Agenda ที่เลขาธิการสหประชาชาติ

ได้นำเสนอต่อรัฐสมาชิก

นายกรัฐมนตรีย้ำความสำคัญของการผลักดันให้วัคซีนและยารักษาโควิด-๑๙ เป็นสินค้าสาธารณะของโลก และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะการบรรลุหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า การสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้องค์การอนามัยโลก เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพโลก รวมถึงการหารือเพื่อพิจารณาจัดทำสนธิสัญญาว่าด้วยโรคระบาด หรือ Pandemic Treaty ซึ่งเป็นกรอบการหารือทางกฎหมายระดับโลก

ในประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยเห็นว่า ภัยพิบัติเกิดจากการพัฒนาที่ไม่สมดุล และเรียกร้องให้ประชาคมโลกเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส และเตรียมตัวเปลี่ยนผ่านไปสู่ ?ความสมดุลของสรรพสิ่ง? โดยเฉพาะการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นศูนย์ภายในปี ๒๖๐๘-๒๖๑๓ (ค.ศ. ๒๐๖๕ - ๒๐๗๐) โดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และมุ่งผลักดันให้โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมสีเขียวของภูมิภาค

นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึง การฟื้นฟูภายหลังโควิด-๑๙ ต้องอาศัยการขับเคลื่อนการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผ่านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) และโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม

นอกจากนี้ ไทยเน้นถึงความสำคัญของการส่งเสริมความมั่นคงของระบบอาหารโลก และการส่งเสริมสันติภาพ การสนับสนุนภารกิจการส่งเสริมสันติภาพของสหประชาชาติอย่างต่อเนื่อง และยังได้บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในการบรรเทาวิกฤตด้านมนุษยธรรมในเมียนมา ทั้งในรูปแบบทวิภาคีและช่องทางของอาเซียน อัฟกานิสถาน และแผ่นดินไหวในเฮติด้วย

นายกรัฐมนตรีได้ย้ำบทบาทของไทยในฐานะรัฐสมาชิกและหุ้นส่วนด้านการพัฒนาของสหประชาชาติที่มีความรับผิดชอบ เชื่อถือได้ และสร้างสรรค์ ในทั้ง ๓ เสาหลักของสหประชาชาติ ตลอดระยะเวลาเกือบ ๗๕ ปีนับตั้งแต่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ รวมทั้งการเป็นเจ้าบ้านที่ดีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ซึ่งจะมีการปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานของUNESCAP

๑.๒ ถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยระบบอาหารโลก (UN Food Systems Summit)

เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๓.๓๐ น. ตามเวลาประเทศไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยระบบอาหารโลก (UN Food Systems Summit) ผ่านระบบการประชุมทางไกล

การประชุมสุดยอดนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเสริมพลังให้ประชาชนทุกภาคส่วน ใช้ประโยชน์จากระบบอาหารเพื่อการฟื้นตัวจากโควิด-๑๙ และเปิดโอกาสให้ผู้นำประเทศทั่วโลกแสดงความมุ่งมั่นและนำเสนอแผนการดำเนินงานด้านการพลิกโฉมระบบอาหารเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดช่วงทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action) รวมถึงไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมขนาดใหญ่

นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำในการพลิกโฉมระบบอาหารสู่ความยั่งยืนและสมดุล และเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนร่วมกันพลิกโฉมระบบอาหารสู่ความยั่งยืนและความสมดุลในทุกมิติ เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ไทยพร้อมจะร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ

ทั้งภายในและระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อพลิกโฉมระบบอาหารโลกสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

นายกรัฐมนตรีแสดงวิสัยทัศน์ของไทย ?มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน? ในการพลิกโฉมระบบอาหารตามนโยบาย 3S ที่ให้ความสำคัญกับ

(๑) Safety - ความปลอดภัยทางอาหาร (๒) Security - ความมั่นคงทางอาหาร และ (๓) Sustainability - ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศการเกษตร และการขับเคลื่อนโมเดล เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model: BCG Model)

เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน สมดุล และทั่วถึง

๒. ภารกิจของรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างการเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ ๗๖

ณ นครนิวยอร์ก และการเยือนกรุงวอชิงตัน

๒.๑ ภารกิจของรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศดอน ปรมัตถ์วินัย ที่นครนิวยอร์ก (๑) การหารือทวิภาคีกับผู้แทนระดับรัฐมนตรี (๑๕ คน) ในประเด็นหลัก อาทิ ปัญหาสภาพภูมิอากาศ พลังงานหมุนเวียน และความร่วมมือทวิภาคีในด้านต่าง ๆ

โดยมีผลสรุปสำคัญ ดังนี้

การพบหารือกับ ดร. สุลฏอน อัล ญาบิร (Sultan Al Jaber) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้แทนพิเศษ ด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แสดงความยินดีกับนครดูไบในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo 2020 และหารือความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปเข้าร่วมพิธีเปิดศาลาไทย (Thai Pavilion) ที่เมืองดูไบ ระหว่างเดินทางกลับจากสหรัฐฯ ด้วย

การหารือกับนายโอสการ์ โฮเซ ริการ์โด มาอุร์ตัว เด โรมัญญา (?scar Jos? Ricardo Ma?rtua de Roma?a) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเปรู ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบผลักดันการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ไทย-เปรู ครั้งที่ ๖ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี และส่งเสริมความร่วมมือในกรอบเอเปค

การหารือกับ ศ. คามีณิ ลักษมัณ ปีริส (Gamini Lakshman Peiris) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศศรีลังกา ไทยได้แสดงความพร้อมในการรับตำแหน่งประธาน BIMSTECหรือกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศรอบมหาสมุทรอินเดีย ต่อจากศรีลังกาในปี ๒๕๖๕ พร้อมนำเสนอแนวคิด BCG โมเดล เป็นหัวข้อหลักระหว่างการเป็นประธาน BIMSTEC และเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีหน้า

การหารือกับนายรุสลัน คาซัคบาเยฟ (Ruslan Kazakbaev) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐคีร์กีซ ในเรื่องการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพ เศรษฐกิจยูเรเชีย (Thailand - Eurasian Economic Union Agreement)

การหารือกับนางเวรอนีกา นาตานีแยล มากามูโดลวู (Veronica Nataniel Macamo Dlhov) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือโมซัมบิก เพื่อกระชับความร่วมมือด้านโครงการเพื่อการพัฒนา และการขยายความร่วมมือในสาขาใหม่ ๆ และได้ขอบคุณฝ่ายโมซัมบิกที่สนับสนุน การลงทุนของไทยในโมซัมบิกมาโดยตลอด

การหารือกับ เชค ดร. อะห์มัด นาศิร อัลมุฮัมมัด อัลอะห์มัด อัลญาบิร อัศเศาะบาฮ์ (Sheikh Dr.Ahmed Nasser Al-Mohammed Al-Ahmed Al-Jaber Al-Sabah) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกิจการความร่วมมือคูเวต ในการกระชับความร่วมมือทวิภาคี ทั้งความมั่นคงทางอาหาร

การศึกษา ปัญญาประดิษฐ์/ไอที ความมั่นคงทางไซเบอร์ และความร่วมมือในกรอบ ACD และ OIC

การหารือกับนายธีโอโดโร โลเปซ ล็อกซิน จูเนียร์ (Teodoro Lopez Locsin jr.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฟิลิปปินส์ ถึงสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ สองฝ่าย ยืนยันความพร้อมจัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JCBC) ครั้งที่ ๖ เพื่อหารือกระชับความร่วมมือทวิภาคี

การหารือกับนายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ (Sergey Lavrov) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ในการส่งเสริม ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และแลกเปลี่ยน ทัศนะเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ พร้อมย้ำคำเชิญประธานาธิบดีปูติน เข้าร่วมการประชุมเอเปคในปีหน้า

