ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร เมษายน 2554 (ฉบับที่ 2)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 6, 2011 10:28 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • สำนักงานสถิติประกาศยืนยันข้อมูล Second estimate ของเศรษฐกิจ U.K. ในไตรมาสแรกปี 2554 ว่า เศรษฐกิจ U.K ขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้า 0.5% (QoQ) และขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน 1.8% (YoY)
  • สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจการคลัง เห็นว่า อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ U.K.ในไตรมาสแรกของปี 2554 เป็นการขยายตัวที่ดีขึ้นจากฐานที่ต่าในไตรมาสก่อนหน้าที่เศรษฐกิจหดตัว -0.5% จากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติในช่วงปลายปี 2553 ดังนั้น เมื่อเฉลี่ยอัตราการขยายตัวของ 2 ไตรมาสสุดท้าย เศรษฐกิจ U.K. ถือว่ายังไม่ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
  • เมื่อพิจารณาเครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือนเมษายน 2554 ซึ่งเป็นเดือนแรกของไตรมาส 2 พบว่า ดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการยังคงปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นการยืนยันว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ U.K ยังคงเปราะบาง
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศอ่อนแอ โดยอัตราเงินเฟ้อจาก Consumer Price Index ในเดือนเมษายนสูงขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจากราคาสินค้าขายปลีก Retail Price Index ในเดือนเมษายน ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานรอบ 3 เดือนสิ้นสุด ณ เดือนมีนาคม 2554 ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 7.7 ของกาลังแรงงาน
  • ดุลการค้าในเดือนมีนาคมขาดดุลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมูลค่านาเข้าเร่งตัวขึ้นจากราคา สินค้านาเข้าที่เพิ่มตามราคาน้ามันในตลาดโลก
ภาคการเงินและภาคการคลัง
  • ธนาคารกลางอังกฤษยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่าที่ร้อยละ 0.5 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของธนาคารกลางอย่างต่อเนื่อง
  • รัฐบาลยังคงขาดดุลงบประมาณในเดือนเมษายน 2554 จานวน 10 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้หนี้สาธารณะ ยังคงอยู่สูงขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 60.1% ต่อ GDP
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจ U.K ไตรมาสแรกปี 54 ขยายตัวอย่างเปราะบางโดยเศรษฐกิจขยายตัวเพียง 0.5% จากฐานที่ต่าในไตรมาสก่อนที่หดตัว -0.5%

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักรได้ประกาศยืนยันตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร (U.K) (ข้อมูล Second Estimate) ประจำไตรมาส 1 ของปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อน (Quarter on Quarter: %QoQ) และขยายตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year on Year: %YoY) อย่างไรก็ดี แม้ว่าเศรษฐกิจ UK จะฟื้นตัว +0.5% ดีขึ้นจากไตรมาสกอ่ น แต่เป็นการฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำในไตรมาสก่อนหน้าที่ติดลบ -0.5% ซึ่งเมื่อเฉลี่ยทัง้ 2 ไตรมาส แสดงว่าเศรษฐกิจ U.K ไม่ได่ขยายตัวเลย ดังนั้น การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 1 จึงถือว่ายังเป็นการฟื้นตัวที่เปราะบาง

เมื่อพิจารณารายละเอียดการขยายตัวเศรษฐกิจจากด้านการผลิต (Supply Side) ปัจจัยหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจ U.K. ในไตรมาสแรกของปี 2554 ขยายตัวดีขึ้น มาจากการผลิตภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 76 ของ GDP ขยายตัวเพมิ่ ขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าถึงร้อยละ 0.9 (%QoQ) โดยเฉพาะการบริการการเงินและการธนาคารซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของภาคบริการทัง้ หมดยังขยายตัวได้ดีมาก ในขณะที่การผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 0.2 (%QoQ) และการผลิตภาคก่อสร้างหดตัวถึงร้อยละ -4.0 (%QoQ)

