ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป - กุมภาพันธ์ 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 30, 2011 12:05 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจในเขตยูโรในไตรมาส 4 ของปี 2553 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ที่ร้อยละ 0.3 (%QoQ) และขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งเป็นการขยวายตัวที่ดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 (%YoY) ปจจัยสนับสนุนหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจเขตยูโรโซนขยายตัวดีต่อเนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจหลักขนาดใหญ่ (Core Economies) เช่น เยอรมนี และ ฝรั่งเศส เติบโตดีจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมในประเทศดังกล่าวได้รับอานิสงค์จากความต้องการซื้อจากต่างประเทศที่ดีขึ้นตามเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจรอบนอกเขตยูโร (Peripheral Economies) เช่น กรีซ โปรตุเกส ยังคงอ่อนแอจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะ เครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2554 ที่วัดจากดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อของการผลิตและการบริการ (Composite PMI) และของดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (Economic Sentiment Index) ประจาเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2554 ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง เสถียรภาพเศรษฐกิจ

อัตราการว่างงานของกลุ่มยูโรโซนในเดือนมกราคม 2554 ปรับตัวลดลงตากว่าร้อยละ 10 เป็นครั้งแรก มาอยู่ที่ร้อยละ 9.9 ของกาลังแรงงาน โดยได้รับปจจัยบวกจากอัตราการว่างงานในเยอรมนีและฝรั่สเศส ซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง อัตราเงินเฟอจาก HICP ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ส่งผลให้อัตราเงินเฟอสูงเกินกว่ากรอบเปาหมายอัตราเงินเฟอของธนาคารกลางยุโรปที่กาหนดเปาหมายเงินเฟอไม่ให้เกินร้อยละ 2 ต่อปี เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันภาคการเงิน

ในวันที่ 3 มีนาคม 2554 ธนาคารกลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1 ต่อปี แต่เริ่มส่งสัญญาณแสดงความเป็นห่วงเรื่องแรงกดดันเงินเฟอที่สูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดเงินคาดธนาคารกลางยุโรปอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครึ่งหลังของปี 2554 และส่งผลให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ

ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 4/2553

เศรษฐกิจยูโรไตรมาส 4 ขยายตัวต่อเนื่องจากแรงสนับสนุนของเศรษฐกิจเยอรมนี

สำนักงานสถิติยุโรป ประกาศตัวเลข Second Estimate ของอัตราขยายตัวเศรษฐกิจในเขตยูโร (Euro area: EA16) ในไตรมาส 4 ขยายตัวจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 0.3 (quarter on quarter: QoQ%) และร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (year on year: yoy%) ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 3 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี โดยสาเหตุหลักที่เศรษฐกิจในไตรมาส 4 ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศหลักในเขตยูโรโซน เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Production)ในประเทศหลักดังกล่าวได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจในรอบนอกเขตยูโรโซน (Peripheral) เช่น กรีซ โปรตุเกส ยังคงหดตัวจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาส 1 ของปี 2554

เครื่องชี้เศรษฐกิจเขตยูโรในไตรมาส 1/2554 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส 4 ปีก่อน โดยได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากเศรษฐกิจหลักในเขตยูโรโซน ได้แก่ เยอรมนี และฝรั่งเศส

เครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2554 ที่วัดจากดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อเฉลี่ยของภาคบริการและภาคการผลิต (Composite Purchasing Managers Index: Composite PMI) ของเศรษฐกิจในเขตยูโรโซน บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนน่าจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2554 โดยดัชนี Composite PMI ในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 58.4 และ 58.2 จุด ตามลาดับ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเครื่องชี้เศรษฐกิจจาก Economic Sentiment Index เป็นรายประเทศ (ตามรูปด้านล่าง) จะเห็นได้ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจหลักในเขตยูโรโซน (Core Economies) เช่น เยอรมนี (GE) และฝรั่งเศศ (FR) ยังคงขยายตัวได้ดีกว่าเศรษฐกิจในเขตรอบยูโร (Peripheral Economies) เช่น อิตาลี (IT) สเปน (SP) โปรตุเกส (PT) และกรีซ (GR) ซึ่งยังคงประสบกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจภายในประเทศ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ

อัตราการว่างงานในเขตยูโรปรับตัวลดลงตากว่าร้อยละ 10 เป็นครั้งแรกจากอัตราการว่างงานในเยอรมนีและฝรั่งเศสที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

อัตรการว่างงานที่ปรับตามฤดูกาลแล้วของประเทศในเขต Euro area 16 ประเทศประจาเดือนมกราคม 2554 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.9 ของกาลังแรงงาน ซึ่งเป็นการปรับตัวตากว่าร้อยละ 10 เป็นครั้ง โดยได้รับปัจจัยบวกที่สาคัญจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในเยอรมนีและฝรั่งเศส ที่ส่งผลให้อัตราการว่างงานในเยอรมนีและฝรั่งเศสลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 และร้อยละ 9.6 ในเดือนมกราคม 2554 ขณะที่อัตราการว่างงานในประเทศรอบเขตยูโร ได้แก่ สเปน ไอร์แลนด์ และ โปรตุเกส ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 20.4 ร้อยละ 13.5 และร้อยละ 11.2 ตามลาดับ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ

เงินเฟ้อเขตยูโรโซนเร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 โดยมีสาเหตุหลักจากราคาพลังงานในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 13.1 ต่อปี

ดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ของเศรษฐกิจในเขตยูโร Euro Area ประจาเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4% ต่อปี (%yoy) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 2.3 ต่อปี ในเดือนมกราคม ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเกินกว่ากรอบเปาหมายอัตราเงินเฟอของธนาคารกลางยุโรปที่กาหนดเปาหมายอัตราเงินเฟอ(Inflation Targeting) ไว้ไม่ให้เกินร้อยละ 2 ต่อปี เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน

สำหรับสาเหตุหลักที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟอสูงขึ้นมาก มาจากการที่ราคาสินค้าในหมวดพลังงานปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 12 ต่อปี ในเดือนมกราคม มาอยู่ที่ร้อยละ 13.1 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามการเพิ่มขึ้นของราคานามันในตลาดโลกอันเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาความไม่สงบในประเทศที่เป็นแหล่งผลิตนามันในตะวันออกกลาง ขณะที่ราคาในหมวดอาหารได้ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.5 ต่อปี ในเดือนมกราคม มาอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดอาหารและหมวดพลังงาน (HICP excluding food and energy) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ได้ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 1.1 ในเดือนมกราคม 2554 สะท้อนให้เห็นว่าสาเหตุหลักที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรสูงขึ้นในเดือนนี้ มาจากการเพิ้มขึ้นของราคาในหมวดพลังงานและในหมวดอาหารเป็นหลัก

อัตราดอกเบี้ย

ECB คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1 แต่เริ่มส่งสัญญาณแสดงความเป็นห่วงเรื่องแรงกดดันเงินเฟอที่สูงขึ้นในเขตยูโรโซน

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป (European Central Bank: ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ย Market Refinancing Operations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ไว้ตามเดิมที่ระดับร้อยละ 1.0 ต่อปี โดย ในการแถลงข่าวผลการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ประธานธนาคารกลางสหภาพยุโรปได้ให้ให้ความสาคัญกับแรงกดดันของเงินเฟอในสหภาพยุโรปที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอัตราเงินเฟอล่าสุดที่อยู่สูงกับเปาหมายในการดาเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางในสหภาพยุโรปที่ตั้งเปาหมายไว้ที่ร้อยละ 2.0 อย่างไรก็ดี คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรปยังประเมินว่าอัตราเงินเฟอที่สูงขึ้นน่าจะเป็นผลจากปจจัยชั่วคราวจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงดังกล่าว และคาดว่าแนวโน้มเงินเฟอจะปรับตัวลดลงมาอยู่ภายใต้กรอบที่กาหนดได้ในระยะปานกลาง

ทั้งนี้ ตลาดการเงินได้ตีความหมายว่า ธนาคารกลางยุโรปอาจจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 นี้

อัตราแลกเปลี่ยน

ค่าเงินยูโรแข็งขึ้นตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมา จากข้อมูลเศรษฐกิจเขตยูโรที่ดีกว่าคาด และตลาดการเงินคาดว่าธนาคารกลางยุโรปจะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วๆ นี้

ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก หลังจากที่ตลาดคลายความกังวลจากการลุกลามของปัญหาวิกฤติการคลังจากประเทศกรีซและไอร์แลนด์ไปยังประเทศโปรตุเกส และข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจของประเทศในเขตยูโรโซนทีประกาศออกมาในเดือนกุมภาพันธ์มีทิศทางดีขึ้น ประกอบกับการส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปที่เริ่มให้ความสนใจในการลดแรงกดดันเงินเฟ้อมากขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศมาลงทุนในยุโรปมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น โดยค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 2 จากช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่อยู่ที่ประมาณ 0.845 ปอนด์/ยูโร มาอยู่ที่ 0.86 ปอนด์/ยูโร ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2554 และค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ที่แข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 2.5 ในรอบเดือนที่ผ่านมาเช่นกัน โดยค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ได้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 1.35 $/ยูโร ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ระดับประมาณ 1.39 $/ยูโร ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ขณะที่ค่าเงินยูโรเทียบกับค่าเงินเยนก็มีทิศทางแข็งค่าขึ้นจากที่ประมาณ 113 เยน/ยูโร ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ 115 เยน/ยูโร ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ก่อนที่จะอ่อนตัวเล็กน้อยมาอยู่ที่ 113.7 เยน/ยูโร หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ซึนามิในช่วงกลางเดือนมีนาคม

ประเด็นเศรษฐกิจสาคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดีส์ ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ของประเทศกรีซ จากระดับ Ba1 เป็น B1 ของประเทศสเปน จากระดับ Aa1 เป็น Aa2 และของประเทศโปรตุเกส จากระดับ A1 เป็น A3 โดยยังคงมุมมอง Outlook ของทั้ง 3 ประเทศ เป็นมุมมองเชิงลบ (Negative Outlook) เนื่องจากประเทศทั้ง 3 ยังคงมีความเสี่ยงจากวิกฤติการคลัง จากภาระการคลังและการขาดดุลงบประมาณในระดับสูง

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