การหารือกับนางเร็ตโน มาร์ซูดี (Retno Marsudi) รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น เกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาค โดยเฉพาะสถานการณ์ในเมียนมา

การหารือกับ ดร. สุพรหมณยัม ชัยศังกระ (Subrahmanyam Jaishankar) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัคซีนโควิด - ๑๙ และแลกเปลี่ยน ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาค รวมถึงสถานการณ์ในเมียนมา

การหารือกับ ดร. อาบุลคาลัม อับดุล โมเมน (Abulkalam Abdul Momen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ ในประเด็นความร่วมมือในกรอบ BIMSTEC และ ACD การส่งเสริม ความเชื่อมโยงในภูมิภาค (Connectivity) กิจกรรมฉลองความสัมพันธ์ครบ ๕๐ ปี ในปีหน้า รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาผู้พลัดถิ่นจากรัฐยะไข่ ซึ่งมีพรมแดนติดกับรัฐยะไข่ของเมียนมา

การหารือกับนางมาริส เพย์น (Maris Payne) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย ในประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคี ประเด็นในภูมิภาค ประเด็นระหว่างประเทศ และประเด็นสถานการณ์ในเมียนมา

การหารือกับ ดร. อับดุลละฏีฟ บิน รอชิด อัซซัยยานี (Abdullatif bin Rashid Al Zayani) รัฐมนตรีต่างประเทศบาห์เรน เกี่ยวกับ การจัดตั้งกลไกเพื่อติดตามโครงการที่สองประเทศดำเนินร่วมกัน และการสนับสนุนการเป็นประธานกรอบความร่วมมือ ACD ของบาห์เรนในปี ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๑ - ๒๐๒๒)

การหารือกับนายบุ่ย แทงห์ เซิน (Bui Thanh Son) รัฐมนตรีว่า การกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือของไทยในการรับมือกับโควิด-๑๙ และการจัดประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-เวียดนาม (JCBC) ครั้งที่ ๕ และอาจมีการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอีกด้วย

การหารือกับนายเปเตอร์ ซิยาร์โท (P?ter Szijj?rt?) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าฮังการี ในประเด็นความร่วมมือทางสาธารณสุข การจัดหาวัคซีนโควิด-๑๙ และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากฮังการี และการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) Thai-EU

(๒) การหารือกับผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ (๓ รายการ)

การหารือกับนายอันโตนิอู กุแตเรช (Ant?nio Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ กระชับความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยสร้างสมดุลของสรรพสิ่ง (Balance of All Things) และยืนยันบทบาทที่แข็งขันของไทยในการเป็นผู้ประสานงานอาเซียน ? สหประชาชาติ ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังชื่นชมรายงาน ?Our Common Agenda? ของเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งจะช่วยวางแนวทางการดำเนินงาน เพื่อการบรรลุเป้าหมาย

การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป นายกูแตเรชฯ ชื่นชมที่ไทยทำงานอย่างใกล้ชิดกับสหประชาชาติในหลายด้าน และชื่นชมการที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของสหประชาชาติในเอเชีย นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้สรุปสถานการณ์ในเมียนมาและการทำงานของอาเซียนให้แก่เลขาธิการสหประชาชาติ

การหารือกับนายอับดุลเลาอ์ ชะฮีด (Abdulla Shahid) ประธานสมัชชาสหประชาชาติ ในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ และการส่งเสริมบทบาทเยาวชนในการรับมือสิ่งท้าทายของโลก โดยประธานสมัชชาฯ จะเยือนไทย เพื่อร่วมประชุมเอสแคป

การหารือกับนายปีเตอร์ เมาเรอร์ (Peter Maurer) ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ถึงแนวทางและการดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมา และอัฟกานิสถาน ซึ่งไทยพร้อมสานต่อความร่วมมือที่มีมาอย่างยาวนาน