เมื่อพิจารณารายละเอียดการขยายตัวเศรษฐกิจด้านการใช้จ่าย (Demand Side) จะเห็นได้ว่าปัจจัยหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาจากการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวร้อยละ 3.7(%QoQ) ซึ่งได้อาสิสงค์มาจากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนลงได้ช่วยให้ U.K.สง่ ออกได้มากขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายบริโภคของภาคเอกชนในไตรมาสแรกหดตัวถึงร้อยละ -0.6(%QoQ) โดยได้รับผลกระทบหลักจากการขึ้นภาษมี ลู ค่าเพมิ่ และเงินเฟ้อที่สงู ขึ้น สง่ ผลใหอ้ นาจซื้อเพื่อการบริโภคลดลง นอกจากนั้นการใช้จ่ายลงทุนรวมยังคงหดตัวถึงร้อยละ -4.0(%QoQ) เนื่องจากการลงทุนภาครัฐได้หดตัวลงมากตามการตัดลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาส 2/2554
  • ดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้ออุตสาหกรรมและบริการในเดือนเม.ย.2554 ปรับตัวลดลงสะท้อนเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรที่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลงในไตรมาสสอง

ในเดือนเมษายน 2554 ซึ่งเป็นเดือนแรกของไตรมาส 2/2554 เครื่องชี้เศรษฐกิจจากดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Purchasing Managers’ Index: PMI) ซึ่งเป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจในการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 54.6 จุด ลดลงจากเดือนมีนาคม 2554 ที่อยู่ที่ 56.7 จุด สาเหตุหลักที่ดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงดังกล่าวมาจากยอดคาสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ลดลงมาก โดยเฉพาะยอดคาสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในหมวดการก่อสร้างที่ลดลงมาก อย่างไรก็ดี ยอดคาสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศยังคงเติบโตได้ดี ซึ่งช่วยให้ดัชนี Manufacturing PMI ไม่ได้ปรับตัวลดลงมากนัก

สำหรับดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคบริการ (Services Purchasing Managers’ Index) ซึ่งเป็นเครื่องชี้การผลิตภาคบริการที่มีสัดส่วนสูงสุดในระบบเศรษฐกิจ ปรับตัวลดลงในเดือนเมษายนเช่นกันจาก 57.1 จุด ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ 54.3 จุด ในเดือนเมษายน 2554 โดยสาเหตุหลักที่ดัชนีจัดซื้อภาคบริการปรับตัวลดลงน่าจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้จ่ายภาคบริการภายในประเทศของภาคเอกชนและภาครัฐที่ลดลง ตามการตัดลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวสูงขึ้นในเดือนเมษายน ขณะที่อัตราว่างงานลดลงเล็กน้อย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่คำนวณจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Consumer Price Index: CPI) ประจำเดือนเมษายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี เร่งตัวขึ้นจากเดือนมีนาคมที่อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี สาเหตุหลักที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหราชอาณาจักรปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเมษายน น่าจะมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาค่าโดยสารเป็นหลัก โดยเฉพาะค่าโดยสารทางอากาศที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.8 ต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนราคาน้ามันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับปัจจัยพิเศษทางฤดูกาลที่วันหยุด Easter ในปี 2554 นี้อยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายน ส่งผลให้ผู้ประกอบการสายการบินได้ปรับราคาค่าโดยสารสูงขึ้นในช่วงต้นเดือนเมษายนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด Easter ในช่วงปลายเดือน (ขณะที่ในปีก่อนเทศกาลวันหยุด Easter อยู่ในช่วงต้นเดือนเมษายน ส่งผลให้ผู้ประกอบการปรับราคาสูงขึ้นก่อนในช่วงเดือนมีนาคม) นอกจากนั้น รัฐบาลได้ปรับขึ้นอัตราภาษีบุหรี่และสุรา ซึ่งได้ส่งผลให้ราคาบุหรี่และสุราปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเมษายนนี้เช่นกัน

สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่คานวณจากดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่ได้นับรวมอาหารสดและพลังงาน (Core Consumer Price Index: Core CPI) ในเดือนเมษายน 2554 เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนมีนาคมที่ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อที่คานวณจากดัชนีราคาสินค้าค้าปลีก (Retail Price Index) ซึ่งสะท้อนค่าครองชีพของผู้บริโภครายย่อยจะพบว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายน 2554 ยังคงทรงตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี แม้ว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนมีนาคมที่อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี

