กรุงเทพ--16 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 14-15 เมษายน 2551 เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง และสานต่อความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างสองประเทศ รวมทั้งเพื่อเตรียมการเยือนจีนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2551
ในระหว่างการเยือนฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดเข้าเยี่ยมคารวะนายสี จิ้นผิง รองประธานาธิบดีจีน ตลอดจนพบหารือกับนายหยาง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน และนายหวัง เจียรุ่ย รัฐมนตรีกระทรวงวิเทศสัมพันธ์ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นประธานในพิธีเปิดที่ทำการฝ่ายกงสุลแห่งใหม่ และสำนักงานศูนย์ Business Information Center (BIC) ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง โดยศูนย์แห่งนี้จะอำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจทั้งของไทยและต่างประเทศในจีน โดยเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่างๆ อาทิ ด้านธุรกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการกงสุลแบบครบวงจร อีกทั้งจะมีการประชุมร่วมกับหัวหน้าสำนักงานของไทยทุกแห่งในจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการภายใต้แนวคิดทีมประเทศไทยด้วย
ประเด็นสำคัญที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะหยิบยกขึ้นหารือกับฝ่ายจีนจะมุ่งเน้นใน 2 ลักษณะ คือ 1) ความสัมพันธ์ฉันมิตรที่แน่นแฟ้น และ 2) ความสัมพันธ์ที่เอื้อผลประโยชน์แก่กันที่เป็นรูปธรรม โดยในเรื่องของความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นจะประกอบด้วย การเยือนในระดับพระราชวงศ์ การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย การยกระดับสำนักงานกงสุล และการแสดงความเข้าใจและเห็นใจจีนในประเด็นที่ละเอียดอ่อนต่างๆ ขณะที่เรื่องความสัมพันธ์ที่เอื้อผลประโยชน์แก่กันที่เป็นรูปธรรม จะเป็นไปตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-จีน (Joint Action Plan) ซึ่งมีความร่วมมือครอบคลุมทุกด้านจำนวน 15 สาขา โดยทั้งไทยและจีนจะร่วมกันแลกเปลี่ยนความเห็นและทบทวนความก้าวหน้าของความร่วมมือที่ผ่านมา โดยเน้นเฉพาะสาขาที่สำคัญคือ ด้านการค้าการลงทุน การคมนาคมขนส่ง พลังงาน การศึกษา และสาธารณสุข
ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศมีการพัฒนาที่ดีอย่างต่อเนื่อง และเป็นตัวอย่างที่ดีของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศอื่นๆ ทั้งในด้านการเมือง ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีความไว้ใจซึ่งกันและกัน สำหรับด้านเศรษฐกิจก็ได้พัฒนาความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อกันมาโดยตลอด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ไทย-จีนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ในทุกด้าน และได้พัฒนาไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในปี 2544 ในปัจจุบันความสัมพันธ์ไทย-จีนพัฒนาภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-จีน (Joint Action Plan) ซึ่งเป็นการวางกรอบความร่วมมือใน 5 ปี (2550-2554) ด้วยการทำให้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือต่างๆ เป็นรูปธรรมที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ทั้งสองประเทศ และเป็นกรอบในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต
อนึ่ง มูลค่าการค้า/การลงทุนไทย-จีนมีปริมาณที่สูงมาก โดยในปี 2550 มูลค่าการค้า สองฝ่ายมีจำนวน 31,062 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากปี 2549) ขณะที่มูลค่าการลงทุนของจีนในไทยมีจำนวน 495 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 6 เท่าตัวจากปี 2549) ส่วนการลงทุนของไทยในจีนมีจำนวน 89.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 39 จากปี 2549) รัฐบาลไทย-จีนได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายให้มูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 6,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2553
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 14-15 เมษายน 2551 เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง และสานต่อความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างสองประเทศ รวมทั้งเพื่อเตรียมการเยือนจีนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2551
ในระหว่างการเยือนฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดเข้าเยี่ยมคารวะนายสี จิ้นผิง รองประธานาธิบดีจีน ตลอดจนพบหารือกับนายหยาง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน และนายหวัง เจียรุ่ย รัฐมนตรีกระทรวงวิเทศสัมพันธ์ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นประธานในพิธีเปิดที่ทำการฝ่ายกงสุลแห่งใหม่ และสำนักงานศูนย์ Business Information Center (BIC) ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง โดยศูนย์แห่งนี้จะอำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจทั้งของไทยและต่างประเทศในจีน โดยเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่างๆ อาทิ ด้านธุรกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการกงสุลแบบครบวงจร อีกทั้งจะมีการประชุมร่วมกับหัวหน้าสำนักงานของไทยทุกแห่งในจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการภายใต้แนวคิดทีมประเทศไทยด้วย
ประเด็นสำคัญที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะหยิบยกขึ้นหารือกับฝ่ายจีนจะมุ่งเน้นใน 2 ลักษณะ คือ 1) ความสัมพันธ์ฉันมิตรที่แน่นแฟ้น และ 2) ความสัมพันธ์ที่เอื้อผลประโยชน์แก่กันที่เป็นรูปธรรม โดยในเรื่องของความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นจะประกอบด้วย การเยือนในระดับพระราชวงศ์ การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย การยกระดับสำนักงานกงสุล และการแสดงความเข้าใจและเห็นใจจีนในประเด็นที่ละเอียดอ่อนต่างๆ ขณะที่เรื่องความสัมพันธ์ที่เอื้อผลประโยชน์แก่กันที่เป็นรูปธรรม จะเป็นไปตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-จีน (Joint Action Plan) ซึ่งมีความร่วมมือครอบคลุมทุกด้านจำนวน 15 สาขา โดยทั้งไทยและจีนจะร่วมกันแลกเปลี่ยนความเห็นและทบทวนความก้าวหน้าของความร่วมมือที่ผ่านมา โดยเน้นเฉพาะสาขาที่สำคัญคือ ด้านการค้าการลงทุน การคมนาคมขนส่ง พลังงาน การศึกษา และสาธารณสุข
ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศมีการพัฒนาที่ดีอย่างต่อเนื่อง และเป็นตัวอย่างที่ดีของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศอื่นๆ ทั้งในด้านการเมือง ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีความไว้ใจซึ่งกันและกัน สำหรับด้านเศรษฐกิจก็ได้พัฒนาความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อกันมาโดยตลอด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ไทย-จีนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ในทุกด้าน และได้พัฒนาไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในปี 2544 ในปัจจุบันความสัมพันธ์ไทย-จีนพัฒนาภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-จีน (Joint Action Plan) ซึ่งเป็นการวางกรอบความร่วมมือใน 5 ปี (2550-2554) ด้วยการทำให้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือต่างๆ เป็นรูปธรรมที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ทั้งสองประเทศ และเป็นกรอบในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต
อนึ่ง มูลค่าการค้า/การลงทุนไทย-จีนมีปริมาณที่สูงมาก โดยในปี 2550 มูลค่าการค้า สองฝ่ายมีจำนวน 31,062 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากปี 2549) ขณะที่มูลค่าการลงทุนของจีนในไทยมีจำนวน 495 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 6 เท่าตัวจากปี 2549) ส่วนการลงทุนของไทยในจีนมีจำนวน 89.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 39 จากปี 2549) รัฐบาลไทย-จีนได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายให้มูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 6,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2553
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-