(๓) การหารือกับภาคเอกชน

การหารือกับคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐฯ?อาเซียน (USABC) และหอการค้าสหรัฐฯ (USCC) โดยมีประธานUSABC ผู้อำนวยการบริหาร USCC

และผู้บริหารจาก ๙ บริษัท ได้แก่ Chevron, Koch Industries, Dow, Microsoft, Citi, Pfizer, Cheniere Energy และ Jacobs Engineering เข้าร่วม เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ผลักดันการลงทุน และส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชนสหรัฐฯ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยจากโควิด-๑๙ ทั้งด้านวัคซีน เศรษฐกิจ BCG ดิจิทัล พลังงาน ห่วงโซ่อุปทาน และการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี ๒๕๖๕

(๔) สำหรับการเข้าร่วมการประชุมที่สำคัญ คือ การเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน - สหรัฐฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะ ประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ เป็นประธานร่วม

อาเซียนและสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำความร่วมมือในการกระจายวัคซีนโควิด-๑๙ การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรักษา สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเพื่อฟื้นฟูอย่างยั่งยืนจากโควิด-๑๙

โดยมีการหารือเรื่องการสนับสนุนวัคซีนโดยการบริจาคผ่านกรอบ COVAX Facility ไทยสนับสนุนให้วัคซีน ยา และการรักษาโควิด-๑๙ เป็นสินค้าสาธารณะของโลก สนับสนุนกลไกพหุภาคีในการรับมือกับโควิด-๑๙

๒.๒ ภารกิจของรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดอน ปรมัตถ์วินัย ที่กรุงวอชิงตัน ที่สำคัญ ได้แก่

การหารือกับนายแอนโทนี บลิงเคน (Anthony Blinken) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำความเป็นพันธมิตรไทย-สหรัฐฯ การส่งเสริมความร่วมมือด้านวัคซีนและโควิด-๑๙ ซึ่งไทยได้ย้ำความจำเป็นเร่งด่วนในการได้รับวัคซีนที่สหรัฐฯ จะบริจาคเพิ่มเติม ๑ ?ล้านโดส และที่ได้สั่งซื้อจากสหรัฐฯ จำนวน ๓๐ ล้านโดส ซึ่งเริ่มทยอยส่งมอบแล้วเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๔ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านวาระการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยและสหรัฐฯ ในปี ๒๕๖๕ ซึ่งสหรัฐฯ จะรับช่วงต่อการเป็นเจ้าภาพต่อจากไทย และหารือพัฒนาการสำคัญในภูมิภาค ทั้งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเมียนมา

การพบหารือกับนายเคิร์ท แคมป์เบลล์ (Kurt Campbell) ผู้ประสานงานด้านอินโดแปซิฟิก สภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ สองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับ

ความร่วมมือด้านวัคซีนโควิด-๑๙ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาค และสถานการณ์ในเมียนมา

การเข้าพบ ส.ว. แทมมี ดักเวิร์ธ (Tammy Duckworth) หนึ่งในมิตรของไทยที่ได้ช่วยติดตามผลักดันการจัดสรรวัคซีนให้กับไทย เมื่อมีโอกาสพบกันก็ได้ขอบคุณในความห่วงใยและความปรารถนาดีที่มีให้กับประเทศไทย และได้พูดคุยเพื่อผลักดันการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมจากสหรัฐฯ และได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการบริจาควัคซีนของสหรัฐฯ ซึ่งสำหรับวัคซีน ๑ ล้านโดสที่สหรัฐฯ ได้ประกาศว่าจะมอบให้ ไทยเป็นล็อตที่ ๒ นั้น ในขณะนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ แจ้งว่ายังอยู่ระหว่าง ดำเนินการภายใน โดยยังไม่ได้แจ้งกำหนดการส่งมอบวัคซีน และสหรัฐฯ ยังไม่ได้มีการประสานงานด้านเอกสารกับหน่วยราชการไทย

กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้ประสานงานติดตามพัฒนาการเรื่องการมอบวัคซีนเพิ่มเติมจากสหรัฐฯ ล็อตที่ ๒ และจะติดตามความคืบหน้าเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

