รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ - พฤษภาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 30, 2011 14:26 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยอัตราร้อยละ 1.8 โดยได้รับปัจจัยทางบวกจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7) การลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93) การส่งออก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9) การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8)
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • ดัชนีทางการผลิตอยู่ในระดับคงที่ ส่วนอัตราการใช้กาลังการผลิตปรับลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือนเมษายน 2554
  • ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงที่ระดับร้อยละ 0.2 เป็นผลจากราคาอาหารและน้ามันที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 มาอยู่ที่ระดับ 1.3 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายน 2554 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 9.0 โดยมีประชากรได้รับการจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) เพิ่มขึ้น 244,000 คน ซึ่งมาจากการจ้างงานด้านบริการ การทาเหมืองแร่ และด้านอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหลัก
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ระดับ 48.2 ล้านเหรียญ สรอ.
  • ในเดือนพฤษภาคม 2554 ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโร เงินปอนด์ และเงินบาท โดยเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ร้อยละ 3 ในขณะที่มีค่าคงตัวเมื่อเทียบกับเงินเยน และเงินหยวน
ภาคการเงินและภาคการคลัง
  • กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประกาศใช้มาตรการพิเศษ (Extraordinary Measures) เพื่อชะลอการขยายตัวของปริมาณหนี้สาธารณะ (US Public Debt) ซึ่งสามารถป้องกันการขยายตัวเกินเพดานวงเงินของปริมาณหนี้สาธารณะไปจนถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2554
  • สหรัฐฯ กับจีนได้จัดการประชุม US — China Strategic and Economic Dialogue (S&ED) ครั้งที่ 3 ณ กรุงวอชิงตัน โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในกรอบความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปฎิรูประบบการเงิน และสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศ
ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ปี 2554

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 2554 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.8

มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ขยายตัวด้วยอัตราลดลงที่ร้อยละ 1.8 เปรียบเทียบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2553 ที่ร้อยละ 2.6 และ 3.1 ตามลาดับ ซึ่งปัจจัยบวกที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 ประกอบไปด้วย (1) ปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 (2) ปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 0.93 (3) ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 และ (4) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 1.8

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ อยู่ในระดับคงที่ในเดือนเมษายน 2554

ในเดือนเมษายน 2554 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือนมีนาคมส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production) ปรับลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งนับเป็นการปรับลดลงของตัวเลขดังกล่าวเป็นครั้งแรกหลังจากที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 9 เดือนติดต่อกัน

อัตราการใช้กาลังการผลิต (Capacity Utilization) ของสหรัฐฯ ปรับลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 76.9 ของกาลังการผลิตทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งต่ากว่าอัตราเฉลี่ยของการใช้กาลังการผลิตในระหว่างปี 2515-2553 อยู่ร้อยละ 3.5 (ค่าเฉลี่ยของปี 2515-2553 คิดเป็นร้อยละ 80.4)

การใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ได้รับภาวะกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในเดือนมีนาคม 2554 ภาพรวมด้านรายได้ของประชากรสหรัฐฯ มีการขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยรายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้ได้จริง (Real-DPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ส่วนภาพรวมด้านการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคที่แท้จริง (Real-PCE) ในเดือนมีนาคมขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 ในเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งนี้ การใช้จ่ายเพื่อบริโภคอุปโภคของประชากรสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบหลักจากราคาอาหารและน้ามันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนเมษายน 2554 มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี

อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 9.0

อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายน 2554 ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.0 ซึ่งนับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 โดยสหรัฐฯ มีประชากรที่อยู่ในวัยทางาน (Labor force) ทั้งหมด 153.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64.2 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่สหรัฐฯ มีจานวนประชากรได้รับจ้างงานลดลงจานวน 190,000 คน มาอยู่ที่ระดับ 139.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.4 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีประชากรว่างงานทั้งหมด 13.7 ล้านคน

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา การจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) ขยายตัวเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 244,000 งาน โดยมาจากการขยายตัวของการจ้างงานด้านบริการ การทาเหมืองแร่ และด้านอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหลัก ในขณะที่การจ้างงานของหน่วยงานรัฐบาลปรับลดลง 24,000 งาน

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 48.2 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนมีนาคม

ในเดือนมีนาคม 2554 สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการขาดดุลได้ปรับเพิ่มขึ้น 2.8 พันล้านเหรียญ สรอ. หรือร้อยละ 6.2 จากเดือนกุมภาพันธ์ที่ระดับ 45.4 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ระดับ 48.2 พันล้านเหรียญสรอ. สืบเนื่องจากมูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการ (Import) ที่ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Export) ในช่วงเดือนที่ผ่านมา

มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น 7.7 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 172.7 พันล้านเหรียญ สรอ. ในขณะที่มูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น 10.4 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 220.8 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนมีนาคม

ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้า 3 ประเทศหลักที่สหรัฐฯ ประสบภาวะขาดดุลการค้าในด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมมูลค่าการบริการ) ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และเม็กซิโก โดยในเดือนมีนาคม มูลค่าการขาดดุลกับจีนปรับลดลง ในขณะที่มูลค่าการขาดดุลสหภาพยุโรปและเม็กซิโกปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

  US Trade           China               Europe            Mexico
                Mar 11  Feb 11     Mar 11  Feb 11     Mar 11  Feb 11
Export            9.52    8.44       24.4    20.0       17.2    13.8
Import           27.6     27.3       33.4    26.9       23.3    19.1
Trade Balance   -18.0    -18.8      -8.95   -6.95      -6.17   -5.26
ที่มา: สานักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (www.bea.gov)


นโยบายทางการคลังและฐานะการคลัง
          กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ใช้มาตรการพิเศษเพื่อยืดเวลาพิจารณาปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ
          เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2554 นาย Timothy Geithner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประกาศใช้มาตรการพิเศษ (Extraordinary Measures) เพื่อชะลอการขยายตัวของปริมาณหนี้สาธารณะ (US Public Debt) ซึ่งถูกคาดการณ์ไว้เบื้องต้นว่าจะขยายตัวเกินกว่าเพดานวงเงินที่กาหนดไว้ที่ 14.29 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ในวันดังกล่าว โดยมาตรการพิเศษที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ประกาศใช้ มีดังนี้
          1. การระงับการออกตราสารหนี้รัฐบาลสาหรับกองทุน Civil Service Retirement and Disability Fund ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2554 ไปจนถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2554 ซึ่งจะสามารถชะลอการขยายตัวของปริมาณหนี้สาธารณะโดยรวมเป็นจานวน 67 พันล้านเหรียญ สรอ. อีกทั้งยังมีแผนที่จะซื้อคืนตราสารภายใต้โครงการนี้บางส่วนที่ได้ออกไปแล้วจานวน 17 พันล้านเหรียญ สรอ. เพื่อลดปริมาณหนี้สาธารณะเพิ่มเติมอีกด้วย
          2. การระงับการลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาลของเงินต้นที่ได้รับคืนจากกองทุนรัฐบาล Government Securities Investment Fund of the Federal Employees’ Retirement System Thrift Saving Plan (G Fund) ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะสามารถชะลอการขยายตัวของปริมาณหนี้สาธารณะได้เป็นจานวน 130 พันล้านเหรียญ สรอ.
          อย่างไรก็ตาม มาตรการพิเศษดังกล่าวของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เป็นเพียงแผนรับมือชั่วคราว ซึ่งสามารถป้องกันการขยายตัวเกินเพดานวงเงินของปริมาณหนี้สาธารณะไปจนถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2554 เท่านั้น ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องมีการพิจารณาปรับเพิ่มเพดานการก่อหนี้สาธารณะภายในระยะเวลาดังกล่าวเพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อันเนื่องมาจากการผิดนัดชาระหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร และเงินปอนด์
          ภาพรวมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในเดือนเมษายน 2554 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีความเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันไปเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างๆ โดยค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินปอนด์ โดยเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ร้อยละ 3 ในขณะที่มีค่าคงตัวเมื่อเทียบกับเงินหยวนและเงินเยน ทั้งนี้ อัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2554 อยู่ที่ 1.4161 USD/EUR, 1.6121 USD/GBP, 0.0122 USD/JPY, และ 0.1536 USD/CNY
          เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในเดือนพฤษภาคม โดยค่าเงินดอลลาร์ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2554 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30.3398 THB/USD เพิ่มขึ้นจาก 29.9500 THB/USD เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554


ประเด็นทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สาคัญ
          ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม 2554 สหรัฐฯ กับจีนได้จัดการประชุม US — China Strategic and Economic Dialogue (S&ED) ครั้งที่ 3 ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อหารือความร่วมมือระหว่างกันในด้านนโยบายทางเศรษฐกิจและการค้า ตลอดจนประเด็นสาคัญอื่นๆ ที่ได้มีการเจรจาเบื้องต้นในระหว่างที่ประธานาธิบดี Hu Jintao มาเยือนสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม โดยทั้งสองฝ่ายนาโดยนาย Wang Qishan รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน และนาย Timothy Geithner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ลงนามในกรอบความร่วมมือ “Comprehensive Framework for Promoting Strong, Sustainable and Balanced Growth and Economic Cooperation” (ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากรายงานประเด็นเศรษฐกิจที่น่าสนใจของสานักงานที่ปรึกษาฯ วันที่ 20 พฤษภาคม 2554)



          Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau
          Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,
          Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas
          Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 :  www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