กรุงเทพ--16 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 14-15 เมษายน 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง และเน้นย้ำความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดี รวมทั้งหารือเกี่ยวกับการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2551 ในระหว่างการเยือน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะนาย สี จิ้นผิง รองประธานาธิบดีจีน พบหารือกับนายหยาง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน และนายหวัง เจียรุ่ย รัฐมนตรีกระทรวงวิเทศสัมพันธ์ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ จะเป็นประธานในพิธีเปิดที่ทำการฝ่ายกงสุลแห่งใหม่ และสำนักงานศูนย์ Business Information Center รวมทั้งพบหัวหน้าสำนักงานของไทยทุกแห่งในจีน และใช้โอกาสดังกล่าวมอบนโยบายแก่ทีมประเทศไทยในจีน
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางเยือนนครแฟรงก์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในวันที่ 25 เมษายน 2551 เพื่อมอบนโยบายในการขยายความสัมพันธ์ด้านต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ให้กับทีมประเทศไทยในนครแฟรงก์เฟิร์ต นอกจากนี้ จะมีการหารือกับเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน เกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยและพิทักษ์ไทยขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน เพื่อเป็นศูนย์รวมในการแก้ไขปัญหา คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิคนไทย ตลอดจนส่งเสริมศักยภาพของคนไทยที่อยู่ในเยอรมนี
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงกรณีแรงงานพม่า 54 คน ที่เสียชีวิตในระหว่างการลักลอบเข้ามาในประเทศไทยว่า กระทรวงการต่างประเทศมีความรู้สึกเสียใจต่อกรณีดังกล่าว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้สั่งการให้กรมเอเชียตะวันออกส่งผู้แทนเดินทางไปเยี่ยมชาวพม่าที่ยังมีชีวิตและพักรักษาตัวอยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำด้วยว่า ทางการไทยได้ช่วยจัดการเรื่องศพผู้เสียชีวิตด้วย ทั้งนี้ หากตรวจสอบพบว่ากรณีนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นการค้ามนุษย์ ทางการไทยก็จะใช้มาตรการเข้มงวดในการจัดการกับประเด็นปัญหาดังกล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงการเยือนสหภาพพม่า เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551 ว่า หนึ่งในประเด็นที่ยกขึ้นหารือ คือ เรื่องการตรวจสอบพิสูจน์สัญชาติของแรงงานพม่า รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย
ภายหลังการแถลงข่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามต่อผู้สื่อข่าว ดังนี้
1. การเตรียมการของไทยเกี่ยวกับการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก
ไทยเป็นประเทศทีมีประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงออก และตามสิทธิที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของไทย การประท้วงสามารถกระทำได้โดยสันติและต้องไม่มีอาวุธ ทั้งนี้ ทางการไทยจะดูแล ให้การวิ่งคบเพลิงฯ ในประเทศไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไทยไม่เห็นด้วยกับความพยายามที่จะเชื่อมโยงประเด็นการเมืองเข้ากับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
2. การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในจีนกับปัญหาทิเบต
ประเทศไทยถือว่าปัญหาทิเบตเป็นปัญหาภายในของจีนและเชื่อว่าจีนสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โดยสันติวิธี ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับการโยงประเด็นทิเบตเข้ากับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และประเทศไทยยึดหลักนโยบายจีนเดียวตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องทิเบตหรือไต้หวัน ประเทศไทยถือว่าเป็นกิจการภายในของจีน
3. การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของพม่า
ประเทศไทยอยากเห็นการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในพม่าที่เปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม (inclusiveness) มีความน่าเชื่อถือ (credibility) ซึ่งประชาชนทุกคนสามารถออกเสียงได้โดยเสรีและเป็นธรรม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 14-15 เมษายน 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง และเน้นย้ำความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดี รวมทั้งหารือเกี่ยวกับการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2551 ในระหว่างการเยือน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะนาย สี จิ้นผิง รองประธานาธิบดีจีน พบหารือกับนายหยาง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน และนายหวัง เจียรุ่ย รัฐมนตรีกระทรวงวิเทศสัมพันธ์ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ จะเป็นประธานในพิธีเปิดที่ทำการฝ่ายกงสุลแห่งใหม่ และสำนักงานศูนย์ Business Information Center รวมทั้งพบหัวหน้าสำนักงานของไทยทุกแห่งในจีน และใช้โอกาสดังกล่าวมอบนโยบายแก่ทีมประเทศไทยในจีน
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางเยือนนครแฟรงก์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในวันที่ 25 เมษายน 2551 เพื่อมอบนโยบายในการขยายความสัมพันธ์ด้านต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ให้กับทีมประเทศไทยในนครแฟรงก์เฟิร์ต นอกจากนี้ จะมีการหารือกับเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน เกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยและพิทักษ์ไทยขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน เพื่อเป็นศูนย์รวมในการแก้ไขปัญหา คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิคนไทย ตลอดจนส่งเสริมศักยภาพของคนไทยที่อยู่ในเยอรมนี
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงกรณีแรงงานพม่า 54 คน ที่เสียชีวิตในระหว่างการลักลอบเข้ามาในประเทศไทยว่า กระทรวงการต่างประเทศมีความรู้สึกเสียใจต่อกรณีดังกล่าว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้สั่งการให้กรมเอเชียตะวันออกส่งผู้แทนเดินทางไปเยี่ยมชาวพม่าที่ยังมีชีวิตและพักรักษาตัวอยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำด้วยว่า ทางการไทยได้ช่วยจัดการเรื่องศพผู้เสียชีวิตด้วย ทั้งนี้ หากตรวจสอบพบว่ากรณีนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นการค้ามนุษย์ ทางการไทยก็จะใช้มาตรการเข้มงวดในการจัดการกับประเด็นปัญหาดังกล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงการเยือนสหภาพพม่า เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551 ว่า หนึ่งในประเด็นที่ยกขึ้นหารือ คือ เรื่องการตรวจสอบพิสูจน์สัญชาติของแรงงานพม่า รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย
ภายหลังการแถลงข่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามต่อผู้สื่อข่าว ดังนี้
1. การเตรียมการของไทยเกี่ยวกับการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก
ไทยเป็นประเทศทีมีประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงออก และตามสิทธิที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของไทย การประท้วงสามารถกระทำได้โดยสันติและต้องไม่มีอาวุธ ทั้งนี้ ทางการไทยจะดูแล ให้การวิ่งคบเพลิงฯ ในประเทศไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไทยไม่เห็นด้วยกับความพยายามที่จะเชื่อมโยงประเด็นการเมืองเข้ากับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
2. การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในจีนกับปัญหาทิเบต
ประเทศไทยถือว่าปัญหาทิเบตเป็นปัญหาภายในของจีนและเชื่อว่าจีนสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โดยสันติวิธี ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับการโยงประเด็นทิเบตเข้ากับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และประเทศไทยยึดหลักนโยบายจีนเดียวตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องทิเบตหรือไต้หวัน ประเทศไทยถือว่าเป็นกิจการภายในของจีน
3. การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของพม่า
ประเทศไทยอยากเห็นการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในพม่าที่เปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม (inclusiveness) มีความน่าเชื่อถือ (credibility) ซึ่งประชาชนทุกคนสามารถออกเสียงได้โดยเสรีและเป็นธรรม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-