การพบหารือกับนางซาแมนธา พาวเวอร์ (Samantha Power) ผู้บริหารของ USAID เกี่ยวกับความเป็นหุ้นส่วนไทย-สหรัฐฯ ในการรับมือกับโควิด-๑๙

การเข้าถึงและผลิตวัคซีน และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

การพบปะชุมชนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงวอชิงตันกว่า ๕๐ คน รวมทั้งหน่วยงานทีมประเทศไทยที่สถานทูตเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน

รองนายกรัฐมนตรี/ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงความพยายามของรัฐบาลในการจัดหายาและวัคซีน มาตรการสาธารณสุขต่าง ๆ

และการเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม การดำเนินนโยบายการทูตเชิงรุกด้านความร่วมมือเรื่องวัคซีนในการจัดหาวัคซีน ทั้งในรูปแบบของการจัดซื้อ

การแลกเปลี่ยน และการรับความช่วยเหลือ นอกจากนี้ ได้ขอบคุณคนไทยในพื้นที่ที่มีส่วนช่วยผลักดันในการจัดหาวัคซีน และได้สอบถามความเป็นอยู่ของชุมชนไทยในสหรัฐฯ จากสถานการณ์ แพร่ระบาดของโควิด-๑๙ และรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาบริการคนไทยในสหรัฐฯ

๓. ประกาศเตือนคนไทยที่เข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายในกัมพูชา

ผมขอแสดงห่วงกังวลถึงพี่น้องคนไทยไม่ละเมิดกฎหมายของกัมพูชา เนื่องจากจะส่งผลให้ถูกจับกุมและดำเนินคดีได้ ซึ่งถึงแม้ผู้ลักลอบจะอ้างว่าถูกหลอก

แต่ก็มีความผิดฐานเข้าเมืองผิดกฎหมายและทำงานผิดกฎหมาย และจะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ รวมทั้งอาจถูกทำร้ายร่างกาย โดนกักบริเวณ และต้องพักในสถานที่สุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ โดยในช่วงที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ได้รับคำร้องขอความช่วยเหลือจากคนไทยเป็นจำนวนมาก

และที่ผ่านมาได้พยายามให้ความช่วยเหลือคนไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด และการให้ความช่วยเหลือในบางกรณีมีข้อจำกัด เนื่องจากเป็นกฎหมายภายในประเทศที่ต้องเคารพและไม่สามารถแทรกแซง กระทรวงการต่างประเทศจึงขอเตือนคนไทยที่กำลังจะเดินทางไปทำงานที่กัมพูชาอย่างผิดกฎหมายให้หลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าว

๔. ความร่วมมือจากมิตรประเทศในการช่วยไทยรับมือสถานการณ์โควิด-๑๙ (สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสเปน)

๔.๑ การแลกเปลี่ยนวัคซีนกับสิงคโปร์ และการจัดส่งเวชภัณฑ์อื่น ๆ ที่ได้รับมอบ

เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยเข้าร่วมพิธีการรับมอบวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ของแอสตร้าเซเนก้า จำนวน ๑๒๒,๔๐๐ โดส จากเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย โดยมีนายดุสิต เมนะพันธุ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและผู้แทนระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วมด้วย การรับมอบวัคซีนดังกล่าวเป็นความร่วมมือแลกเปลี่ยนวัคซีนระหว่างไทยกับสิงคโปร์

เพื่อสนับสนุนการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙

นอกจากนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้มอบชุดตรวจ Antigen Rapid Test จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ ชุด และก้านเก็บตัวอย่างเยื่อบุโพรงจมูก จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ ชุดแก่ไทยด้วย วัคซีนและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ดังกล่าวได้ขนส่งถึงไทยแล้วเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๔

๔.๒ วัคซีนแอสตราเซเนก้า จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ โดส จากญี่ปุ่น เดินทางถึงไทย

เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๔ วัคซีนแอสตราเซเนก้า จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ โดส ที่รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้แก่ประเทศไทยเป็นล็อตที่ ๓ ได้เดินทางถึงประเทศไทยแล้ว

โดยในวันดังกล่าว ยังเป็นวันครบรอบ ๑๓๔ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น ด้วย

นอกจากนั้น เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายนที่ผ่านมา ยังได้มีพิธีมอบเครื่องผลิตออกซิเจนที่รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้แก่ไทย จำนวน ๘๖๘ เครื่อง มูลค่า ๑.๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยเป็นการมอบความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากการมอบวัคซีน กระทรวงการต่างประเทศต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อไมตรีจิตของรัฐบาลญี่ปุ่นมาในโอกาสนี้

๔.๓ การจัดซื้อวัคซีนจากสเปน

เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เรื่องการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ของแอสตร้าเซเนก้า เพิ่มเติมอีกจำนวน ๑๖๕,๐๐๐ โดส จากรัฐบาลสเปน ภายหลังคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเรื่องการจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า จำนวน ๔๔๙,๕๐๐ โดส ทำให้ประเทศไทยสามารถจัดซื้อวัคซีนจากสเปนรวมทั้งสิ้น ๖๑๔,๕๐๐ โดส โดยจะมีการขนส่งทั้งสองชุดพร้อมกันในช่วงต้นเดือนตุลาคม ๒๕๖๔

สเปนเป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรปที่พร้อมจำหน่ายต่อวัคซีนโควิด-๑๙ ให้แก่ไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไทยในฐานะมิตรประเทศของสเปนในภูมิภาค การจัดซื้อวัคซีนฯ จากสเปนเป็นผลสำเร็จจากการทำงานเชิงรุกอย่างใกล้ชิดระหว่างฝ่ายไทย ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด และฝ่ายต่างประเทศ ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศสเปน กระทรวงสาธารณสุขสเปน สถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสเปนประจำประเทศไทย และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการทูตเชิงรุกด้านความร่วมมือเรื่องวัคซีนของไทยและเป็นข้อริเริ่มของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเจรจาจัดซื้อ/รับบริจาควัคซีนเพิ่มเติมจากมิตรประเทศในสหภาพยุโรปด้วย

๕. ผลการประชุมฝ่ายเอเชียขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe (OSCE) Asian Conference)

ไทยในฐานะประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือฝ่ายเอเชียขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Co-operation in Europe ? OSCE) เป็นเจ้าภาพร่วมกับสาธารณรัฐแอลเบเนียจัดประชุม 2021 OSCE Asian Conference ในหัวข้อ ?Common Responses to Emerging Security Challenges in Advancing Comprehensive Security? โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงเปิดการประชุมฯ

โดยย้ำถึงความสำคัญของการดำเนินนโยบายเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงที่มี ?คน? เป็นศูนย์กลางควบคู่กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมหลังวิกฤต

โควิด-๑๙ ที่เน้นสร้างความร่วมมือให้มากขึ้น ลดความขัดแย้งและการเผชิญหน้าของทุกฝ่าย ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภูมิภาคในฐานะปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างสันติภาพ ความมั่นคง และความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศ

๖. การปรับลดระยะเวลากักตัวสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทย

เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔ ที่ประชุม ศบค. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบให้มีการปรับมาตรการเดินทางเข้า-ออกประเทศไทย ด้งนี้

(๑) การลดวันกักตัวสำหรับผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมนี้ เป็นต้นไป โดยให้ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยในทุกช่องทางที่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์มาแล้วอย่างน้อย ๑๔ วัน ให้กักตัวอย่างน้อย ๗ วัน และต้องตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ๒ ครั้ง ครั้งแรก วันที่ ๐-๑

(วันที่เข้าพัก-วันแรก) ครั้งสอง วันที่ ๖-๗

(๒) ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศซึ่งโดยสารมาทางเครื่องบิน และไม่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน ให้กักตัวอย่างน้อย ๑๐ วัน และต้องตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR

