รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 4 - 8 กรกฎาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 11, 2011 11:20 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศ ในเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 53.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือน มิ.ย.54 ขยายตัวร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการว่างงาน ในเดือนพ.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ของกำลังแรงงานรวม
  • วันที่ 5 ก.ค. 54 Moody’s ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลโปรตุเกสจากระดับ Baa1ลงสู่ระดับ Ba2
  • ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหรรม (Mfg PMI) ของจีน เดือน มิ.ย. 54 อยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 50.9
  • คำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชน (Core Orders) ของญี่ปุ่น เดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากเดือนก่อน (%mom sa)
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 55.3
  • การส่งออกของอินโดนีเซีย ในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 45.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้า ขยายตัวที่ร้อยละ 48.5
  • อัตราเงินเฟ้อของไต้หวัน เดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Jun: TISI (Level)                     112.7               108.3
  • โดยได้รับปัจจัยบวกจากอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภายหลังการเลือกตั้งคาดว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและนักลงทุนจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการอาจมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบ อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมัน
Economic Indicators: This Week
  • โดยได้รับปัจจัยบวกจากอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภายหลังการเลือกตั้งคาดว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและนักลงทุนจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการอาจมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบ อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมัน
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวน 1.49 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 53.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานต่ำปีก่อนที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตพื้นที่กทม.ทำให้หลายประเทศมีการประกาศเตือนนักท่องเที่ยวให้ระวังการเดินทางเข้าสู่ไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) ขยายตัวได้ดีโดยอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ทั้งนี้ เป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ นำโดยจีน มาเลเซีย และอินเดียเป็นหลัก โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 125.4 45.3 และ 50.6 ตามลำดับ ส่งผลครึ่งปีแรกของปี 54 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศทั้งสิ้น 9.69 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 28.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนภาคการท่องเที่ยวต่างชาติมีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในครี่งปีแรกปีของปี 54
  • การจ้างานเดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ 37.8 ล้านคน เพิ่มข้นประมาณ 7.9 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 2.1 โดยการจ้างงานภาคเกษตรมีจำนวน 13.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.4 ล้านคน เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาล ขณะที่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 8.6 ล้านคน ลดลง 2.5 แสนคน จากสาขาการผลิตและการก่อสร้าง และการจ้างงานภาคบริการมีจำนวน 15.6 ล้านคน ลดลง 3.5 แสนคน จากสาขาการขายส่งขายปลีก และสาขาที่พักแรม/บริการด้านอาหาร ขณะที่อัตราการจ้างงานเดือนพ.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 2.04 แสนคน ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์นับแต่สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจข้อมูลมาเป็นผลมาจากภาคเกษตรมีจำนวนผู้ว่างงานเหลือเพียง 2.7 หมื่นคน ขณะที่ภาคบริการ 7.0 หมื่นคน ภาคอุตสาหกรรม 8.5 หมื่นคนและผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 21.5 หมื่นคน
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. 54 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 112.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 108.3 โดยได้รับปัจจัยบวกจากอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภายหลังการเลือกตั้งคาดว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและนักลงทุนจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการอาจมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบ อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมัน

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: Mixed signal
  • ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค.54 หดตัวร้อยละ -1.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) Moody’s ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลโปรตุเกสลงสู่ระดับ Ba2 จากความกังวลว่ารัฐบาลจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการลดการขาดดุลงบประมาณได้ จำนวนผู้ว่างงานเดือน พ.ค. 54 เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่ 16,000 คน ส่งผลให้อัตราการว่างงานคงที่เป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 9.9 ของกำลังแรงงานรวม โดยอัตราการว่างงานในเยอรมันและฝรั่งเศสปรับลดลงเล็กน้อย ขณะที่อัตราการว่างงานในสเปนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 20.9 ของกำลังแรงงาน ECB ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาอย่ที่ร้อยละ 1.50 จากความกังวลด้านเงินเฟ้อ
China: Mixed signal
  • ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหรรม (Mfg PMI) เดือน มิ.ย.54 อยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 50.9 ธนาคารกลางจีนขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปีอีกร้อยละ 0.25 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากอายุ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 6.56 และร้อยละ 3.50 ตามลำดับ
Japan: Mixed signal
  • คำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชน (Core Orders) เดือน มิ.ย.54 ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากเดือนก่อน (%mom sa) บ่งชี้การฟื้นตัวของภาคการผลิต
USA: Mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) เดือน มิ.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 55.3 โดยดัชนีองค์ประกอบในหมวดสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นมากที่สุดมาอยู่ระดับที่ 54.1 ขณะที่ดัชนีดังกล่าวนอกภาคอุตสาหกรรม (Non-Mfg PMI) ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 53.3
Australia: Mixed signal
  • มูลค่าส่งออกเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกไปญี่ปุ่น (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ของมูลค่าส่งออกรวม) ที่ชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับมูลค่านำเข้าเดือน พ.ค. 54 ที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลอยู่ที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Indonesia: improving economic trene
  • มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวได้ในระดับสูงที่ร้อยละ 45.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวที่ร้อยละ 48.5 จากช่วงเดียวกันของปี่ก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลอยู่ที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สะท้อนถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง
Philippines: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี ที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามราคาอาหารและน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนี่อง
Malaysia: Mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการชะลอลงของการส่งออกสินค้าเชื้อเพลิง สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Taiwan: improving economic trene
  • มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกไปยังจีน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 12.5 จากปีก่อนหน้า ด้านเสถียรภาพพบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากปีก่อนหน้า ตามราคาอาหารสดโดยเฉพาะผักและผลไม้สด และราคาน้ำมันที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า ด้วยมูลค่าการซื้อขายสูง โดยดัชนีฯ ปรับตัวขึ้นมากในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากที่การเลือกตั้งทั่วไปเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และการจัดตั้งรัฐบาลมีเสถียรภาพ โดยในวันที่ 4 ดัชนีฯ แตะระดับ 1,094 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลงมาในช่วงกลางสัปดาห์ สอดคล้องกับการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ตาม รวมทั้งสัปดาห์แล้ว นักลงทุนต่างชาติยังเข้าซื้อสุทธิ โดยระหว่างวันที่ 4-7 ก.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิถึง 14,301 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายอย่างคึกคัก โดยในช่วงต้นสัปดาห์นักลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเข้าซื้อ-ขายพันธบัตร แต่มีการชะลอการลงทุนเพื่อประมูลพันธบัตรชุดใหม่ช่วงกลายสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสัปดาห์ นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิ อีกทั้ง yield curve ปรับตัวสูงขึ้น โดยทั้งสัปดาห์ (4-7 ก.ค.54) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 5,903 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 7 ก.ค. 54 สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค ผลจากเงินทุนไหลเข้าในภูมิภาค จากความกังวลที่โปรตุเกสถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ทำให้นักลงทุนปรับพอร์ทการลงทุนมาลงทุนในตลาดภูมิภาคที่เสถียรภาพเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่งมากขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 1.61 จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