อย่างไรก็ดี เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่วัดจากการจ้างงานและอัตราการว่างงานในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2554 (มกราคม — มีนาคม 2554) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2554 ที่ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยอัตราการมีงานทา (Employment Rate) ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุด ณ เดือนมีนาคม 2554 ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 70.7 ของกำลังแรงงานเพิ่มขึ้นจากรอบ 3 เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 70.5 ของกาลังแรงงาน โดยมีจำนวนผู้มีงานทาที่อายุระหว่าง 16-64 ปี (Employment Level) ทั้งสิ้น 29.24 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 118,000 คน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของผู้มีงานทาเต็มเวลา (Full-time) จานวน 94,000 คน และเป็นการเพิ่มขึ้นของผู้มีงานทาชั่วคราว (Part-time) จำนวน 24,000 คน

การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวได้ส่งผลให้อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2554 ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 7.7 ของกาลังแรงงาน ปรับตัวลดลงจากอัตราการว่างงานในไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.9 ของกาลังแรงงาน โดยมีจานวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 2.46 ล้านคน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 36,000 คน

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

ดุลการค้าในเดือนมีนาคมขาดดุลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากมูลค่านาเข้าเร่งตัวขึ้นจากราคาสินค้านาเข้าที่เพิ่มตามราคาน้ามันในตลาดโลก

ดุลการค้าของสินค้าและบริการในเดือนมีนาคม 2554 ขาดดุล -3.0 พันล้านปอนด์ ซึ่งเป็นการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ขาดดุล -2.7 พันล้านปอนด์ เนื่องจากดุลการค้าของสินค้าในเดือนมีนาคมขาดดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -7.7 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ขาดดุลอยู่ที่ -7.0 พันล้านปอนด์ โดยมีสาเหตุหลักมาจากมูลค่าการนาเข้าที่เพิ่มขึ้นตามราคาสินค้านาเข้าที่สูงขึ้นตามราคาน้ามันในตลาดโลก อย่างไรก็ดี ดุลการค้าของบริการในเดือนมีนาคมยังคงเกินดุลสูงถึง 4.7 พันล้านปอนด์ ซึ่งเป็นการเกินดุลที่เพิ่มขึ้นจากดุลบริการในเดือนก่อนที่เกินดุล 4.3 พันล้านปอนด์ ดังนั้น ดุลบริการที่เกินดุลมากขึ้นจึงได้ช่วยชดเชยดุลการค้าที่ขาดดุลมากขึ้นในเดือนมีนาคม ส่งผลให้ดุลการค้ารวมของสินค้าและบริการจึงขาดดุลเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในเดือนมีนาคม

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวมเป็นรายไตรมาส จะเห็นได้ว่า ดุลการค้าของสินค้าและบริการในไตรมาสแรกของปี 2554 ปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก โดยการขาดดุลการค้าลดลงมาอยู่ที่ -9.3 พันล้านปอนด์ ซึ่งเป็นการขาดดุลที่ลดลงมากจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ที่ขาดดุลถึง -13.7 พันล้านปอนด์ สำหรับสาเหตุหลักที่ช่วยให้ดุลการค้าสินค้าและบริการของสหราชอาณาจักรขาดดุลลดลงมาจากการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้นมากเนื่องจากค่าเงินปอนด์ที่ลดลงมากในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันเศรษฐกิจคู่ค้าของสหราชอาณาจักรยังเติบโตได้ดี

นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย
  • ธนาคารกลางอังกฤษยังคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่าต่อไป เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจแม้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2554 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ มีมติให้คงนโยบายอัตราดอกเบี้ย Bank rate ไว้ตามเดิมในอัตราร้อยละ 0.50 พร้อมกับคงมาตรการรับซื้อตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน (Quantitative Easing: QE) จานวน 200 พันล้านปอนด์ ไว้ตามเดิม แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรจะเร่งตัวสูงขึ้นมากกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่กาหนดไว้ให้ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี อย่างต่อเนื่อง แต่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (Monetary Policy Committee) ส่วนใหญ่ (จานวน 6 คน จากคณะกรรมการทั้งหมด 9 คน) ยังเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 0.5 เพื่อรอดู (Wait and See) สถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบางและมีความไม่แน่นอนสูง โดยได้มีกรรมการ 1 ท่าน (ได้แก่ Mr. Posen) ได้เสนอให้ขยายมาตรการ Quantitative Easing เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากขึ้นอย่างไรกีด ได้มีคณะกรรมการเสียงข้างน้อยจานวน 3 คน (Mr.Andrew Sentence Mr.Martin Weale และ Mr.Spencer Dale) ลงมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น ความท้าทายที่สาคัญของการดาเนินนโยบายการเงินของสหราชอาณาจักรในระยะต่อไป คือ การรักษาสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง กับ แรงกดดันเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น ทั้งนี้ ตลาดการเงินคาดว่า ธนาคารกลางของอังกฤษจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 นี้ ตามแรงกดดันเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเร่งตัวสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของปี

เมื่อเปรียบเทียบนโยบายการเงินของธนาคารอังกฤษกับธนาคารกลางยุโรป จะเห็นได้ว่า ธนาคารกลางยุโรปได้เริ่มปรับดอกเบี้ยนโยบายสูงขึ้นเพื่อป้องกันเงินเฟ้อที่เร็วกว่าธนาคารกลางอังกฤษ ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร

อัตราแลกเปลี่ยน
  • ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโรและเยน แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

สภาพเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรที่อ่อนแอ ประกอบกับการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ ในช่วงที่ธนาคารกลางยุโรปประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร โดยค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงจากช่วงต้นเดือนเมษายนที่อยู่ที่ระดับ 1.14 ยูโร/ปอนด์ ได้อ่อนลงมาอยู่ที่ 1.11 ยูโร/ปอนด์ ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ขณะที่ค่าเงินปอนด์เมื่อเทียบกับค่าเงินเยนได้อ่อนค่าลงเช่นกัน จากระดับ 136 เยน/ปอนด์ ในช่วงต้นเดือนเมษายน มาอยู่ที่ 133.81 เยน/ปอนด์ ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม

อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ค่าเงินปอนด์เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกลับแข็งค่าขึ้น ดั่งจะเห็นได้จากค่าเงินปอนด์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในช่วงต้นเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 1.61 $/ปอนด์ ได้แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 1.65 $/ปอนด์ ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม เนื่องจากนักลงทุนกังวลถึงปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐที่อยู่ในระดับสูง จนการกู้เงินของรัฐบาลอาจจะเกินระดับเพดานการกู้เงินของรัฐบาลที่รัฐสภาอนุมัติให้ ส่งผลให้ตลาดการเงินขาดความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และเป็นสาเหตุให้นักลงทุนแห่ถอนเงินจากสหรัฐ และทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆ (รวมทั้งเงินปอนด์) ในช่วงเดือนเมษาย 2554 ที่ผ่านมา

นโยบายการคลังและฐานะการคลัง
  • รัฐบาลยังคงขาดดุลงบประมาณในเดือนเมษายน 54 จานวน 10 พันล้านปอนด์ส่งผลให้หนี้สาธาณะต่อ GDP ยังคงอยู่สูงขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 60.1%

ยอดการขาดดุลงบประมาณสะสมสุทธิ ในปีงบประมาณ 2010 (สิ้นสุด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2554) (Cumulative public sector net borrowing) อยู่ที่ 139.4 พันล้านปอนด์ ต่ากว่ายอดกู้เงินสะสมในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนที่อยู่ที่ 156.5 พันล้านปอนด์ และต่ากว่าเป้าหมายรัฐบาลที่กาหนดให้การขาดดุลงบประมาณในปี 2010/11 อยู่ที่ไม่เกิน 145.9 พันล้านปอนด์ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากนโยบายการปรับขึ้นภาษี โดยเฉพาะการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 17.5 เป็นร้อยละ 20 ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2554 เป็นต้นมา ได้ส่งผลให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนั้น รัฐบาลได้ดาเนินนโยบายการปรับลดรายจ่ายรัฐบาลในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการปรับลดรายจ่ายในด้านสวัสดิการสังคม

สำหรับยอดขาดดุลงบประมาณในเดือนเมษายน 2554 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2011 ปรากฎว่า รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 10 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้ยอดหนี้สาธารณะสุทธิ (ที่ไม่รวมมาตรการช่วยเหลือภาคการเงิน) ณ สิ้นเดือนเมษายน 2554 ยังคงเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 910.1 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 60.1 ของ GDP ซึ่งสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ 765.5 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 53 ของ GDP

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