๒ ครั้ง ครั้งแรก วันที่ ๐-๑ (วันที่เข้าพัก-วันแรก) ครั้งที่ ๒ วันที่ ๘-๙

(๓) ผู้เดินทางเข้าประเทศไทยทางช่องทางบก และไม่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน ให้กักตัวอย่างน้อย ๑๔ วัน และตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ๒ ครั้ง ครั้งแรก วันที่ ๐-๑ (วันที่เข้าพัก-วันแรก) ครั้งที่ ๒ วันที่ ๘-๙

ทั้งนี้ กรมการกงสุลได้ชะลอการออก COE เป็นการชั่วคราวเมื่อวันที่ ๒๗ - ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๒.๐๐ น. เพื่อให้ผู้ขอรับ COE ลดวันกักตัวตามเงื่อนไขตามมาตรการเข้า-ออกประเทศใหม่ ซึ่ง ศบค.ได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ที่ผ่านมาได้ และขณะนี้ ได้กลับมาดำเนินการออก COE ตามปกติแล้ว

English version

Easing of Measures:

The Center for COVID-19 Situation Administration (CCSA) General Meeting, chaired by the Prime Minister on 27 September 2021 approved a reduction in the quarantine period for travelers entering Thailand. The new measures will come into effect from tomorrow (1 October 2021).

The quarantine measures for those traveling into Thailand will be categorised into as follows;

First, those who have vaccine certificates and have been vaccinated for over 14 days will be subject to a minimum of 7 days of quarantine with two RT-PCR tests conducted on the first day of arrival and on the 6th or the 7th day of quarantine.

Second, those who have not received full vaccination traveling into the country via sea or air will be subject to a minimum of 10 days of quarantine and two RT-PCR tests.

Third, those who have not received full vaccination traveling into the country via land will be subject to a minimum of 14 days of quarantine with two RT PCR tests.

The Department of Consular Affairs of Thailand temporarily suspended the issuance of COEs during 27 September - 28 September 12.00 pm. to allow COE applicants to reduce the quarantine period upon arrival in Thailand according to the stipulated conditions under the new entry measure, which was approved by the CCSA on 27 September. Now the Royal Thai Embassy and Consulate General around the world have resumed issuing the COE as of 28 September 12.00 pm.

๗. การขับเคลื่อนมวยไทยสู่โอลิมปิก

เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee: IOC) ได้ให้การรับรองเต็มรูปแบบแก่สหพันธ์มวยไทยนานาชาติ (International Federation of Muaythai Associations: IFMA) ทำให้สหพันธ์มวยไทยฯ มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์การคัดเลือกประเภทกีฬาเข้าสู่การแข่งขันโอลิมปิกของ IOC นำไปสู่ความพยายามของการกีฬาแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการภายในเพื่อผลักดันมวยไทย โดยมีแผนการดำเนินงาน (Roadmap) คือ การผลักดันมวยไทยให้ได้รับการบรรจุในเอเชี่ยนเกมส์ปี ๒๕๖๕ ที่นครหางโจว และโอลิมปิกเกมส์ปี ๒๕๖๗

ที่กรุงปารีส และปี ๒๕๗๑ ที่นครลอสแอนเจลิส

แผนงานในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย ประกอบด้วย ๑) สร้างความสัมพันธ์กับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ๒) ประสานงานเมือง/ประเทศเจ้าภาพและ IOC และ

๓) สร้างความเชื่อมั่นให้กับเมือง/ประเทศเจ้าภาพและ IOC ด้วยการจัดกิจกรรมหลักการแข่งขันกีฬามวยไทย

กระทรวงฯ ได้มีบทบาทในการผลักดันเรื่องนี้ โดยขอให้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ เพื่อขอรับการสนับสนุนให้มวยไทยได้รับการบรรจุในการแข่งขันฯ ต่าง ๆ ทั้งเอเชี่ยนเกมส์ที่จีน และโอลิมปิกที่ฝรั่งเศส

นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังมี ?โครงการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์มวยไทย? เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับมวยไทยและสร้าง visibility และความนิยมแก่มวยไทย

๘. การประชุมสามัญของคณะกรรมการมูลนิธิไทย ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔

การประชุมจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ โดยนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี ประธานมูลนิธิไทยเป็นประธานการประชุม และผู้แทนระดับสูงทั้งจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ได้แลกเปลี่ยนความคิดเรื่อง soft power ของไทย เป้าหมายของมูลนิธิไทย คือ การส่งเสริมความนิยมไทยและเกียรติภูมิของคนไทย

โดยอาศัยการทูตสาธารณะเป็นเครื่องมือผลักดันอำนาจโน้มน้าว เพื่อสร้าง ?แฟนคลับ? ของประเทศไทยทั่วโลก ทั้งนี้ มูลนิธิไทยเสนอโลโก้ และคำขวัญใหม่ คือ

?ส่งเสริมมิตรภาพและไมตรีจิตระหว่างประชาชน? หรือ ?Connecting People Through Goodwill and Friendship"

มูลนิธิไทยมีโครงการหลายโครงการที่น่าสนใจมากมายซึ่งกำลังจะเผยแพร่

สู่สาธารณชน อาทิ โครงการ Thai Language Courses ซึ่งเป็นการเรียนการสอนภาษาไทยออนไลน์ด้วยภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ กว่า ๑๐ ภาษา ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดตำราเรียนได้เองและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายผ่านเว็บไชต์ของมูลนิธิไทยที่ thailandfoundation.or.th และมีข้อมูลที่น่าสนใจอื่น ๆ ด้วย เช่น การปฐมนิเทศชาวต่างชาติในประเทศไทย ทั้งนักการทูต และนักลงทุนซึ่งถือเป็นการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน soft power ของไทย

๙. ประชาสัมพันธ์

๙.๑ การสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ "Strengthening Thailand - Singapore Economic Investment Partnership in the Post-COVID-19 Era and the Launch of Business Information Centre (BIC)" ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐-๑๕.๐๐ น. สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ จะจัดการสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ "Strengthening Thailand - Singapore Economic Investment Partnership in the Post-COVID-19 Era and the Launch of Business Information Centre (BIC)" เปิดตัวศูนย์ธุรกิจของสถานเอกอัครราชทูตฯ และพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสิงคโปร์ โดยมีผู้ร่วมเสวนา อาทิ เอกอัครราชทูตสุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ สามารถรับชมได้ที่เฟซบุ๊ก Royal Thai Embassy, Singapore

๙.๒ รายการ Spokesman Live!!! สัมภาษณ์นายดุสิต เมนะพันธุ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หัวข้อ ?การขับเคลื่อนการทูตทวิภาคีของไทย ในบริบทใหม่ของความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก? ในวันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐-๑๓.๓๐ น. สามารถติดตามชมได้ที่ Facebook ?

กระทรวงการต่างประเทศ? และ ?Saranrom Radio?

๘.๓ รายการบันทึกสถานการณ์ ทาง FM 92.5 (ภาษาไทย) สัมภาษณ์ ดร. ไกรจักร ธีรตยาคีนันท์ นักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา) กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หัวข้อ ?ประเด็น CPTPP: ทำความรู้จักกลไก ISDS (Investor-State Dispute Settlement)? ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๓๐-๐๘.๔๕ น. สามารถรับฟังย้อนหลังได้ที่ Facebook ?

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย?

๘.๔ MFA Update ทาง FM 88.0 (ภาษาอังกฤษ) สัมภาษณ์นายมงคล วิศิษฎ์สตัมภ์ กงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง หัวข้อ ?Yunnan: Building Strong Bridges between China and Thailand? ในวันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๐๕ น. สามารถรับฟังย้อนหลังได้ทาง Facebook ?FM 88 Radio Thailand English?

ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